'เครียด-สูงอายุ' เสี่ยง..หลงลืมชั่วคราว

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

'เครียด-สูงอายุ' เสี่ยง..หลงลืมชั่วคราว
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 Thairath_News
  • ⏱ Reading Time:
  • 93 sec. here
  • 3 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 40%
  • Publisher: 63%

ศ.บรูโน ดูบัวส์ ศาสตราจารย์ประจำสถาบันหน่วยความจำและโรคอัลไซเมอร์ (IMMA) โรงพยาบาล La Pitié-Salpêtrière กรุงปารีส พูดถึงอาการหลงลืมที่เกิดขึ้นแบบชั่วคราว ซึ่งมีสถิติมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

บอกว่า อาการที่ว่าเรียกว่า Anosognosia หรือการหลงลืมชั่วคราวที่แตกต่างจากอาการของโรคอัลไซเมอร์ โดยกรณีที่พบบ่อยคือลืมชื่อบุคคล, ไปห้องหนึ่งในบ้านแล้วจำไม่ได้ว่าไปทำไม, หน่วยความจำว่างเปล่า สำหรับชื่อภาพยนตร์หรือนักแสดง และเสียเวลาค้นหาว่าเราทิ้งแว่นตาหรือกุญแจไว้ที่ไหน

“เรื่องนี้มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยพวกเขามักบ่นว่า ตนเองสูญเสียความทรงจำ เช่น ลืมชื่อคนในครอบครัว จำไม่ได้ว่าวางสิ่งของไว้ที่ไหน จนเกิดความกังวลว่า อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์”อธิบายพร้อมกับยืนยันว่า อาการหลงลืมที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราว อธิบายง่ายๆก็คือ ข้อมูลที่จำได้ยังคงอยู่ในสมอง แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือหน่วยประมวลผล โดยครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีอาการลักษณะนี้ ซึ่งเกิดจากอายุมากกว่าเกิดจากโรคทั้งนี้ หลังอายุ 60 ปี...

สำหรับกลุ่มอาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว ผู้ป่วยจะไม่ลืมว่าตนเองเป็นใคร ยังสามารถจดจำเรื่องราวในอดีตได้ เพียงแต่จะไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ได้เท่านั้น และอาจมีความคิดหรือความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ตามปกติ เช่น จำชื่อสิ่งของที่คุ้นเคยได้ สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำแบบง่ายๆ และยังคงจดจำอัตลักษณ์ของตนเองได้ อาการที่เกิดขึ้นไม่ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทหรือโรคลมชัก

ปัจจุบันในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการหลงลืมชั่วคราว แต่พบว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นไมเกรนอาจมีความเสี่ยงเผชิญภาวะนี้สูงกว่าคนทั่วไป และอาจมีปัจจัยบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าวได้ เช่น การแช่น้ำที่ร้อนหรือเย็นมากอย่างกะทันหัน การออกกำลังกายหนักเกินไป การมีเพศสัมพันธ์ ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะแบบไม่รุนแรง หรือมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงเกิดขึ้น การเกิดความเครียดอย่างรุนแรง เช่น การได้รับข่าวร้าย การทำงานหนัก การทะเลาะเบาะแว้ง...

การวินิจฉัยว่าเป็นอาการหลงลืมชั่วคราวหรือไม่ สามารถทำได้ตั้งแต่การตรวจทางระบบประสาท การตรวจเลือดเพื่อแยกโรคและหาสาเหตุของการสูญเสียความทรงจำที่เกิดจากปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น การติดเชื้อ การขาดวิตามินบี 1 การทำ MRI Scan, การทำ CT Scan และการตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง ผู้ป่วยที่มีภาวะหลงลืมชั่วคราวอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา เนื่องจากอาการสามารถหายไปได้เอง แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและติดตามผลอย่างน้อย 1 ครั้ง รวมทั้งหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ความดันในทรวงอกเพิ่มขึ้น...

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

Thairath_News /  🏆 8. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

ไอ้เอ็ม เครียด คุมตัวไป ตรวจจิตเวช ยัน ไม่ได้ฆ่าลูก 5 ศพไอ้เอ็ม เครียด คุมตัวไป ตรวจจิตเวช ยัน ไม่ได้ฆ่าลูก 5 ศพเช้าวันนี้ 21 ก.ย. 66 ตำรวจ สน.บางเขน คุมตัวนายส่องศักดิ์ ส่งแสง หรือ เอ็ม ผู้ต้องหา คดีฆ่าโลกปูนลูกวัย 2 ขวบ และผู้ต้องสงสัย โยงการตายของลูกอีก 4 ศพ เมื่อปี 25
อ่านเพิ่มเติม »

จับตาวาระโหวตเลขาฯกสทช.หลัง 4 บอร์ดเสียงข้างมากถูก “ไตรรัตน์” ฟ้องอาญาจับตาวาระโหวตเลขาฯกสทช.หลัง 4 บอร์ดเสียงข้างมากถูก “ไตรรัตน์” ฟ้องอาญาจับตาวาระประชุมกสทช.สัญจร นครพนม เสนอ “ไตรรัตน์” นั่งเลขาธิการกสทช.อาจโหวตฉลุย 3 เสียง เหตุ กสทช.เสียงข้างมาก 4 คน ถูก “ไตรรัตน์” ฟ้องอาญา หมดสิทธิ์โหวต
อ่านเพิ่มเติม »

'เครียด-สูงอายุ' เสี่ยง..หลงลืมชั่วคราว'เครียด-สูงอายุ' เสี่ยง..หลงลืมชั่วคราวศ.บรูโน ดูบัวส์ ศาสตราจารย์ประจำสถาบันหน่วยความจำและโรคอัลไซเมอร์ (IMMA) โรงพยาบาล La Pitié-Salpêtrière กรุงปารีส พูดถึงอาการหลงลืมที่เกิดขึ้นแบบชั่วคราว ซึ่งมีสถิติมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-04 11:29:38