'SCB EIC' คาด กนง.ขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก 1 ครั้งสู่ Terminal rate ที่ 2.5% SCBEIC กนง ขึ้นดอกเบี้ย siamrath ข่าววันนี้
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2% เป็น 2.25% ต่อปี เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยอุปสงค์จากต่างประเทศล่าสุดชะลอลงบ้าง แต่คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงและมีแนวโน้มทรงตัวในกรอบเป้าหมายแต่ยังมีความเสี่ยงด้านสูง โดย กนง.
กนง. ประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกสินค้าหดตัวในระยะสั้น ส่วนหนึ่งตามเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวได้ช้า แต่คาดว่าจะปรับดีขึ้นในระยะข้างหน้าสอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น ทั้งจากภาคการส่งออกสินค้าที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด รวมถึงสถานการณ์การเมืองที่ยังมีความกนง.
SCB EIC คาดว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในการประชุมเดือนกันยายนนี้ สู่ระดับ Terminal rate ที่ 2.5% และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับดังกล่าว SCB EIC คาดว่า กนง. จะเดินหน้าปรับนโยบายการเงินไทยให้กลับเข้าสู่ระดับปกติ ที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว ซึ่ง SCB EIC ประเมินว่า อัตราดอกเบี้ย Neutral rate ของไทยมีแนวโน้มอยู่ที่ 2.5% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับศักยภาพและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% ของ ธปท.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
SCB EIC คาดกนง. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้ง ก.ย.นี้ สู่ระดับ Terminal rate ที่ 2.5%สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -3 ส.ค. 66 11:42 น. SCB EIC คาดว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในการประชุมก.ย.นี้ สู่ระดับ Terminal rate ที่ 2.5% แ...
อ่านเพิ่มเติม »
SCB EIC ชี้ยานยนต์ปี 66 มีแววฟื้นตัว แต่ต้องจับตากำลังซื้อและส่งออกชะลอSCB EIC มองอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวสอดคล้องกับเศรษฐกิจไทย แต่ต้องจับตาความเสี่ยงจากกำลังซื้อและตลาดส่งออกที่อาจชะลอตัว SCBEIC อุตสาหกรรมยานยนต์ กำลังซื้อ ตลาดส่งออก smartinvestment
อ่านเพิ่มเติม »
เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คาด กนง.ขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ มองเงินเฟ้อยังไม่จบ : อินโฟเควสท์ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์มหภาค เผย เศรษฐกิจไทยใกล้เข้าสู่สภาวะปกติ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถอนคันเร่งนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย อาจปรับดอกเบี้ยอีกครั้งปีนี้คุมเงินเฟ้อจากเอลนิโญ ตั้งรัฐบาลล่าช้าไม่น่าห่วงเท่าประท้วง ทำท่องเที่ยวสะดุดฉุดเศรษฐกิจโต นายพงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เมื่อวานนี้ (2 ส.ค.) เป็นไปตามที่ ธปท. พยายามสื่อสารมาโดยตลอด แม้คนทั่วไปอาจไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวตามที่ธปท. ประเมินไว้ แต่การขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนส.ค. ปีที่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ระดับปกติ (Normalization Process) จากช่วงโควิดที่ผ่านมา ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในช่วงต่ำกว่าระดับปกติ ซึ่งการสื่อสารของธปท. รอบนี้ค่อนข้างชัดเจนว่า อยู่ในจุดที่ใกล้จบดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว “เราไม่ได้เหยียบเบรกเหมือนธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แต่เรากำลังถอนคันเร่งจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ตั้งแต่ยุคโควิด เพราะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าหลายประเทศ ต่างจากกรณีของสหรัฐฯ ที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วมากจนตึงตัว ต้องแตะเบรก” นายพงศ์ศักดิ์ กล่าว *ดอกเบี้ยยังไม่สูงเกินรายได้ แต่มีปัญหาใหญ่คือหนี้ครัวเรือน หน้าที่หลักของนโยบายการเงิน คือ การรักษากำลังซื้อของคนในระบบเศรษฐกิจ ธนาคารกลางทั่วโลก จึงมุ่งเป้าไปที่การควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย แม้แต่เฟดที่ขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ระดับ 0.25% จนถึง […]
อ่านเพิ่มเติม »
BAY คาด กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ เป็นครั้งสุดท้ายของวัฎจักร : อินโฟเควสท์กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กล่าวถึงผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งมีมติเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี สู่ระดับ 2.25% ต่อปี สูงสุดในรอบ 9 ปี ซึ่งเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 7 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.65 จากถ้อยแถลงระบุว่า กนง.ประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนด้านอาหาร อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลง แต่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับที่สูงกว่าในอดีต นอกจากนี้ กนง.ยังเน้นย้ำถึงแนวทางการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการเฉพาะจุด และแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง ทั้งนี้ หลังการประกาศของ กนง. เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ราว 34.33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยภาพรวมในปีนี้ เงินบาทอ่อนค่าลง 0.6% ซึ่ง กนง.ย้ำว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวนจากแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟด คาดการณ์เศรษฐกิจจีน และความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ สำหรับการประชุม กนง.ในครั้งต่อไป จะเกิดขึ้นวันที่ 27 ก.ย.66 ซึ่งจากถ้อยแถลงของ กนง.ในวันนี้บ่งชี้ว่า การลำดับความเสี่ยงของแต่ละปัจจัยค่อนข้างสมดุลมากขึ้น โดยระบุถึงความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง ทั้งในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ […]
อ่านเพิ่มเติม »
กนง.แย้มใกล้จุดถอนคันเร่งเกือบสุด รอประเมินภาพศก.ให้ชัด ก่อนเคาะดอกเบี้ยรอบหน้า : อินโฟเควสท์นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุว่า ตั้งแต่ ส.ค.65 กนง. ได้ทยอยถอนคันเร่งการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาระยะหนึ่งแล้ว และขณะนี้อัตราดอกเบี้ยได้เริ่มเข้าใกล้จุด Neutral rate มากขึ้น (จุดที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่ติดลบ) ซึ่งเราเข้าใกล้จุด “ถอนคันเร่งเกือบหมด” มากขึ้นแล้ว “เมื่อมองไปข้างหน้า การขึ้นดอกเบี้ยจะไปหยุดตรงที่ไหนนั้น เห็นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นเข้าสู่ระดับที่มีศักยภาพ ไม่ได้เกินศักยภาพหรือเป็นเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเหมือนสหรัฐ ขณะที่เงินเฟ้อก็เริ่มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย ดังนั้น กนง.มองว่าอัตราดอกเบี้ยควรจะขึ้นไปสู่จุดที่ควรจะเป็น ส่วนผลกระทบในระยะปานกลางนั้น จะมีบทบาทมากขึ้นและเป็นปัจจัยที่ กนง.จะคำนึงถึงมากขึ้น” นายปิติ ระบุ พร้อมมองว่า ขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอนในระยะสั้นอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเศรษฐกิจโลก ปัจจัยความไม่แน่นอนในประเทศ การที่ กนง.รอบหน้า (27 ก.ย.) จะตัดสินใจอย่างไรนั้น คงต้องรอดูความชัดเจนของเศรษฐกิจในช่วงนี้มากขึ้น อาศัยข้อมูลในช่วงนี้เข้ามาช่วยเสริมมุมมองในระยะข้างหน้า และคำนึงถึงปัจจัยระยะกลาง และระยะยาวที่จะมีบทบาทในการช่วยพิจารณามากขึ้น “การที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เริ่มเข้าโซนบวก เริ่มเข้าใกล้ Neutral Zone เราต้องให้แน่ใจว่าภาระการเงินจะสอดคล้องกับเสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาวมากขึ้น ต้องรอดูข้อมูลเศรษฐกิจระยะยาว ว่าจะต้องปรับอะไรเพิ่มเติมหรือไม่…การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงที่เข้าใกล้จุดเปลี่ยน เป็นปกติที่จะต้องดูข้อมูลให้มากขึ้น และใช้วิจารณญาณมากขึ้น […]
อ่านเพิ่มเติม »