รัฐบาลรายงาน กยศ.ปล่อยกู้ไปแล้ว 6 ล้านกว่าคน รวม 7 แสนล้าน หากแก้ กม.ไม่คิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ รายได้หาย 6 พันล้านต่อปี ขณะที่ค่าบริหารจัดการตกปีละ 2 พันล้าน เผย 25 อันดับสถานศึกษาชำระหนี้ดีที่สุด
วันนี้ นางสาวรัชดา ธนาดิเรก เปิดเผยถึงการดำเนินการปล่อยกู้ ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งปัจจุบันกองทุนได้ให้โอกาสนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศได้กู้ยืมไปแล้ว 6,284,005 ราย เป็นเงินให้กู้ยืมกว่า 702,309 ล้านบาท ประกอบด้วย ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษา/ปลอดหนี้ 986,668 ราย ผู้กู้ที่ชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว 1,669,129 ราย ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ 3,559,421 ราย และผู้กู้เสียชีวิต/ทุพพลภาพ 68,787...
สำหรับปีการศึกษา 2565 มีนักเรียนนักศึกษาได้รับอนุมัติให้กู้ยืม 638,132 ราย รวมเป็นเงินให้กู้ยืมกว่า 38,879 ล้านบาท ส่วนการชำระหนี้คืนในปีงบประมาณ 2565 กองทุนได้รับชำระเงินคืนแล้วกว่า 27,844 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมี 25 อันดับ สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่ชำระหนี้ดีที่สุด โดยมีมหาวิทยาลัยพะเยา ชำระหนี้ดีที่สุดเป็นอันดับแรก และมีมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ คือ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ส่วนลำดับมหาวิทยาลัยที่มีอัตราการชำระหนี้ดีที่สุด มีดังนี้
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
“กยศ.”คาดสูญ 6 พันล้าน/ปี “ยกเลิกดอกเบี้ย-ค่าปรับ”นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)เปิดเผยกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแก้กฎหมาย กยศ.โดยไม่คิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับว่า คณะกรรมการกองทุนฯจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อสถานะกองทุนและการบริหารจัดการเรื่องการปล่อยกู้ให้กับนักเรียนในระยะต่อไป แต่ที่กองทุนกังวลคือเป็นห่วงว่าผู้กู้จะไม่มีวินัยในการชำระหนี้หากไม่มีการคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ผู้กู้จะชำระหนี้ในส่วนอื่นก่อนจะชำระหนี้ กยศ.
อ่านเพิ่มเติม »
กยศ.สูญ 6 พันล้าน/ปี หากยกเลิกดอกเบี้ย-ค่าปรับปัจจุบัน กองทุนได้ให้โอกาสแก่นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 6,284,005 ราย เป็นเงินให้กู้ยืมกว่า 702,309 ล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม »
กยศ. ห่วงยกเลิกดอกเบี้ย-เบี้ยปรับ เสียรายได้ราว 6 พันลบ. กระทบความสามารถปล่อยกู้ : อินโฟเควสท์นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แสดงความกังวลหากในท้ายสุดแล้วร่าง พ.ร.บ.เงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (พ.ร.บ.กยศ.) จะต้องยกเลิกการคิดดอกเบี้ย และเบี้ยปรับ เนื่องจากจะมีผลต่อการดำเนินงานของ กยศ. ที่มีสถานะเป็นกองทุนหมุนเวียน ซึ่งปัจจุบัน กยศ. ไม่ได้ขอรับเงินงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนมาตั้งแต่ปี 2562 แล้ว โดยในแต่ละปี กยศ. จะมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ ประมาณกว่า 3 พันล้านบาท และเบี้ยปรับอีกประมาณ 3 พันล้านบาท ดังนั้น หากจะยกเลิกการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ และไม่มีเบี้ยปรับ อาจจะทำให้รายรับในส่วนนี้หายไปปีละ 6 พันล้านบาท ส่งผลกระทบต่อการปล่อยกู้ให้กับนักเรียน นักศึกษาในระยะต่อไปลดลงได้ จากเดิมที่เคยให้กู้ได้ปีละประมาณ 4 หมื่นล้านบาท สามารถช่วยเหลือได้ปีละกว่า 6 แสนคน ก็อาจจะเหลือเงินให้กู้ได้ 2-3 หมื่นล้านบาท ทำให้แต่ละมหาวิทยาลัย จะต้องไปปรับลดโควตาจำนวนนักศึกษาที่จะได้รับสิทธิการกู้เงิน กยศ.ลง หรือถ้าหาก กยศ.ต้องการจะปล่อยกู้ต่อปีในจำนวนเงินเท่าเดิม ก็จำเป็นต้องกลับไปขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งก็คือเงินภาษีของประชาชนนั่นเอง “หากในกรณีกองทุนฯ ไม่มีการเก็บดอกเบี้ย และไม่มีเบี้ยปรับ เงินที่กองทุนฯ ปล่อยกู้ออกไป …
อ่านเพิ่มเติม »
'ทวี' กางกฎหมายแจงปัญหาหนี้ กยศ. 'เบี้ยวยาก'อีกหนึ่งประเด็นคาใจ กับข้อเท็จจริงที่น้อยคนนักจะรู้เกี่ยวกับ “หนี้ กยศ.” ก็คืออำนาจการติดตามหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ชำระเงินคืนกองทุน กยศ.ตามกฎหมายที่แก้ไขในยุค คสช. เปรียบเทียบกันว่ามาตรการเข้มข้นยิ่งกว่าสถาบันการเงินทุกแห่ง หรืออาจจะยิ่งกว่าหนี้นอกระบบเสียอีก
อ่านเพิ่มเติม »
กยศ. เผยรายชื่อสถานศึกษาชำระหนี้ดีที่สุด 25 อันดับแรกของประเทศกยศ. เผยรายชื่อสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอัตราการชำระหนี้ดีที่สุด 25 อันดับแรกของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยพะเยามีอัตราการชำระหนี้ดีที่สุดเป็นอันดับแรก อ่านต่อ: กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม »
กยศ. เปิดรายชื่อ 25 สถานศึกษา ชำระหนี้ดีที่สุดของประเทศ!กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เผยรายชื่อสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอัตราการชำระหนี้ดีที่สุด 25 อันดับแรกของประเทศ โดย มหาวิทยาลัยพะเยา มีอัตราการชำระหนี้ดีที่สุดเป็นอันด
อ่านเพิ่มเติม »