IMF บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นช่วยเหลือยูเครน 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์ IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ยูเครน อินโฟเควสท์
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และเจ้าหน้าที่รัฐบาลยูเครนบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินระยะเวลา 4 ปี มูลค่า 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 77 ปีของ IMF ที่ให้เงินกู้ยืมแก่ประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ข้อตกลงดังกล่าวซึ่งต้องได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการบริหารของ IMF นั้น มีขึ้นหลังการเจรจาหลายเดือนระหว่างเจ้าหน้าที่ IMF กับทางการยูเครน IMF ระบุในแถลงการณ์ว่า คาดว่ากลุ่มผู้บริจาคและพันธมิตรทั่วโลกของ IMF จะให้ความเห็นชอบต่อข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งช่วยให้ยูเครนได้รับการสนับสนุนทางการเงินครั้งใหญ่
“เราคาดว่าเศรษฐกิจยูเครนจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงหลายไตรมาสข้างหน้า ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคส่วนต่าง ๆ จะฟื้นตัวจากผลกระทบของสงครามที่สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ แม้จะยังคงมีอุปสรรคอยู่บ้าง รวมถึงความเสี่ยงที่ความขัดแย้งจะลุกลามบานปลาย”นายเกรย์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ IMF คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรายภายในประเทศ ที่แท้จริงของยูเครนในปี 2566 จะอยู่ที่ -3% ถึง +1%
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'ไอเอ็มเอฟ-ยูเครน'บรรลุข้อตกลงกู้เงิน 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์22 มี.ค.66 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (IMF) บรรลุข้อตกลงกับยูเครนแล้ว เรื่องสินเชื่อมูลค่า 15,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 538,566 ล้านบาท) เพื่อนำไปช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจยูเครนที่ตกอยูในภาวะสงครามมานานกว่า 1 ปี
อ่านเพิ่มเติม »
IMF อนุมัติเงินกู้ 3 พันล้านดอลลาร์ช่วยศรีลังกาคลายวิกฤตเศรษฐกิจ : อินโฟเควสท์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อนุมัติโครงการเงินกู้มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ให้แก่ศรีลังกา ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของศรีลังกาในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและเริ่มปรับโครงสร้างหนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กรรมการบริหารของ IMF ได้อนุมัติโครงการเงินกู้ดังกล่าวซึ่งมีระยะเวลา 48 เดือนที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันจันทร์ (20 มี.ค.) และระบุว่า ทาง IMF จะทำการเบิกจ่ายเงินกู้ดังกล่าวทันทีราว 333 ล้านดอลลาร์ IMF ระบุในแถลงการณ์ว่า “ศรีลังกาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเศรษฐกิจที่พังพินาศและวิกฤตด้านมนุษยธรรม โดยเศรษฐกิจของศรีลังกากำลังเผชิญกับอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง ซึ่งมีรากฐานมาจากความเปราะบางที่มีอยู่แล้ว ประกอบกับการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดจนนำไปสู่วิกฤต และปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่ซ้ำเติมวิกฤตดังกล่าวให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น” ความช่วยเหลือดังกล่าวจะช่วยอัดฉีดเงินทุนที่จำเป็นอย่างมากให้แก่ศรีลังกาที่กำลังต่อสู้กับปัญหาราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้น การขาดแคลนสินค้า และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ร่อยหรอลงไปหลังการผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศเมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ เป้าหมายลำดับต่อไปของศรีลังกาจะมุ่งไปที่การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งบริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ระบุว่า อาจจะยืดเยื้อ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้ต้องหารือกันว่าจะนับรวมการกู้ยืมในสกุลเงินท้องถิ่นเข้าไปในการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยหรือไม่ โดยฟิทช์ เรทติ้งส์ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้สกุลเงินรูปีลงเมื่อเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่จะผิดนัดชำระหนี้ IMF คาดว่า ในปีนี้ศรีลังกามีหนี้ต่างประเทศราว 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 75% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 […]
อ่านเพิ่มเติม »
นักวิเคราะห์ชี้เงินกู้จาก IMF ยังไม่ใช่ทางรอดที่ยั่งยืนของศรีลังกา : อินโฟเควสท์นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของบริษัทมูดี้ส์ อนาไลติคส์เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ในวันนี้ (21 มี.ค.) ว่า ศรีลังกายังคงมีความยากลำบากรออยู่ข้างหน้าไม่ว่าจะได้รับเงินกู้ที่ได้รับจากหน่วยงานการเงินระดับพหุภาคีและระดับโลกต่าง ๆ ทั้งนี้ มูดี้ส์ อนาไลติคส์ เป็นหน่วยงานอิสระของบริษัทมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ IMF ได้อนุมัติโครงการเงินกู้มูลค่าเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ให้แก่ศรีลังกาเมื่อวานนี้ (20 มี.ค.) โดยประธานาธิบดีศรีลังการะบุว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นใบเบิกทางให้ศรีลังกาเข้าถึงเงินทุน 7 พันล้านดอลลาร์จากแหล่งเงินทุนโดยรวม นางแคทรีนา เอลล์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของบริษัทมูดี้ส์ อนาไลติคส์กล่าวว่า “การสนับสนุนจาก IMF ไม่ใช่ทางออกของสถานการณ์อย่างที่ศรีลังกาคิดอย่างแน่นอน ความคึกคักที่ถูกสะท้อนออกมาในตลาดการเงินจะจางหายไป เว้นแต่เราจะได้เห็นพัฒนาการที่สำคัญจากรัฐบาลศรีลังกา รวมถึงความเจริญก้าวหน้าในศรีลังกาด้วยเช่นกัน” นางเอลล์ยังระบุอีกว่า เงินทุนเพิ่มเติมทั้งหมดที่ศรีลังกาจะได้รับในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านั้นเป็นเรื่องดี แต่ความรอบคอบด้านการคลังและการจัดการหนี้สินอย่างยั่งยืนจะเป็นหัวใจสำคัญที่แท้จริง “เราจำเป็นต้องระลึกไว้เสมอว่า เส้นทางการฟื้นฟูศรีลังกายังคงเต็มไปด้วยอุปสรรค ไม่ว่าจะมีเงินทุนหรือการสนับสนุนมอบให้แก่ศรีลังกามากมายเท่าใด” นางเอลล์กล่าว โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
“หุ้นกู้ AT1” ของเครดิต สวิส วงเงิน 1.7 หมื่นล้านดอลล์ ความโกลาหลครั้งใหม่ของวิกฤติธนาคารเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ธนาคาร Credit Suisse ระบุว่าตามของหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบสวิตเซอร์แลนด์ เงิน 1.6 หมื่นล้านฟรังก์สวิส หรือราว 1.722 หมื่นล้านดอลลาร์ จากหนี้หุ้นกู้ AT1 หรือตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) ของทางธนาคารจะถูกตัดเป็นศูนย์
อ่านเพิ่มเติม »
IMF อนุมัติเงินกู้ 2.9 พันล้านดอลลาร์ให้ศรีลังกา ต่อชีวิตสู้วิกฤติเศรษฐกิจIMF อนุมัติขั้นสุดท้าย ให้ศรีลังกากู้เงินจำนวน 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แล้ว เพื่อนำมากู้สถานการณ์ในประเทศ ซึ่งกำลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุด ข่าวต่างประเทศไทยรัฐออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม »
ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 382.60 จุด ขานรับดีล 'ยูบีเอส-เครดิต สวิส' : อินโฟเควสท์ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 1% ในวันจันทร์ (20 มี.ค.) ขานรับข่าวธนาคารยูบีเอสบรรลุข้อตกลงซื้อกิจการเครดิต สวิส รวมทั้งรายงานที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ร่วมมือกับธนาคารกลางอีกหลายประเทศเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องในระบบการเงิน นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้นขานรับข่าวธนาคารยูบีเอสบรรลุข้อตกลงซื้อกิจการเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (19 มี.ค.) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ และหน่วยงานกำกับดูแลตลาดการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งช่วยให้เครดิต สวิส สามารถหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ทางการเงิน ตลาดยังได้แรงหนุนจากรายงานข่าวที่ว่า เฟดประกาศความร่วมมือกับธนาคารกลางแคนาดา, ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE), ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ), ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเสริมสภาพคล่องในระบบการเงิน หุ้นทุกกลุ่มที่คำนวณในดัชนี S&P500 ปิดในแดนบวก ส่วนดัชนี CBOE Volatility Index (VIX) ซึ่งเป็นมาตรวัดความวิตกของนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ ปรับตัวลง 5.33% สู่ระดับ 24.16 เมื่อคืนนี้ หลังจากที่พุ่งขึ้นแตะระดับ 29.03 […]
อ่านเพิ่มเติม »