สธ.ชี้ สงกรานต์ ปีนี้รุนแรงบาดเจ็บ-ตายเพิ่มขึ้นจากเมาแล้วขับ-ไม่คาดเบลท์-ไม่สวมหมวกนิรภัย อุบัติเหตุ อินโฟเควสท์
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผย อุบัติเหตุช่วง “สงกรานต์” ปีนี้ มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น หลังพบบาดเจ็บ 17,775 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 19% เสียชีวิต 232 ราย เพิ่มขึ้น 26.81% นอนรพ. 3,814 ราย เพิ่มขึ้น 81% ห่วงเจ็บตายจากการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเพิ่มขึ้นถึง 91% เตือนขากลับ ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ สวมหมวกนิรภัย คาดเข็มขัดนิรภัย ปฏิบัติตามกฎจราจร ง่วงต้องพัก ลดเสี่ยงอุบัติเหตุรุนแรง
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้รวบรวมข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 11 – 16 เมษายน 2566 ช่วงเวลา 08.00 น. พบว่า มีผู้บาดเจ็บสะสม 17,775 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 คิดเป็น 19.26% มีผู้เสียชีวิตสะสม 232 ราย ลดลงจากปีก่อน 26.81% ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสะสม 3,814 ราย เพิ่มขึ้น 81.
“ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ยังคงเป็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งพบว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2565 คิดเป็น 10.77% 91.95% และ 31.51% ตามลำดับ ซึ่งการดื่มแล้วขับทำให้ขาดสติ ความสามารถในการขับขี่ลดลง จึงเน้นย้ำเรื่องขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ ส่วนการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยและไม่สวมหมวกนิรภัย ยิ่งส่งผลให้การบาดเจ็บมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น”นพ.
ส่วนข้อกังวลเรื่องโควิด 19 ที่อาจเพิ่มขึ้น ขอให้เฝ้าสังเกตอาการตนเอง 7 วัน หากมีไข้ ไอ น้ำมูก หรืออาการระบบทางเดินหายใจ ให้ตรวจ ATK ระหว่างนี้ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
สธ. วิจัยนวัตกรรมเฝ้าระวังเชื้อไวรัสก่อโรคในยุงลาย ใช้ประเมินทางระบาดวิทยา : อินโฟเควสท์นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิระดับ 11) ในฐานะประธานคณะกรรมการ MIU (MOPH Intelligence Unit) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โรคติดต่อนำโดยยุงลาย ทั้งโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 (สคร.) จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้วิจัยนวัตกรรมการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสเดงกี ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกา ในยุงลายบ้านและยุงลายสวน โดยศึกษากึ่งทดลองในกลุ่มตัวอย่างอาคารบ้านเรือน และกลุ่มตัวอย่างยุงลายเกาะพักในอาคารบ้านเรือน 6 พื้นที่เสี่ยงสูงต่อโรคไข้เลือดออก ในตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต และตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา อย่างน้อยพื้นที่ละ 200 หลัง บันทึกตำแหน่งโดยใช้เครื่องวัดพิกัด GPS และเก็บตัวอย่าง pool ของยุงลายพื้นที่ละ 100 pools ด้วยเครื่องดูดยุง เพื่อทำการสกัด RNA นพ.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า ผลการศึกษาพบการติดเชื้อร่วมระหว่างเชื้อไวรัสเดงกี […]
อ่านเพิ่มเติม »
สธ.คาดโควิด-19 หลังสงกรานต์ เห็นตัวเลขเพิ่มแน่นอน แนะ สังเกตอาการ 7 วัน แยกตัวจากผู้สูงอายุสธ.คาดโควิด-19 หลังสงกรานต์ เห็นตัวเลขเพิ่มแน่นอน แนะ สังเกตอาการ 7 วัน แยกตัวจากผู้สูงอายุ สงกรานต์66 โควิด19
อ่านเพิ่มเติม »
สธ.คาดหลังสงกรานต์ผู้ป่วยโควิดเพิ่ม มั่นใจเตียง-ยา มีเพียงพอ แนะสังเกตอาการ 7 วันสธ.คาดหลังสงกรานต์ผู้ป่วยโควิดเพิ่ม มั่นใจเตียง-ยา มีเพียงพอ แนะสังเกตอาการ 7 วัน เลี่ยงใกล้ชิดผู้สูงอายุ ส่วนเชื้อกลายพันธุ์ XBB.1.16 ซึ่งพบเพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง โควิดหลังสงกรานต์…
อ่านเพิ่มเติม »
สธ.คาด ผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มหลังสงกรานต์ แต่ไม่มีอาการหนักกระทรวงสาธารณสุข ประเมินแนวโน้มตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดคาดหลังสงกรานต์จะเพิ่มสูงขึ้น โดย นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโร..
อ่านเพิ่มเติม »
สธ. คาดหลังสงกรานต์ จะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงกว่าช่วงปีใหม่กรมควบคุมโรค คาด หลังสงกรานต์จะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น และจำนวนอาจมากกว่าช่วงปีใหม่ เนื่องจากประชาชนทำกิจกรรมร่วมกัน และเดินทางเพิ่มขึ้น แนะหลังวันหยุดให้สังเกตอาการอย่างน้อย 7 วัน เลี่ยงสัมผัสอยู่ใกล้ชิดผู้สูงอายุ-ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
อ่านเพิ่มเติม »