เลือกตั้ง'66: เปิดเพจ'ป้อมรายวัน' ย้ำลง ปาร์ตี้ลิสต์ เบอร์ 1 มั่นใจปชช.เลือกจริง พรรคพลังประชารัฐ ประวิตร เลือกตั้ง2566 อินโฟเควสท์
รายงานข่าวเผยว่า เพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ”พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ”ได้โพสต์ภาพพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรค พร้อมข้อความบนภาพ”ไม่ลงปาร์ตี้ลิสต์”และข้อความ”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค-ปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 1 แคนดิเดโตนายกฯ พรรคพลังประชารัฐ” พร้อมโพสต์ข้อความว่า
“ที่ผ่านมา ผมสื่อสารให้พี่น้อง สื่อมวลชน และประชาชนได้เข้าใจถึงแนวคิดของผมว่าทำไมต้องไปต่อ ผ่านจดหมายทั้ง 6 ฉบับ ซึ่งจบไปแล้ว และต้องขอขอบคุณ ที่พี่น้องประชาชนให้ความสนใจ และค้นหาผ่าน Google ในแต่ละฉบับ โดยรวมแล้วมีกว่า 10 ล้านครั้ง แต่สำหรับในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ก็คงจะต้องสื่อสาร กับพี่น้องประชาชนในรูปแบบใหม่ที่จะต้องตอบคำถามบ่อยหน่อย เพราะอาจจะมีบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผมและพรรคซึ่งควรจะต้องมีคำตอบเพื่อสร้างความเข้าใจและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแต่ไม่ได้หมายความว่า...
ไม่ลงปาร์ตี้ลิสต์ คนอื่นจะคิดอะไร แบบไหนก็ปล่อยให้เขาคิด เขาพูดไป ผมพูดแต่ในส่วนของผม ผมคิดแบบนี้ เริ่มจาก บัตรเลือกตั้งมี 2 ใบ เลือกพรรค กับเลือกผู้สมัครเขต ไม่มีบัตรเลือกนายกรัฐมนตรี ตัวผมเองนั้น ต้องการเป็นนายกฯที่ประชาชนเลือก ถ้าผมไม่มีชื่อลงสมัครรับเลือกตั้งแล้วผมจะแน่ใจได้อย่างไรว่าประชาชนเลือกผมด้วย ไม่ใช่กาบัตรเลือกคนอื่น แล้วผมเป็นแค่ผลพลอยได้ ไม่มีส่วนร่วมอะไรกับการเลือกของประชาชนเลย ผมจึงเลือกที่จะเป็นทั้งหัวหน้าพรรค ผู้สมัครส.ส.
ผมตั้งใจเป็นผู้นำในระบอบประชาธิปไตย หากไม่มั่นใจว่าคะแนนที่ได้เป็นคะแนนที่เลือกผม ผมจะรู้สึกถึงความเป็นผู้นำที่ “สง่างามอย่างมั่นใจ”ได้อย่างไร ผมไม่อยากโกหกตัวเอง ว่า “มาจากการเลือกของประชาชน”
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เลือกตั้ง'66: 'ชัยเกษม' พร้อม! หากเพื่อไทยชูเป็นแคนดิเดตนายกฯ คนที่ 3 : อินโฟเควสท์นายชัยเกษม นิติสิริ ประธานยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกระแสข่าวเตรียมนั่งแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยว่า ยังไม่มีการทาบทาม เพราะกรรมการบริหารพรรคยังไม่ได้ประชุมกัน กระแสข่าวที่ออกมานั้นก็คงลือกันไป ซึ่งอาจเป็นเพราะตนเคยมีชื่อเป็นแคนดิเดตในครั้งที่แล้ว แต่หากพรรคมีมติออกมา ก็ยินดีและพร้อมทำงานในทุกตำแหน่ง แม้ว่าความประสงค์ส่วนตัวจะไม่เคยหวังไว้ในเรื่องนี้ อีกทั้งอายุของตนก็มากพอสมควร แต่ยอมรับว่า หากไม่มีชื่อตนเป็นแคนดิเดตก็ไม่เสียใจ และรู้สึกสบายใจเสียกว่าด้วยซ้ำ “เคยเสนอต่อพรรคไปแล้ว ว่าหากจะหาคนที่เหมาะสมเข้ามาเป็นแคนดิเดตนายกฯ รายชื่อที่ 3 ควรจะเป็นคนที่ประชาชนต้องการ แต่ผมอยู่การเมือง ก็ต้องพร้อม ส่วนจะทำได้ดีแค่ไหนนั้น คนที่จะพิจารณา คงไม่ใช่ผม” นายชัยเกษม ระบุ ส่วนที่มีหลายฝ่ายมองแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทยมีความสามารถหลายด้านนั้น นายชัยเกษม กล่าวว่า ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ เพราะพรรคเพื่อไทยมีทีมเวิร์คที่ดี และพรรคได้พิจารณาและมั่นใจมาอย่างดีแล้วในการคัดเลือกผู้ที่มาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในนามของพรรค “สิ่งสำคัญคือทั้ง 3 คน ได้ผ่านการพิจารณาแล้วว่าเป็นคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต เชื่อว่าทุกคนมีความฉลาด บริหารได้ทุกคนอย่างแน่นอน ถ้าท่านมั่นใจในพรรคเพื่อไทย ก็ต้องมั่นใจในคนที่พรรคเพื่อไทยเลือกด้วย” นายชัยเกษม กล่าว พร้อมย้ำว่า พรรคเพื่อไทยทำงานเป็นทีม และนายกรัฐมนตรีก็ไม่ใช่จะสั่งการได้ทุกอย่าง “เราไม่ใช่นายกฯ ที่มาจากการปฏิวัติ ทุบโต๊ะทำอะไรก็ได้ เราเป็นนายกฯ ที่มาจากประชาชน ฟังเสียงประชาชน […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: เพื่อไทย เตรียมร่างรัฐธรรมนูญใหม่หากได้เป็นรัฐบาล : อินโฟเควสท์นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการด้านประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม และความเสมอภาคเท่าเทียมฯ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการด้านประชาธิปไตยฯ ครั้งแรกในวันนี้มีมติใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.หากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาลจะเร่งดำเนินการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะมีมติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยให้มีการทำประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนก่อน 2.จะฟื้นฟูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อีกครั้งด้วยการบรรจุเรื่องนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย หลังจากศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เคยบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 เมื่อถูกรัฐประหาร ไม่มีการบรรจุเรื่องนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อมาอีกเลย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันในสิทธิเสรีภาพและการใช้ชีวิตของประชาชนตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติ หากเรื่องใดที่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต้องได้รับการแก้ไข ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถือเป็นเรื่องใหญ่ของพรรคเพื่อไทย เพราะถือเป็นหลักประกันให้กับพี่น้องประชาชนว่า บุคคลใดจะละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นไม่ได้ 3.ศึกษาโครงสร้างที่ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียม เพราะขณะนี้ความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องใหญ่ในทางกฎหมาย และในทางปฏิบัติ ความเหลื่อมล้ำเป็นหนึ่งในหลักนิติธรรม (Rule of law) รวมถึงการเลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่พรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องมีการยกเลิก แก้ไข ปรับปรุง อย่างเร่งด่วน 4.จะปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ ป.วิ.อาญาฯ เพื่อให้เป็นหลักประกันประชาชนในสิทธิเสรีภาพ โดยสิทธิการประกันตัวต้องเป็นหลัก การไม่ให้ประกันตัวต้องเป็นข้อยกเว้นที่เขียนไว้โดยชัดเจนว่าไม่ให้ประกันตัวในเรื่องใดบ้าง ควรละเว้นการใช้ดุลยพินิจที่กว้างขวาง โดยเราจะหลีกเลี่ยงการเขียนกฎหมายที่ตีความได้กว้างขวาง เพราะที่ผ่านมาประชาชนต้องเผชิญกับการถูกคุมขังในศาลโดยไม่ได้รับการประกัน จากการใช้เหตุผล […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: ไทยสร้างไทย ส่ง'สุดารัตน์-สุพันธุ์-ศิธา' ลงแคนดิเดทนายกฯ-ปรับทัพสู้ศึกเลือกตั้ง : อินโฟเควสท์ที่ประชุมพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) มีมติให้คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, นายสุพันธุ์ มงคลสุธี และ น.ต.ศิธา ทิวารี เป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ มีการปรับปรับเพิ่มเติมและทดแทนกรรมการบริหารพรรค ดังนี้ 1) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ตำแหน่งเลขาธิการพรรค แทน น.ต.ศิธา ทิวารี ที่จะเป็นตัวแทนของพรรคในการลงพื้นที่หาเสียงช่วงเลือกตั้งในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี 2) นายอุดมเดช รัตนเสถียร, นายสุธา ชันแสง, น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ, นายดล เหตระกูล, นายธวัชชัย สุทธิบงกช ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค 3) นายณรงค์ รุ่งธนวงศ์ ตำแหน่งเหรัญญิกพรรค 4) นายประดิษฐ์ วงศ์วิลัย ตำแหน่งนายทะเบียนพรรค 5) นายศุชัยวุธ ชาวสวนกล้วย และ นายนายสุจินต์ พิทักษ์ ตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31 มี.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66: ฝ่ายค้านร้อง กกต.แก้วิธีลงคะแนนเลือกตั้งต่างแดน : อินโฟเควสท์4 พรรคร่วมฝ่ายค้าน พรรคเสรีรวมไทย (สรท.) พรรคก้าวไกล (ก.ก.)พรรคประชาชาติ (ปชช.) และ พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ร่วมกันยื่นคำร้องต่อประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้แก้ไขวิธีการลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในบางประเทศ โดยขอให้ กกต.ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแก้ไขใน 5 เรื่อง 1.ขอให้ประสานสถานทูตและสถานกงสุลทุกแห่งใช้วิธีการเลือกตั้งทางไปรษณีย์เป็นหลัก 2.การจัดเลือกตั้งที่สถานทูตหรือหน่วยเคลื่อนที่ให้จัดในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 3.ขอให้ปรับเปลี่ยนกำหนดการส่งกลับบัตรเลือกตั้งมายังสถานทูตให้มีระยะเวลาที่ไม่เร่งรับเกินไป เช่น ขยายไปถึงวันที่ 4 พ.ค.66 เพราะสถานทูตยังมีเวลาอีก 10 วันที่จะส่งบัตรกลับประเทศไทยได้ 4.ขอให้สถานทูตที่มีความพร้อมจัดให้มีการนับคะแนนได้ เพราะกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.ฉบับใหม่เปิดช่องไว้ ซึ่งก็จะแก้ไขปัญหาบัตรส่งกลับประเทศไทยไม่ทันเวลาได้ด้วย 5.ให้นำรายละเอียดการเลือกตั้งของคนไทยในต่างประเทศทั้งหมดเผยแพร่ในเว็บไซต์เพื่อให้ตรวจสอบได้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนและนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย กล่าวว่า การไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กฎหมายกำหนดไว้ 3 รูปแบบ 1.ใช้สิทธิที่สถานทูต 2.หน่วยเลือกตั้งเคลื่อนที่ และ 3.ไปรษณีย์ ซึ่งรูปแบบที่ประชาชนใช้สิทธิมากที่สุดคือทางไปรษณีย์ น้อยที่สุดคือสถานทูต แต่ปัญหาขณะนี้คือสถานทูตหลายๆ ประเทศมีการออกประกาศยกเลิกการเลือกตั้งทางไปรษณีย์ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ จอร์แดน อียิปต์ […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66:เลขาฯ กกต.แจงใช้บัตรเลือกตั้งแบบมาตราฐานเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา : อินโฟเควสท์นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว ชี้แจงเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข (เบอร์ )เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น โดยรูปแบบบัตรเลือกตั้งนับแต่มีการเลือกตั้งในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบบัตรที่ใช้เลือกตั้ง อยู่ 3 ประเภท คือ บัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ บัตรที่มีเฉพาะหมายเลข(เบอร์)ผู้สมัคร หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบัตรโหลจะไม่มีรายชื่อผู้สมัครแต่อย่างใด ทุกการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทยใช้บัตรเลือกตั้งแบบนี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่มีเฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้งก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือมีการเลือกตั้งแบบบัญชีราบชื่อ หลังปี 2540 ก็ตาม หมายความว่า ไม่เคยมีชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้งแต่อย่างใด ส่วนรูปแบบบัตรมาตราฐานแบบบัญชีรายชื่อคือ บัตรที่มีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญญลักษณ์หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง เริ่มใช้บัตรเลือกตั้งรูปแบบนี้นับแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 เป็นต้นมา ทุกการเลือกตั้งก็จะใช้บัตรเลือกตั้งนี้มาตลอด และบัตรเลือกตั้งแบบเฉพาะ เกิดขึ้นใน ปี 2562 เพื่อรองรับระบบเลือกตั้งแบบคะแนนไม่ตกน้ำตามหลักการของรัฐธรรมนูญ […]
อ่านเพิ่มเติม »
เลือกตั้ง'66:'นฤมล'ติวเข้มผู้สมัครทุกเขตของพปชร.แสดงบัญชีรายจ่ายในการหาเสียง : อินโฟเควสท์นางสาวนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมฝึกอบรม ว่าที่ผู้สมัครและตัวแทนว่าที่ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 ที่พรรคพลังประชารัฐ เพื่อให้ดำเนินการจัดทำบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประจำปี 2566 ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ในเรื่อง กำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง โดยมีนายวรวงศ์ ระฆังทอง นายกสมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากรแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรให้ความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมอบรมครั้งนี้ นางสาวนฤมล กล่าวว่า พรรคมีความเป็นห่วงใยในว่าที่ผู้สมัครของพรรคทุกคน ในเรื่องข้อปฎิบัติ และระเบียบกกต. เนื่องจาก การจัดการเลือกตั้งแต่ละปีมีความแตกต่างกันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2554 ปี2562 และปี 2566 แต่ละปีมีระเบียบ การแสดงบัญชีรายจ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงกฎระเบียบ ไม่เฉพาะเรื่องการเงิน รวมถึงวิธีการรณรงค์หาเสียงที่เปลี่ยนไป ดังนั้นสำคัญอย่างยิ่ง ว่าที่ผู้สมัคร 400 เขต ต้องมีความเข้าใจในระเบียบ และวิธีปฏิบัติและการลงบัญชีให้ถูกต้อง เพื่อลดช่องว่างการถูกร้องเรียนจากการเลือกตั้ง เพราะว่าที่ผู้สมัครส่วนใหญ่กว่า300 คนเป็นว่าที่ผู้สมัครหน้าใหม่ ไม่เคยลงรับเลือกตั้งในสนามใหญ่ จำเป็นต้องให้ความรู้และความช่วยเหลือ เพื่อการเตรียมความพร้อมการเข้าไปทำหน้าที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ในสภาฯได้อย่างสมบูรณ์ ” พรรคพร้อมให้การสนับสนุนทุกเรื่องอย่างเต็มที่ หากมีข้อข้องใจ พร้อมให้คำปรึกษาในการจัดทำบัญชี […]
อ่านเพิ่มเติม »