เลือกตั้ง'66: ผู้สมัครเดินสายมูก่อนลงพื้นที่/'อนุทิน-วราวุธ-ชลน่าน'ปักหลักที่มั่น : อินโฟเควสท์

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

เลือกตั้ง'66: ผู้สมัครเดินสายมูก่อนลงพื้นที่/'อนุทิน-วราวุธ-ชลน่าน'ปักหลักที่มั่น : อินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 61 sec. here
  • 3 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 28%
  • Publisher: 68%

เลือกตั้ง'66: ผู้สมัครเดินสายมูก่อนลงพื้นที่/'อนุทิน-วราวุธ-ชลน่าน'ปักหลักที่มั่น เลือกตั้ง66 อินโฟเควสท์

พรุ่งนี้ เป็นวันแรกของการสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 เขตทั่วประเทศ โดยในกรุงเทพฯ จะเป็นจุดใหญ่ที่แกนนำทุกพรรคนำทีมผู้สมัครในสังกัดเดินทางไปที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร ด้วยตัวเองกันแต่เช้าเพื่อจองสิทธิการจับเบอร์ หลังผ่านขั้นตอนการสมัครเรียบร้อยแล้วจะเดินสายไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนลงพื้นที่ แต่จะมีหัวหน้าพรรค 3 รายที่ลงพื้นที่สำคัญในต่างจังหวัด คือ นพ.

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย พร้อมด้วยแกนนำพรรค และผู้สมัครฯ เดินทางจากที่ทำการพรรคด้วยรถบัสพลังงานไฟฟ้า หลังสมัครเสร็จแล้วจะเดินทางไปสักการะศาลหลักเมือง นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ประธานคณะกรรมการประสานงานด้านการเมืองพื้นที่กรุงเทพมหานคร พาผู้สมัคร ส.ส.ฝั่งธนบุรี 10 คน เดินทางไปสักการะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค พร้อมด้วยแกนนำพรรค และผู้สมัคร ส.ส.

นายนิกร จำนง ประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วยแกนนำพรรค นัดเจอกับผู้สมัคร ส.ส.กทม.ที่หน้าอาคารกีฬาเวสน์นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค พร้อมด้วยแกนนำพรรค และผู้สมัคร ส.ส.นครราชสีมา เดินทางไปสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา หลังสมัครเสร็จแล้วจะเดินทางไปสักการะท้าวสุรนารี ศาลหลักเมือง และพระนารายณ์

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้อำนวยการเลือกตั้ง กทม. พร้อมด้วยแกนนำพรรค และผู้สมัคร ส.ส.กทม.เดินทางจากที่ทำการพรรคด้วยรถบัสพลังงานไฟฟ้า หลังสมัครเสร็จแล้วจะเดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดชนะสงครามนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค พร้อมด้วยแกนนำพรรค และผู้สมัครฯ เดินทางจากที่ทำการพรรคด้วยรถบัสพลังงานไฟฟ้า หลังสมัครเสร็จแล้วจะเดินทางไปสักการะศาลหลักเมืองและวัดพระแก้วนายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรค พร้อมด้วยแกนนำพรรค และผู้สมัครฯ จะเดินทางไปสักการะท้าวมหาพรหมเอราวัณพล.อ.

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

InfoQuestNews /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

เลือกตั้ง'66:'อนุทิน'มั่นใจภูมิใจไทยกวาดส.ส.ใต้เพิ่มไม่กลัวเจ้าถิ่นโชว์ผลงานที่ผ่านมา : อินโฟเควสท์เลือกตั้ง'66:'อนุทิน'มั่นใจภูมิใจไทยกวาดส.ส.ใต้เพิ่มไม่กลัวเจ้าถิ่นโชว์ผลงานที่ผ่านมา : อินโฟเควสท์นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมคณะได้เดินทางมาร่วมพิธีอนุโมทนาจิตถวายโฉนดที่ดินเพื่อสร้างวัดแด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์และคณะสงฆ์ หลังเสร็จสิ้นพิธี นายอนุทิน ได้ให้ สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ถึงความพร้อม ของ พรรคภูมิใจไทยในศึกเลือกตั้ง ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เราจะส่งผู้สมัครให้ได้มากที่สุด สำหรับพื้นที่เป้าหมาย ต้องส่งให้ครบทุกคน ล่าสุด ได้ดำเนินการตามกฎหมายจนเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อถามว่าในพื้นที่ภาคใต้พรรคภูมิใจไทยเกรงกลัวนักการเมืองเจ้าถิ่นหรือไม่ นายอนุทิน ตอบว่า นักการเมืองเจ้าถิ่นไม่มีเพราะคนที่เป็นเจ้าถิ่นมีแต่ประชาชนเท่านั้น คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของประเทศไทย สำหรับพรรคภูมิใจไทยเป็นผู้ที่อาสาเข้ามาทำงานผ่านการรับเลือกของประชาชน “ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาพรรคภูมิใจไทยมุ่งมั่นตั้งใจทำงานและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย เอาเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ถนนหนทางดีขึ้น ระบบคมนาคม สะดวกขึ้น เช่น สะพาน เชื่อมพัทลุง-สงขลา และสะพานข้ามเกาะลันตา จ.กระบี่” นายอนุทินกล่าวเพิ่มเติมว่า แม้งานที่วางไว้จะสำเร็จไปเยอะแล้วแต่ก็ชัดเจนว่ายังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำต่อ เราต้องการเปลี่ยนด้ามขวานไทยให้กลายเป็นด้ามขวานทอง โครงการที่ต้องเร่งเดินหน้าเส้นโครงการแลนด์บริดจ์ เชื่อมทะเลอ่าวไทยกับทะเลอันดามันทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก อาเซียนและประเทศไทย มีโอกาสที่จะเจริญเติบโต ขอให้เรามีศักยภาพในการคว้าโอกาสนั้นได้ก็พอ “ในทุกพื้นที่ พรรคภูมิใจไทย เน้นให้ คนที่รู้ลึกรู้จริงมาทำงาน พื้นที่ภาคใต้ เราได้มอบหมายให้ท่านพิพัฒน์ รัชกิจประการ ให้ท่านนาที และท่านอารี ไกรนรา มาดูแลพื้นที่ตรงนี้ เพราะรู้ถึงปัญหา […]
อ่านเพิ่มเติม »

เลือกตั้ง'66: 'สมศักดิ์'สักการะศาลหลักเมืองก่อนลุยหาเสียงเพื่อไทย กวาดส.ส.เหนือเพิ่ม : อินโฟเควสท์เลือกตั้ง'66: 'สมศักดิ์'สักการะศาลหลักเมืองก่อนลุยหาเสียงเพื่อไทย กวาดส.ส.เหนือเพิ่ม : อินโฟเควสท์นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เดินทางเข้าสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนที่จะลงพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อปราศรัยช่วยผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย โดยนายสมศักดิ์ ได้นำดอกบัวเข้าไปสักการะพระพุทธรูป จากนั้น ทำบุญใส่บาตรพระประจำวันเกิด คือ วันพุธ ซึ่งเชื่อว่า เป็นการสะเดาะเคราะห์ และช่วยหนุนดวงเสริมความมั่นคงในชีวิต จากนั้น ได้นำผ้าแพร ผูกที่องค์หลักเมืองจำลอง พร้อมนำพวงมาลัยถวายองค์พระหลักเมือง และเทพารักษ์ทั้ง 5 ซึ่งในระหว่างสักการะ นายสมศักดิ์ ได้ขอพรให้ประเทศ มีความสงบ ไม่มีความขัดแย้ง และขอให้พี่น้องประชาชน มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า ในช่วงกลางปี ก็จะมีการเลือกตั้งใหญ่ ซึ่งถือว่า จะมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนโดยตรง ตนจึงเดินทางเข้าสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อขอให้ประเทศ เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น และช่วยส่งเสริมให้พี่น้องประชาชน มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน ตนได้ขอให้พรรคเพื่อไทย มีส.ส.ในพื้นที่ภาคเหนือ มากขึ้น รวมถึงสามารถเปิดพื้นที่ใหม่ ในจังหวัดภาคใต้ได้ เพราะเรามีความตั้งใจ ที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชน “การเลือกตั้งครั้งนี้ ผมขอให้พี่น้องประชาชน พิจารณานโยบายที่สามารถทำได้จริง อย่าง […]
อ่านเพิ่มเติม »

เลือกตั้ง'66: เปิดเพจ'ป้อมรายวัน' ย้ำลงปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 มั่นใจปชช.เลือกจริง : อินโฟเควสท์เลือกตั้ง'66: เปิดเพจ'ป้อมรายวัน' ย้ำลงปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 มั่นใจปชช.เลือกจริง : อินโฟเควสท์รายงานข่าวเผยว่า เพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ”พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ”ได้โพสต์ภาพพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรค พร้อมข้อความบนภาพ”ไม่ลงปาร์ตี้ลิสต์”และข้อความ”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค-ปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 1 แคนดิเดโตนายกฯ พรรคพลังประชารัฐ” พร้อมโพสต์ข้อความว่า “ที่ผ่านมา ผมสื่อสารให้พี่น้อง สื่อมวลชน และประชาชนได้เข้าใจถึงแนวคิดของผมว่าทำไมต้องไปต่อ ผ่านจดหมายทั้ง 6 ฉบับ ซึ่งจบไปแล้ว และต้องขอขอบคุณ ที่พี่น้องประชาชนให้ความสนใจ และค้นหาผ่าน Google ในแต่ละฉบับ โดยรวมแล้วมีกว่า 10 ล้านครั้ง แต่สำหรับในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ก็คงจะต้องสื่อสาร กับพี่น้องประชาชนในรูปแบบใหม่ที่จะต้องตอบคำถามบ่อยหน่อย เพราะอาจจะมีบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผมและพรรคซึ่งควรจะต้องมีคำตอบเพื่อสร้างความเข้าใจและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแต่ไม่ได้หมายความว่า ผมจะทำเป็น Facebook “ป้อมรายวัน” กรุณาติดตามนะครับ” ไม่ลงปาร์ตี้ลิสต์ คนอื่นจะคิดอะไร แบบไหนก็ปล่อยให้เขาคิด เขาพูดไป ผมพูดแต่ในส่วนของผม ผมคิดแบบนี้ เริ่มจาก บัตรเลือกตั้งมี 2 ใบ เลือกพรรค กับเลือกผู้สมัครเขต ไม่มีบัตรเลือกนายกรัฐมนตรี ตัวผมเองนั้น ต้องการเป็นนายกฯที่ประชาชนเลือก ถ้าผมไม่มีชื่อลงสมัครรับเลือกตั้งแล้วผมจะแน่ใจได้อย่างไรว่าประชาชนเลือกผมด้วย ไม่ใช่กาบัตรเลือกคนอื่น […]
อ่านเพิ่มเติม »

เลือกตั้ง'66: กกต.ย้ำเตือนวันรับสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ไม่จัดขบวนแห่ไปตามถนน-ชุมชน : อินโฟเควสท์เลือกตั้ง'66: กกต.ย้ำเตือนวันรับสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ไม่จัดขบวนแห่ไปตามถนน-ชุมชน : อินโฟเควสท์รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้วันที่ 3 – 7 เมษายน 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และในวันที่ 4 – 7 เมษายน 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี นั้น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งขอแจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดขบวนแห่ในวันสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมืองและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดขบวนแห่หรือกองเชียร์ที่แสดงการสนับสนุนเข้ามาในสถานที่สมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้กำลังใจแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองในวันดังกล่าว เมื่อกระบวนการสมัครเสร็จสิ้นลงแล้วมิควรมีการจัดขบวนหรือกองเชียร์ออกจากสถานที่รับสมัครไปตามถนน ตำบล หรือหมู่บ้านในลักษณะนี้อีก เนื่องจากเคยมีคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 และคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไว้ในทำนองเดียวกันว่าการจัดขบวนแห่และรถยนต์ติดแผ่นป้ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งภายหลังการสมัครรับเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วไปตามชุมชน โดยมีการแสดงดนตรีหรือการรื่นเริงใด ๆ ถือเป็นการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการหาเสียงด้วยการจัดให้มีการรื่นเริงซึ่งชัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01 เม.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »

เลือกตั้ง'66: กกต.ประกาศให้ 3 พรรคสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง : อินโฟเควสท์เลือกตั้ง'66: กกต.ประกาศให้ 3 พรรคสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง : อินโฟเควสท์คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศให้พรรคเพื่อราษฎร พรรคไทยสร้างสรรค์ และพรรคคนงานไทย สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทั้งนี้ นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า พรรคเพื่อราษฎรไม่มีการประชุมใหญ่พรรคการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกินหนึ่งปีโดยมิได้มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย จึงเป็นเหตุให้พรรคเพื่อราษฎรสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ขณะที่นายธำรงค์ เรืองธุระกิจ หัวหน้าพรรคไทยสร้างสรรค์ ได้มีหนังสือแจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าในการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคไทยสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้เลิกพรรคไทยสร้างสรรค์ ตามข้อบังคับพรรคไทยสร้างสรรค์ พ.ศ. 2564 ข้อ 123 วรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้พรรคไทยสร้างสรรค์สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (7) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ส่วนพรรคคนงานไทยนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง […]
อ่านเพิ่มเติม »

เลือกตั้ง'66:เลขาฯ กกต.แจงใช้บัตรเลือกตั้งแบบมาตราฐานเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา : อินโฟเควสท์เลือกตั้ง'66:เลขาฯ กกต.แจงใช้บัตรเลือกตั้งแบบมาตราฐานเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา : อินโฟเควสท์นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว ชี้แจงเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข (เบอร์ )เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น โดยรูปแบบบัตรเลือกตั้งนับแต่มีการเลือกตั้งในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบบัตรที่ใช้เลือกตั้ง อยู่ 3 ประเภท คือ บัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ บัตรที่มีเฉพาะหมายเลข(เบอร์)ผู้สมัคร หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบัตรโหลจะไม่มีรายชื่อผู้สมัครแต่อย่างใด ทุกการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทยใช้บัตรเลือกตั้งแบบนี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่มีเฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้งก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือมีการเลือกตั้งแบบบัญชีราบชื่อ หลังปี 2540 ก็ตาม หมายความว่า ไม่เคยมีชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้งแต่อย่างใด ส่วนรูปแบบบัตรมาตราฐานแบบบัญชีรายชื่อคือ บัตรที่มีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญญลักษณ์หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง เริ่มใช้บัตรเลือกตั้งรูปแบบนี้นับแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 เป็นต้นมา ทุกการเลือกตั้งก็จะใช้บัตรเลือกตั้งนี้มาตลอด และบัตรเลือกตั้งแบบเฉพาะ เกิดขึ้นใน ปี 2562 เพื่อรองรับระบบเลือกตั้งแบบคะแนนไม่ตกน้ำตามหลักการของรัฐธรรมนูญ […]
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-17 09:44:43