ICN คว้างานพัฒนาระบบนิเวศศูนย์ดิจิทัลชุมชนมูลค่ากว่า 1.34 พันลบ. ICN หุ้นไทย อินฟอร์เมชั่นแอนด์คอมมิวนิเคชั่นเน็ทเวิร์คส อินโฟเควสท์
เปิดเผยว่า บริษัทลงนามสัญญาจ้างเลขที่ 15/2565 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 สำหรับโครงการพัฒนาระบบนิเวศศูนย์ดิจิทัลชุมชนอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 1 จัดให้มีศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ จำนวน 1,722 ศูนย์ กลุ่มที่ 2
การเช่าอุปกรณ์พร้อมจัดหาบุคลากรประจำศูนย์ดิจิทัลชุมชน จำนวน 454 ศูนย์ กับสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีมูลค่างานรวม 1,341.50 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 1,800 วัน นับถัดจากวันที่ลงนามสัญญา
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
BCPG รุกซื้อโรงไฟฟ้าก๊าซในสหรัฐ 2 แห่งเกือบ 4 พันลบ.กำลังผลิต 150.98 MW : อินโฟเควสท์บมจ.บีซีพีจี (BCPG) เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อ BCPG USA Inc เพื่อลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในประเทศสหรัฐอเมริกา ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 5,000 เหรียญสหรัฐ โดยบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ต่อมา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 BCPG USA Inc. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขาย (Purchase and Sale Agreement) สำหรับธุรกรรมการซื้อขายหุ้นกับ (1) AP Carroll County Holdings LLC (APCCH) และ (2) AP South Field Holdings LLC (APSFH) (ซึ่งรวมเรียกว่า ผู้ขาย) มีมูลค่าซื้อรวมไม่เกิน 115.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือเทียบเท่า […]
อ่านเพิ่มเติม »
SNC จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนที่เหลือ 37.78 ล้านหุ้น, ออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 1.5 พันลบ. : อินโฟเควสท์บมจ.เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ (SNC) เปิดเผยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติอนุมัติให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติการขยายระยะเวลาการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนคงเหลือของบริษัท ฯ แบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) ซึ่งจะครบกำในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 จำนวน ไม่เกิน 37,779,661 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยมีเงื่อนไขการจัดสรรและการมอบอำนาจตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 28/2565 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ทุกประการโดยมีรายละเอียดดังนี้ (1) จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเป็นจำนวนไม่เกิน 37,779,661 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.43 ของทุนชำระแล้วเพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) หรือ (2) จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเป็นจำนวนไม่เกิน 37,779,661 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท […]
อ่านเพิ่มเติม »
เมตาเปิดตัวบริการสมัครสมาชิกแบบเสียเงิน 'Meta Verified' สำหรับเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม : อินโฟเควสท์เมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก จะเปิดตัวบริการสมัครสมาชิกแบบชำระเงินในชื่อ “Meta Verified” โดยจะมีฟีเจอร์และสิทธิพิเศษเพิ่มเติมให้ เช่น มีเครื่องหมายยืนยันตัวตน ปกป้องบัญชีเชิงรุก สนับสนุนการเข้าถึงบัญชี เพิ่มการมองเห็น และเพิ่มการเข้าถึง สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า บริการดังกล่าวมีราคาอยู่ที่ 11.99 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือหากซื้อผ่านแอป iOS ราคาจะอยู่ที่ 14.99 ดอลลาร์ต่อเดือน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ด้านนายมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ซีอีโอของเมตา ประกาศว่าบริษัทจะเปิดให้บริการสมัครสมาชิกดังกล่าวทั้งในเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม แต่จะเป็นบริการคนละตัวกัน บริการสมัครสมาชิกแบบเสียเงินเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่บริษัทโซเชียลเน็ตเวิร์กในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยเป็นช่องทางกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจจากที่พึ่งพาแต่รายได้โฆษณาเป็นหลัก ทั้งนี้ บริษัทสแนปก็มีบริการในลักษณะเดียวกันอย่าง Snapchat Plus ด้านบริษัททวิตเตอร์เองก็โปรโมตบริการสมัครสมาชิกเช่นกัน โดยมีเครื่องหมายติ๊กถูกยืนยันตัวตนเป็นจุดขายหลัก เมตาจะเริ่มทดสอบบริการสมัครสมาชิกดังกล่าวเป็นครั้งแรกในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในสัปดาห์นี้ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20 ก.พ. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
KTB คาด GDP ปี 66 โต 3.4% มองท่องเที่ยวเครื่องยนต์หนุนสำคัญหลังส่งออกหดตัว : อินโฟเควสท์Krungthai COMPASS คาดเศรษฐกิจปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัว 3.4% เติบโตต่อเนื่องโดยมีภาคการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์สำคัญ สอดคล้องกับมุมมองของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้น โดยภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องหลังจากที่ไทยมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากอัตราการเข้าพักแรมและจำนวนเที่ยวบินเฉลี่ยในปี 2565 ที่ฟื้นตัวกลับขึ้นมาอยู่ในระดับสูงกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 และคาดว่าจะมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2566 อีกทั้ง ภาคการท่องเที่ยวยังมีปัจจัยหนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่องหลังจากที่จีนเปิดประเทศ โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวอาจมีแนวโน้มสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ และคาดว่าจะส่งผลดีต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชนซึ่งจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงด้านต่ำจากแนวโน้มการส่งออกสินค้าที่อาจชะลอตัวกว่าที่เคยประเมินจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณการส่งออกที่หดตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2565 สอดคล้องกับสภาพัฒน์ซึ่งได้ปรับลดประมาณการส่งออกสินค้าโดยมีแนวโน้มหดตัวที่ 1.6% (จากเดิมที่เคยคาดไว้ว่ามูลค่าการส่งออกจะขยายตัว 1.0% ในการประมาณการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565) สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2566 สภาพัฒน์คาดว่าจะขยายตัว ในช่วง 2.7-3.7% (ปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่ 3.0-4.0%) ตามแรงส่งของเศรษฐกิจแผ่วลงและแนวโน้มการส่งออกสินค้าที่อาจหดตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงเป็นสำคัญ แต่เศรษฐกิจไทยยังได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อานิสงส์จากการเปิดประเทศของจีนซึ่งเร็วกว่าที่เคยประเมินไว้ และการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 2566 มีแนวโน้มเติบโตเร่งขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนตามการเปิดประเทศที่เร็วกว่าคาด (2) การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ […]
อ่านเพิ่มเติม »
นักวิชาการเชื่อ GDP Q4/65 เป็นจุดต่ำสุด มองส่งออก Q2/66 ฟื้น ห่วงหนี้ครัวเรือน-หนี้สาธารณะสูง : อินโฟเควสท์นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และ อดีตกรรมการสภาวิจัย สาขาเศรษฐศาสตร์ กล่าวถึง พลวัตเศรษฐกิจไทย 2566 ภายใต้ความผันผวนตลาดการเงินและทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ทำให้ภาคการผลิต ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนต้องปรับตัวตลอดเวลา การแข็งค่าของเงินดอลลาร์จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ดีกว่าคาดมาก ตลาดการจ้างงานแข็งแกร่ง ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสูงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อจากอุปสงค์ยังไม่ลดลงการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมาย 2% จึงต้องอาศัยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่มากขึ้นและยาวนานขึ้น ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวจากเงินไหลออกจากตลาดการเงินไทยและภาคส่งออกที่ทรุดตัวมากกว่าคาดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่ของปี พ.ศ. 2565 อยู่ที่ระดับ 1.4% ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ของสำนักวิจัยส่วนใหญ่ค่อนข้างมาก ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.6% ในไตรมาสสามของปี พ.ศ. 2565 จีดีพีที่ต่ำกว่าคาดการณ์มากในไตรมาสสี่เป็นผลมาจาการปิดประเทศของจีนในช่วงไตรมาสสามและสี่ปีที่แล้วและผลของการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก อัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกของจีนติดลบ -6.9% และญี่ปุ่นติดลบ -4.6% เกาหลีใต้หดตัว -10% ไต้หวัน -8.6% และ โดยประเทศเหล่านี้เป็นห่วงโซ่อุปทานภาคการผลิตเพื่อส่งออกที่เชื่อมโยงกับไทย ปัจจัยภายนอกดังกล่าวทำให้มูลค่าส่งออกของไทยลดลงติดลบ 7.5% ในไตรมาสสี่และคาดว่าน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว โดยประเมินว่าไตรมาสสองภาคส่งออกของไทยน่าจะมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลมากขึ้น โอกาสที่เงินบาทอ่อนค่าลงไปเรื่อยๆจึงไม่เกิดขึ้น การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงนี้จึงเป็นปรากฎการณ์ระยะสั้น บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งในตลาดหลักทรัพย์มีผลกำไรชะลอตัวลง เมื่อบวกเข้ากลับแรงกดดันจากอุตสาหกรรมการเงินที่กระตุ้นผลลัพธ์ระยะสั้น ทำให้เกิดความไม่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจที่แท้จริงเท่าไหร่นัก หมายความว่า เงินบาทที่อ่อนค่าและดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับฐานลงมาแรงไม่ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและอนาคตมากนัก โดยเศรษฐกิจไทยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว ภาคการบริโภคและการขยายตัวของกำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ส่วนความเสี่ยงสำคัญ […]
อ่านเพิ่มเติม »