สถาพร ศรีสัจจัง หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีบอกเราว่า หลังจากสปีชีส์ “เซเปียนส์” เข้ายึดครองและตั้งมั่นกระจัดกระจายอยู่แถบแอฟริกาเหนือและยุโรป(โดยเฉพาะแถบรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลอีเจียน)แล้ว พวกเขาก็มีพัฒนาการเข้าสู่สังคมแบบเกษตรกรรมอย่างชัดเจน พร้อมกับค่อยๆเกิดสิ่งที่เรียกว่า “นครรัฐ” ยุคแรกๆขึ้น...
ที่น่าสนใจก็คือบางช่วงเวลาและบางนครรัฐ มีพัฒนาการทางการเมืองการปกครอง ที่ก้าวหน้าล่วงพ้นเนื้อหาการปกครองแบบ “ศักดินา” ที่มักเกิดควบคู่กับสังคมมนุษย์ในยุค “เกษตรกรรม” โดยทั่วไป
แม้แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางแห่ง ในพื้นที่ซึ่งประวัติศาสตร์ปรากฏหลักฐานเรียกว่า “สุวรรณภูมิ” ก็มีเค้าให้เห็นคล้ายเช่นนั้นอยู่บ้าง ดังเช่น ในนครรัฐสุโขทัยในยุคพ่อขุนรามคำแหง ที่นักประวัติศาสตร์หลายท่านตีความจากหลักฐานศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า เป็นการปกครองแบบ “เสรีนิยม” ที่ “ใครใคร่ค้า-ค้า” และเป็นแบบระบบ “พ่อปกครองลูก” ไม่ใช่ระบอบ “ศักดินา” แบบที่รู้จักกันในหมู่นักวิชาการยุคปัจจุบันโดยทั่วไป...
เรื่องระบบการปกครองแบบ “ประชาธิปไตยทางตรง” ในยุคสังคมแบบเกษตรกรรมของนครรัฐเอเธนส์ในอดีตจะเป็นอย่างไรนั้น บทสรุปที่อ่านง่ายที่สุดในวงวิชาการเมืองไทยปัจจุบัน น่าจะเป็นข้อเขียนของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร ที่เขียนไว้ใน “ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า” เธอเขียนไว้พอจะประมวลสรุปได้สั้นๆดังนี้
นอกจากนี้พลเมืองผู้ชายดังกล่าวยังมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและให้ความเห็นชอบนโยบายที่นำเสนอโดยรัฐบาลที่ทำงานในรูปแบบคณะกรรมการที่เรียกว่า “สภาห้าร้อย” ที่ประกอบด้วยพลเมืองจำนวน 500 คน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทำหน้าที่แบบเต็มเวลา มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 1 ปี ที่ยกข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่อง “ประชาธิปไตย” แบบนครรัฐเอเธนส์ ซึ่งทางชาติตะวันตกมักจะอ้างว่าเป็น “ฐานราก” ระบบการปกครองซึ่งดีที่สุด ที่บรรพชนของพวกตนคิดสร้างสรรค์ไว้ และพวกตนรับสืบมาปฏิบัติ ตามที่อาจารย์ ดร.วิชุดา เรียบเรียงไว้มาบอกเล่าต่อแบบค่อนข้างมากมายนั้น
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
โลก-ทัศน์-พัฒน์-พิษ (15) : จากพึ่งพิงธรรมชาติ-เกษตรกรรม สู่ “อุตสาหกรรม”(9)สถาพร ศรีสัจจัง “… วัฒนธรรมทวารวดีมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ผสมเข้ากับวัฒนธรรมอินเดียที่แพร่หลายเข้ามายังภูมิภาคนี้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมของผู้คนในแถบนี้ในแง่มุมต่างๆ ทั้งการนับถือศาสนา การสร้างบ้านเมือง และระเบียบแบบแผนทางสังคม…” ข้อความที่เป็นเหมือน “ข้อสรุป”...
อ่านเพิ่มเติม »
โลก-ทัศน์-พัฒน์-พิษ (16) : จากพึ่งพิงธรรมชาติ-เกษตรกรรม สู่ “อุตสาหกรรม” (10)สถาพร ศรีสัจจัง กล่าวโดยสรุป ต้นตอเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ผ่านพัฒนาการจาก “โฮโมนิดส์” จนมาเป็น “โฮโม” สปีชีส์หนึ่ง ที่เรียกกันต่อมาว่า “โฮโม เซเปียนส์” นั้น อาจกินเวลาเป็นล้านๆปี จาก “เซเปียนส์” พัฒนามาเป็น “อันดับวานร” (Primate) ชนิดหนึ่ง จนเข้าสู่ความเป็น “มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์” ตามที่นักประวัติศาสตร์ และ นักมานุษยวิทยาทั้งหลายอธิบาย...
อ่านเพิ่มเติม »
โลก-ทัศน์-พัฒน์-พิษ (17) : จากพึ่งพิงธรรมชาติ-เกษตรกรรม สู่ “อุตสาหกรรม” (11)สถาพร ศรีสัจจัง กล่าวเฉพาะ “พื้นที่ที่เรียกว่าสาธารณรัฐประชาชนจีน” ปัจจุบัน ซึ่งต่อไปจะเรียกเพียงสั้นๆว่า “ประเทศจีน” (จะนับรวมเกาะ “ฟอร์โมซา” หรือ “ไต้หวัน” ด้วยหรือไม่ก็แล้วแต่) ซึ่งการศึกษาทางประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยาก้าวหน้าไปมากแล้วนั้น พบว่า “สังคมมนุษย์” (ที่สืบเชื้อสายมาจากเซเปียนส์) มี “ระบบศักดินา”...
อ่านเพิ่มเติม »
โลก-ทัศน์-พัฒน์-พิษ (18) : จากพึ่งพิงธรรมชาติ-เกษตรกรรม สู่ “อุตสาหกรรม” (12)สถาพร ศรีสัจจัง เมื่อพูดถึงพัฒนาการของดินแดนซีกโลกตะวันออกในยุคสังคมเกษตรกรรมที่มีระบบการปกครองแบบที่เรียกว่า “ศักดินานิยม” โดยใช้ประเทศจีนโบราณเป็นตัวแทนแล้ว ก็ควรจะได้พูดถึงดินแดนในซีกโลกตะวันตกในยุคเดียวกันด้วย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์-โบราณคดีพบว่า “นครรัฐ” แรกๆในดินแดนซีกโลกตะวันตก ในยุคที่ “เซเปียนส์”...
อ่านเพิ่มเติม »
6 ขั้นตอนแจ้ง 'โรงงานน้ำท่วม' ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี 35,108 แห่งรมว.อุตสาหกรรม สั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี 35,108 โรงงานจำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 ถูกน้ำท่วม แจ้งข้อมูลได้วันนี้จนถึงวันที่ 31 ต.ค.นี้ วันนี้ (3 ต.ค.2567) นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.
อ่านเพิ่มเติม »
3 รมว. เอกนัฏ-นฤมล-พิชัย กระตุกแบงก์ชาติ ลดดอกเบี้ย คุมบาทแข็ง ช่วยเศรษฐกิจ3 รมว.อุตสาหกรรม-เกษตรฯ -พาณิชย์ ประสานเสียงถึงเวลาแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย-คุมบาทแข็ง ยกโมเดลจีนแก้ปัญหาเศรษฐกิจรวดเร็ว มั่นใจประชุม กนง.16 ต.ค.นี้ เคาะลดดอกเบี้ย
อ่านเพิ่มเติม »