เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คาด กนง.ขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ มองเงินเฟ้อยังไม่จบ กนง ดอกเบี้ย ธปท เงินเฟ้อ เศรษฐศาสตร์ เอลนีโญ อินโฟเควสท์
ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์มหภาค เผย เศรษฐกิจไทยใกล้เข้าสู่สภาวะปกติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ถอนคันเร่งนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย อาจปรับดอกเบี้ยอีกครั้งปีนี้คุมเงินเฟ้อจากเอลนิโญ ตั้งรัฐบาลล่าช้าไม่น่าห่วงเท่าประท้วง ทำท่องเที่ยวสะดุดฉุดเศรษฐกิจโต
“เราไม่ได้เหยียบเบรกเหมือนธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่เรากำลังถอนคันเร่งจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ตั้งแต่ยุคโควิด เพราะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าหลายประเทศ ต่างจากกรณีของสหรัฐฯ ที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วมากจนตึงตัว ต้องแตะเบรก”หน้าที่หลักของนโยบายการเงิน คือ การรักษากำลังซื้อของคนในระบบเศรษฐกิจ ธนาคารกลางทั่วโลก จึงมุ่งเป้าไปที่การควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย แม้แต่เฟดที่ขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ระดับ 0.25% จนถึง 5.
นอกจากนี้ ธปท. ยังส่งสัญญาณที่ระบุว่า “ต้องการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง” จึงอาจมีการขึ้นดอกเบี้ยไว้ก่อนในยามที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง เพื่อให้มีพื้นที่ ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ในอนาคต ในขณะที่ภาคส่งออก ยังถูกกดดันจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก หลังจากผ่านไปครึ่งปี พบว่าเศรษฐกิจสหรัฐแย่น้อยกว่าที่ตลาดคาด ตรงกันข้ามกับตัวเลขเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวน้อยกว่าที่คาด จนกระทั่งธนาคารกลางของจีนจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยลง และรัฐบาลจีนกำลังถูกกดดันให้อัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมมีการตั้งข้อสังเกตว่า คนอาจจะกังวลเรื่องระยะเวลาการจัดตั้งรัฐบาลมากเกินไป การจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้าไม่ว่าจะ 3 หรือ 6 เดือน อาจส่งผลต่องบลงทุนภาครัฐอยู่บ้าง แต่ก็ถือเป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับ GDP...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
BAY คาด กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ เป็นครั้งสุดท้ายของวัฎจักร : อินโฟเควสท์กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กล่าวถึงผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งมีมติเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี สู่ระดับ 2.25% ต่อปี สูงสุดในรอบ 9 ปี ซึ่งเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 7 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.65 จากถ้อยแถลงระบุว่า กนง.ประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนด้านอาหาร อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลง แต่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับที่สูงกว่าในอดีต นอกจากนี้ กนง.ยังเน้นย้ำถึงแนวทางการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการเฉพาะจุด และแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง ทั้งนี้ หลังการประกาศของ กนง. เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ราว 34.33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยภาพรวมในปีนี้ เงินบาทอ่อนค่าลง 0.6% ซึ่ง กนง.ย้ำว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวนจากแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟด คาดการณ์เศรษฐกิจจีน และความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ สำหรับการประชุม กนง.ในครั้งต่อไป จะเกิดขึ้นวันที่ 27 ก.ย.66 ซึ่งจากถ้อยแถลงของ กนง.ในวันนี้บ่งชี้ว่า การลำดับความเสี่ยงของแต่ละปัจจัยค่อนข้างสมดุลมากขึ้น โดยระบุถึงความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง ทั้งในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ […]
อ่านเพิ่มเติม »
กนง. ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ 2.25% ชี้เงินเฟ้อยังเป็นความเสี่ยง จับตาความไม่แน่นอนการเมืองไทยผลการประชุมกนง. วันที่ 2 ส.ค. 66 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ต่อปี จาก 2.00% ต่อปี เป็น 2.25% ต่อปี
อ่านเพิ่มเติม »
กนง.แย้มใกล้จุดถอนคันเร่งเกือบสุด รอประเมินภาพศก.ให้ชัด ก่อนเคาะดอกเบี้ยรอบหน้า : อินโฟเควสท์นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุว่า ตั้งแต่ ส.ค.65 กนง. ได้ทยอยถอนคันเร่งการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาระยะหนึ่งแล้ว และขณะนี้อัตราดอกเบี้ยได้เริ่มเข้าใกล้จุด Neutral rate มากขึ้น (จุดที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่ติดลบ) ซึ่งเราเข้าใกล้จุด “ถอนคันเร่งเกือบหมด” มากขึ้นแล้ว “เมื่อมองไปข้างหน้า การขึ้นดอกเบี้ยจะไปหยุดตรงที่ไหนนั้น เห็นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นเข้าสู่ระดับที่มีศักยภาพ ไม่ได้เกินศักยภาพหรือเป็นเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเหมือนสหรัฐ ขณะที่เงินเฟ้อก็เริ่มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย ดังนั้น กนง.มองว่าอัตราดอกเบี้ยควรจะขึ้นไปสู่จุดที่ควรจะเป็น ส่วนผลกระทบในระยะปานกลางนั้น จะมีบทบาทมากขึ้นและเป็นปัจจัยที่ กนง.จะคำนึงถึงมากขึ้น” นายปิติ ระบุ พร้อมมองว่า ขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอนในระยะสั้นอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเศรษฐกิจโลก ปัจจัยความไม่แน่นอนในประเทศ การที่ กนง.รอบหน้า (27 ก.ย.) จะตัดสินใจอย่างไรนั้น คงต้องรอดูความชัดเจนของเศรษฐกิจในช่วงนี้มากขึ้น อาศัยข้อมูลในช่วงนี้เข้ามาช่วยเสริมมุมมองในระยะข้างหน้า และคำนึงถึงปัจจัยระยะกลาง และระยะยาวที่จะมีบทบาทในการช่วยพิจารณามากขึ้น “การที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เริ่มเข้าโซนบวก เริ่มเข้าใกล้ Neutral Zone เราต้องให้แน่ใจว่าภาระการเงินจะสอดคล้องกับเสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาวมากขึ้น ต้องรอดูข้อมูลเศรษฐกิจระยะยาว ว่าจะต้องปรับอะไรเพิ่มเติมหรือไม่…การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงที่เข้าใกล้จุดเปลี่ยน เป็นปกติที่จะต้องดูข้อมูลให้มากขึ้น และใช้วิจารณญาณมากขึ้น […]
อ่านเพิ่มเติม »
กนง. มติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 2.25% ตามตลาดคาด : อินโฟเควสท์ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 2 สิงหาคม 2566 มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ต่อปี จาก 2.00% เป็น 2.25% ต่อปี ตามที่ตลาดคาดการณ์ โดยให้มีผลทันที คณะกรรมการฯ มองว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยอุปสงค์จากต่างประเทศล่าสุดชะลอลงบ้าง แต่คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในระยะต่อไป ด้านอัตราเงินเฟ้อปรับลดลง และมีแนวโน้มทรงตัวในกรอบเป้าหมาย โดยยังมีความเสี่ยงด้านสูง “คณะกรรมการฯ ประเมินว่าในบริบทเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ นโยบายการเงิน ควรดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน และช่วยเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว โดยการป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงินที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง จึงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้” สำหรับเศรษฐกิจไทย มีแนวโน้มขยายตัวจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกสินค้าหดตัวในระยะสั้น ส่วนหนึ่งตามเศรษฐกิจจีน และวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวได้ช้า แต่คาดว่าจะปรับดีขึ้นในระยะข้างหน้า สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น ทั้งจากภาคการส่งออกสินค้าที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด รวมถึงสถานการณ์การเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับลดลงจากราคาในหมวดพลังงาน มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ และผลของฐานที่สูงในปีก่อนหน้า แต่ประเมินว่าจะปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี หลังปัจจัยชั่วคราวทยอยหมดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงแต่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับที่สูงกว่าในอดีต โดยมีความเสี่ยงด้านสูงจากต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับเพิ่มขึ้น […]
อ่านเพิ่มเติม »
กนง. มีมติเอกฉันท์ ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 2.25% ต่อปี ให้มีผลทันทีวันที่ 2 สิงหาคม 2566นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.วันที่ 2 สิงหาคม 2566 โดยคณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.00% เป็น 2.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที
อ่านเพิ่มเติม »
ไล่ดู ดอกเบี้ยนโยบายไทยตลอดปี วัดใจ กนง.พรุ่งนี้จับตาการประชุม กนง. ที่จะมีมติเรื่องของการปรับ หรือ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมย้อนดูช่วงที่ผ่านมาดอกเบี้ยปรับขึ้นมาแล้วกี่ครั้ง . คลิกอ่านที่นี่ : PPTVHD36 PPTVNews ครบทุกข่าวเข้าใจคอกีฬา ดอกเบี้ย กนง. ขึ้นดอกเบี้ย ดอกเบี้ยบ้าน สินเชื่อบ้าน
อ่านเพิ่มเติม »