'ไอเอ็มเอฟ-ยูเครน'บรรลุข้อตกลงกู้เงิน 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์... อ่านข่าว ไอเอ็มเอฟ ยูเครน กู้เงิน ข่าวต่างประเทศ
นายแกวิน เกรย์ หัวหน้าทีมภารกิจยูเครนของไอเอ็มเอฟ แถลงว่า นอกเหนือจากความสูญเสียด้านมนุษยธรรมอย่างน่ากลัวแล้ว การที่รัสเซียรุกรานยูเครนยังคงส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของยูเครน สินเชื่อระยะ 4 ปีนี้จะช่วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินอยู่อย่างช้าๆ และส่งเสริมการเติบโตระยะยาวในการบูรณะประเทศหลังสงคราม รวมถึงการที่ยูเครนกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หรืออียู...
นายเกรย์ระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของยูเครนลดลงถึงร้อยละ 30 ในปี 2565 มีคนยากจนเพิ่มขึ้น และสูญเสียเงินทุนจำนวนมาก ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูเครนจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใน 2-3 ไตรมาสนี้ เนื่องจากมีการดำเนินกิจกรรมอีกครั้งหลังจากโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเสียหายหนัก แต่ความท้าทายฉับพลันด้านเศรษฐกิจมหภาคยังคงมีอยู่ เนื่องจากมียอดขาดดุลการคลังที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและกินวงกว้าง
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
“หุ้นกู้ AT1” ของเครดิต สวิส วงเงิน 1.7 หมื่นล้านดอลล์ ความโกลาหลครั้งใหม่ของวิกฤติธนาคารเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ธนาคาร Credit Suisse ระบุว่าตามของหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบสวิตเซอร์แลนด์ เงิน 1.6 หมื่นล้านฟรังก์สวิส หรือราว 1.722 หมื่นล้านดอลลาร์ จากหนี้หุ้นกู้ AT1 หรือตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) ของทางธนาคารจะถูกตัดเป็นศูนย์
อ่านเพิ่มเติม »
ก.พลังงาน วอนพรรคการเมืองอย่านำนโยบายลดราคาพลังงานเกินจริงมาหาเสียง ลั่นพร้อมแจงทุกประเด็นกระทรวงพลังงาน ชี้แจงประเด็นข้อสงสัยทั้งเรื่องค่าการตลาด ค่าการกลั่น ปริมาณสำรองไฟฟ้า รวมทั้งพร้อมติดตามสถานการณ์ด้านพลังงานที่ยังคงผันผวนทั่วโลกอย่างใกล้ชิด ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดตอบโจทย์เทรนด์โลก วอนพรรคการเมืองนำเสนอนโยบายเพื่อความมั่นคงยั่งยืนระยะยาว อย่านำนโยบายการลดราคาพลังงานที่เกินจริงมาเป็นเครื่องมือในการหาเสียง ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สถานการณ์ด้านพลังงานยังคงมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในหลายๆประเทศ รวมทั้งส่งผลต่อราคาพลังงานในประเทศ โดยกระทรวงพลังงานยังคงต
อ่านเพิ่มเติม »
IMF อนุมัติเงินกู้ 3 พันล้านดอลลาร์ช่วยศรีลังกาคลายวิกฤตเศรษฐกิจ : อินโฟเควสท์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อนุมัติโครงการเงินกู้มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ให้แก่ศรีลังกา ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของศรีลังกาในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและเริ่มปรับโครงสร้างหนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กรรมการบริหารของ IMF ได้อนุมัติโครงการเงินกู้ดังกล่าวซึ่งมีระยะเวลา 48 เดือนที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันจันทร์ (20 มี.ค.) และระบุว่า ทาง IMF จะทำการเบิกจ่ายเงินกู้ดังกล่าวทันทีราว 333 ล้านดอลลาร์ IMF ระบุในแถลงการณ์ว่า “ศรีลังกาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเศรษฐกิจที่พังพินาศและวิกฤตด้านมนุษยธรรม โดยเศรษฐกิจของศรีลังกากำลังเผชิญกับอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง ซึ่งมีรากฐานมาจากความเปราะบางที่มีอยู่แล้ว ประกอบกับการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดจนนำไปสู่วิกฤต และปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่ซ้ำเติมวิกฤตดังกล่าวให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น” ความช่วยเหลือดังกล่าวจะช่วยอัดฉีดเงินทุนที่จำเป็นอย่างมากให้แก่ศรีลังกาที่กำลังต่อสู้กับปัญหาราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้น การขาดแคลนสินค้า และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ร่อยหรอลงไปหลังการผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศเมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ เป้าหมายลำดับต่อไปของศรีลังกาจะมุ่งไปที่การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งบริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ระบุว่า อาจจะยืดเยื้อ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้ต้องหารือกันว่าจะนับรวมการกู้ยืมในสกุลเงินท้องถิ่นเข้าไปในการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยหรือไม่ โดยฟิทช์ เรทติ้งส์ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้สกุลเงินรูปีลงเมื่อเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่จะผิดนัดชำระหนี้ IMF คาดว่า ในปีนี้ศรีลังกามีหนี้ต่างประเทศราว 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 75% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 […]
อ่านเพิ่มเติม »
แคนาดายืนยันผู้ถือ AT1 - AT2 ได้รับสิทธิประโยชน์เหนือชั้น หากแบงก์ประสบปัญหา : อินโฟเควสท์สำนักงานกำกับดูแลสถาบันการเงินแคนาดาออกมาระบุเมื่อวันจันทร์ (20 มี.ค.) ว่า บุคคลที่ถือตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1 : AT1) และตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (Additional Tier 2 : AT2) จะได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าปกติ หากธนาคารประสบปัญหา ทั้งนี้ สำนักงานฯออกมาประกาศเรื่องดังกล่าวในช่วงที่มีการเร่งกอบกู้ธนาคารเครดิต สวิส ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำให้ผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิของเครดิต สวิสต้องสูญเงินเปล่า โดยสำนักงานฯระบุว่า หากธนาคารแห่งใดก็ตามก้าวไปถึงจุดที่ไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้ กลุ่มผู้ถือหุ้นสามัญของธนาคารแห่งนั้นจะกลายเป็นผู้สูญเสียรายแรก เครดิต สวิสประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 มี.ค.ว่า เงิน 1.6 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (1.722 หมื่นล้านดอลลาร์) จากหนี้หุ้นกู้ AT1 ของทางธนาคารจะถูกตัดเป็นศูนย์ตามคำสั่งของหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นไปตามแผนการควบรวมกิจการเครดิต สวิสของยูบีเอส กรุ๊ป เอจี (UBS Group AG) เพื่อกอบกู้เครดิต สวิสที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่อง กรณีดังกล่าวหมายความว่า ผู้ถือ AT1 จะสูญเสียเงินทั้งหมด ในขณะที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงิน 3.23 […]
อ่านเพิ่มเติม »
ฮั่งเส็งร่วงกว่า 3% กังวลวิกฤตภาคธนาคารแม้ยูบีเอสซื้อกิจการเครดิต สวิส : อินโฟเควสท์ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงร่วงลงกว่า 3% ในช่วงบ่ายวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร แม้มีรายงานว่ายูบีเอส (UBS) ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตกลงเข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ณ เวลา 13.18 น.ตามเวลาไทย ดัชนีฮั่งเส็งร่วงลง 620.61 จุด หรือ -3.18% แตะที่ระดับ 18,897.98 จุด สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า แม้ยูบีเอสบรรลุข้อตกลงซื้อกิจการเครดิต สวิส จะเป็นปัจจัยหนุนตลาดในช่วงแรก แต่นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร โดยราคาหุ้นเอชเอสบีซี ดิ่งลง 5.7% และได้ฉุดหุ้นกลุ่มการเงินในตลาดหุ้นฮ่องกงดิ่งลงเป็นวงกว้าง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการขาดทุนในหุ้นกู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับเครดิต สวิส รายงานระบุว่า ราคาหุ้นกู้ที่นับเป็นกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) ของธนาคารบางแห่งในเอเชียร่วงลงอย่างรุนแรงในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากหน่วยงานกำกับดูแลของสวิตเซอร์แลนด์ระบุว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ของเครดิต สวิส อาจจะหายไปถึง 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากเครดิต สวิส ขายกิจการให้กับยูบีเอส นอกจากนี้ นักลงทุนกำลังประเมินว่า […]
อ่านเพิ่มเติม »