ไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คุ้มไม่คุ้ม รู้ผลมี.ค.66 รถไฟความเร็วสูง อินโฟเควสท์
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมหารือด้านเทคนิค โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งของไทยและญี่ปุ่น ร่วมกันพิจารณารายงานฉบับกลางของการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงินในโครงการดังกล่าว
ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นได้รายงานความเป็นมา วัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์ทางการเงิน นับตั้งแต่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ได้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ในปี 2560 เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ การลดต้นทุน และการประเมินความต้องการเดินทางอีกครั้ง โดยการวิเคราะห์ทางการเงิน จะจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย และใช้สมมติฐานที่เปลี่ยนไป
นอกจากนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นได้รายงานความก้าวหน้าของการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางจราจรที่ใช้ในการศึกษาที่ผ่านมา และการทบทวนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยญี่ปุ่นจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งผลกระทบของการลดการปล่อย CO2 จะถูกนำมารวมอยู่ในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นนำเสนอกรอบระยะเวลาการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงิน และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม...
ขณะที่ กรมการขนส่งทางราง ได้เสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณาศึกษาการคาดการณ์ผลตอบแทนเศรษฐกิจเชิงกว้าง จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง โดยนำกรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นแนวทางดำเนินการ เช่น กรณีการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีมินาโตะมิไร เมืองโยโกฮาม่า ซึ่งเป็นสถานีที่รถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่าน
โดยบริเวณสถานี มีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นำมาซึ่งการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยวที่นำไปสู่การพัฒนาเมืองใหม่ มาใช้ในการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อเพิ่มความเหมาะสมของโครงการต่อไป
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
สรรพากร ย้ำชัด! เก็บภาษีขายหุ้นแน่ เริ่มเดือนแรกพ.ค.66 : อินโฟเควสท์นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักการยกเลิกการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดว่า ร่างกฎหมายจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ในเดือน ม.ค. 66 และเริ่มเก็บภาษีได้ในวันที่ 1 ของเดือนที่ 4 ถัดไป น่าจะเป็นวันที่ 1 พ.ค. 66 ซึ่งระยะเวลาในการจัดเก็บภาษีเป็นไปตามขั้นตอนตามกฎหมายไว้ระบุไว้ทุกอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนการเว้นช่วงเวลา โดยไม่เก็บภาษีทันทีที่กฎหมายมีผลบังคับใช้นั้น เพราะต้องการให้โบรกเกอร์และผู้เกี่ยวข้องมีเวลาเตรียมระบบในการซื้อขายและการหักภาษี เพื่อนำส่งให้กรมสรรพากร โดยกรมสรรพากรเชื่อมั่นว่า ตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวได้ในไม่ช้า ไม่น่าเป็นห่วงอย่างที่นักลงทุนกังวลมากเกินไป ในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีนี้ กฎหมายได้กำหนดให้สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ (Broker) ที่เป็นตัวแทนของผู้ขายมีหน้าที่หักภาษีธุรกิจเฉพาะจากเงินที่ขายและยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีในนามตนเองแทนผู้ขาย โดยผู้ขายไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีก อย่างไรก็ดี ในปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่มีการลดอัตราภาษีเหลือ 0.055% ต้นทุนดังกล่าวจะอยู่ที่ 0.195% ซึ่งใกล้เคียงกับของสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีดังกล่าวนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในระยะยาว ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมามากกว่า 30 ปี ซึ่งการยกเลิกการยกเว้นการจัดเก็บภาษีในครั้งนี้ อาจส่งผลให้ต้นทุนการทำธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์ ของไทยสูงขึ้นจาก 0.17% เป็น 0.22% …
อ่านเพิ่มเติม »
ต่อเวลา! ตรึงราคา LPG ถึงม.ค.66 ลดภาระค่าครองชีพ : อินโฟเควสท์นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีการพิจารณาแนวทางการทบทวนการกำหนดราคา LPG เนื่องจากสถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกในปัจจุบันยังคงผันผวน โดย ณ วันที่ 29 พ.ย.65 อยู่ที่ 633.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เทียบได้กับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ที่ประมาณ 480 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ในขณะที่ราคาขายปลีกในประเทศอยู่ที่ 408 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ส่งผลต่อสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 1,352 ล้านบาทต่อเดือน และฐานะกองทุนบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 43,883 ล้านบาท เข้าใกล้กรอบวงเงินกองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของบัญชีก๊าซ LPG ที่ให้ติดลบได้ไม่เกิน 45,000 ล้านบาท โดยที่ประชุม มีมติเห็นชอบการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โดยให้คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG …
อ่านเพิ่มเติม »
เวิลด์แบงก์ หั่น GDP ไทยปี 66 เหลือโต 3.6% ชมฟื้นเร็วแต่แพ้เวียดนาม เชียร์รัฐหารายได้เพิ่ม : อินโฟเควสท์นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ประจำประเทศไทย ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 65 จะขยายตัวได้ 3.4% ขณะที่ปี 66 จะขยายตัวได้ 3.6% ลดลงจากคาดการณ์เดิม 0.7% จากการชะลอตัวของอุปสงค์โลกที่เกิดเร็วกว่าที่คาด แต่ว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนยังเป็นปัจจัยบวกหลักในการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ขณะที่ไตรมาส 3/65 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดีกว่าคาด ส่งผลให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับไปสู่การเติบโตก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ได้เร็วขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยก็ยังตามหลังประเทศอื่นในอาเซียน เช่น เวียดนาม ที่มีการฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวเยอะที่สุดในภูมิภาค ซึ่งคาดว่าการท่องเที่ยวของไทยจะกลับมาสู่ระดับปกติได้ในปี 67 ในปีหน้าคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเป็นบวก ขณะที่หนี้สาธารณะได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ที่ระดับ 61.1% ต่อจีดีพีในปีงบประมาณ 65 แต่ก็ยังมีแรงกดดันเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ก่อนที่จะชะลอตัวลง โดยคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ 1-2% ในช่วงครึ่งแรกของปี 66 โดยราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูงมานาน อาจทำให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่การคลังลดลง สำหรับการดำเนินมาตรการทางการคลังจะช่วยบรรเทาผลกระทบของวิกฤติที่มีต่อสวัสดิการของครัวเรือนได้อย่างมาก แม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวก็คาดว่าความยากจนจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.6% ในปีนี้ จาก 6.3% ในปี 64 …
อ่านเพิ่มเติม »
ลูกหนี้เฮ! กยศ.ขยายเวลาลดหนี้เป็นของขวัญปีใหม่ ถึงสิ้น มิ.ย.66 : อินโฟเควสท์น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้หนี้ภาคครัว โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการว่าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้เป็นหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่ง กยศ.ได้กำหนดมาตรการในการช่วยเหลือ อาทิ การลดเบี้ยปรับ การลดเงินต้น รวมถึงได้ดำเนินการอื่นๆ เช่น ยกเลิกการกำหนดให้มีผู้ค้ำประกัน ชะลอการฟ้องร้องคดี งดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้กู้ยืมเงินและหรือผู้ค้ำประกัน โดยล่าสุด กยศ. ได้ขยายระยะเวลามาตรการลดหย่อนหนี้อีก 6 เดือน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 65 ออกไปเป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 66 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2566 ให้กับผู้กู้ยืมเงินกองทุน รวมถึงช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจได้มีทางเลือกในการผ่อนชำระมากขึ้น สำหรับมาตรการลดหย่อนหนี้ มีดังนี้ 1. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากเดิม 1% ต่อปี เป็น 0.01% ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุนและไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ 2. ลดเงินต้น 5% สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และต้องการปิดบัญชีในคราวเดียว …
อ่านเพิ่มเติม »
ครม.ไฟเขียวแผนพัฒนาโลจิสติกส์ 66-70 มุ่งลดต้นทุนขนส่งสินค้า : อินโฟเควสท์น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบโลจิสติกส์เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าที่สำคัญในอนุภูมิภาคและภูมิภาค โดยขับเคลื่อนผ่าน 5 แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ดังนี้ 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น 1) สร้างโครงข่ายการเชื่อมโยงการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ระหว่างท่าเรือ รถไฟ ถนน และท่าอากาศยานอย่างครอบคลุม เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่อุตสาหกรรม และด่านชายแดนสำคัญ 2) พัฒนาศูนย์บริการโลจิสติกส์และปรับปรุงด่านชายแดนที่สำคัญ 3) บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์บริการโลจิสติกส์ 4) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 2. ยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าโซ่อุปทาน เช่น 1) พัฒนาการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร 2) พัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม 3) การดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3. การพัฒนาพิธีการศุลกากร กระบวนการนำเข้า-ส่งออกที่เกี่ยวข้อง และการอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น 1) พัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลและใช้ประโยชน์จากระบบ National Single Window (NSW) 2) …
อ่านเพิ่มเติม »