รัฐบาล ยันเดินหน้าฉีดวัคซีนตามแผนแม้ปรับโควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง วัคซีนโควิด อินโฟเควสท์
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศลดระดับโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 เป็นต้นไป รัฐบาลได้จัดเตรียมแนวทางบริหารจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งการเฝ้าระวัง การรักษาโรค รวมถึงแผนการบริหารจัดการวัคซีนไว้รองรับอย่างชัดเจน
ในส่วนของการให้วัคซีนป้องกันโรคนั้นยังคงดำเนินไปตามเป้าหมายเดิม คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปสามารถเข้ารับบริการวัคซีนได้ตามสถานพยาบาลโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งผู้ที่ยังไม่เคยรับวัคซีนและผู้รับเข็มกระตุ้น เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณวัคซีนมีเพียงพอกับความต้องการ ทั้งวัคซีนคงคลังที่สามารถจัดสรรได้ทันที และวัคซีนที่ทำสัญญาไว้แล้วรอการส่งมอบจากผู้ผลิตในระยะต่อไป
สำหรับโครงสร้างการดำเนินงานของการบริหารจัดการวัคซีนในระยะที่โควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จะมี 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.ให้คำแนะนำการใช้วัคซีน จะดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ 2.การเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน ดำเนินการโดยคณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ซึ่ง 2 ส่วนแรกนี้ดำเนินงานเช่นเดียวกับช่วงที่ยังคงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และ 3.
โดยแผนการให้วัคซีนประชาชนในเดือน ต.ค.65 มีทั้งสิ้น 7 ล้านโดส เป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ต้องการรับเข็ม1-2 หรือ เข็มกระตุ้น จำนวน 5 ล้านโดส 2.ผู้ที่อายุ 12-17 ปี ที่ต้องการเข็ม1-2 หรือเข็มกระตุ้น จำนวน 5 แสนโดส 3.เด็กอายุ 5-11 ปี ที่ต้องการเข็ม 1-2 หรือเข็มกระตุ้น จำนวน 1 ล้านโดส 3)เด็กอายุ 6 เดือน-4 ปี ที่ต้องการรับเข็ม 1 จำนวน 5 แสนโดส และ 4.
“วัคซีนไฟเซอร์ฝาสีแดงเข้มสำหรับหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี กระทรวงสาธารณสุขจะได้รับมอบจากผู้ผลิตประมาณกลางเดือน ต.ค. จากนั้นจะกระจายผ่านระบบสถานพยาบาลที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือ กทม.กำหนด นอกจากนี้จะมีการประสานความร่วมมือกับ อปท. กระทรวงมหาดไทย หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริการฉีดให้กับศูนย์เด็กเล็ก โดยดำเนินการภายใต้การกำกับของแพทย์”
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
รัฐบาล จัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มุ่งแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นระบบ : อินโฟเควสท์นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม และเป็นระบบ โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้รายย่อยผ่านการจัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้: มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” โดยการบูรณาการการทำงานร่วมกันของกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ตลอดจนชมรมของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน เพื่ออำนวยความสะดวก ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดกับประชาชน การจัดงานดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก เป็นการเปิดช่องทางการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการชำระเงินและยังไม่ได้รับความช่วยเหลือกับเจ้าหนี้ ผ่านระบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 65 โดยขณะนี้มีสถาบันทางการเงินตอบรับเข้าร่วมงานแล้ว 56 ราย ครอบคลุมหนี้จากสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อรถ จำนำทะเบียนรถ นาโนไฟแนนซ์ รวมถึงสินเชื่อที่อยู่กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ และสินเชื่อทุกประเภทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ส่วนระยะที่สอง เป็นการเพิ่มโครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงินควบคู่กับการสร้างวินัยทางการเงิน รวมถึงสนับสนุนให้ประชาชนที่มีความจำเป็นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันทางการเงินของรัฐ ซึ่งจะจัดงานมหกรรมสัญจร ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ โดยคาดว่าจะจัดระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 – มกราคม …
อ่านเพิ่มเติม »
ศบค. มีมติ ยกเลิก 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' ตั้งแต่ 1 ต.ค.นี้ หลัง คกก.โรคติดต่อฯ ประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง
อ่านเพิ่มเติม »
สิงคโปร์แซงฮ่องกงเป็นฮับการเงินอันดับ 1 ของเอเชีย-อันดับ 3 ของโลก : อินโฟเควสท์สิงคโปร์แซงหน้าฮ่องกงขึ้นเป็นศูนย์กลางการเงินอันดับหนึ่งของเอเชียแล้วในขณะนี้ และผงาดขึ้นเป็นศูนย์กลางการเงินอันดับ 3 ของโลก Global Financial Centres Index (GFCI) จัดอันดับให้มหานครนิวยอร์กของสหรัฐเป็นศูนย์กลางการเงินอันดับ 1 ของโลก รองลงมาได้แก่กรุงลอนดอนของอังกฤษอยู่ที่อันดับ 2 ส่วนสิงคโปร์ขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 3 และฮ่องกงหล่นลงไปอยู่ที่อันดับ 4 ของโลก เนื่องจากผลกระทบของการใช้มาตรการเข้มงวดในการควบคุมโรคโควิด-19 และปัญหาการย้ายถิ่นฐานของบุคลากรที่มีทักษะสูง ขณะที่เมืองซานฟรานซิสโกของสหรัฐขยับขึ้นมาอยู่ใน 5 อันดับเมืองที่เป็นศูนย์กลางการเงินของโลก ที่ผ่านมานั้น ฮ่องกงเผชิญกับความยากลำบากในการพลิกฟื้นสถานะของการเป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลก เนื่องจากฮ่องกงจำเป็นต้องดำเนินการตามแนวทางของจีนในการควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้ลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำที่สุด สวนทางกับประเทศอื่น ๆ ในโลกที่เริ่มเปิดพรมแดน สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า สิงคโปร์มีแนวโน้มที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากกว่า 4 ล้านคนในปี 2565 นอกจากนี้ การที่สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดงานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการประชุม Milken Institute Asia Summit, การประชุม Forbes Global CEO Conference และการแข่งขัน Singapore Grand Prix จะช่วยยกสถานะของสิงคโปร์ให้เป็นจุดหมายปลายทางในการเดินทาง ส่วนเมืองเซี่ยงไฮ้ …
อ่านเพิ่มเติม »
ตลาดหุ้นยุโรปเปิดลบ หลังแบงก์ชาติสำคัญแห่ขึ้นดอกเบี้ย : อินโฟเควสท์หุ้นยุโรปเปิดตลาดลบเล็กน้อยในวันนี้ หลังจากที่ธนาคารกลางสำคัญหลายแห่งแห่ขึ้นดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ดัชนี STOXX 600 เปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 399.69 จุด ลดลง 0.07 จุด หรือ -0.02% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีเปิดวันนี้ที่ 12,506.64 จุด ลดลง 24.99 จุด หรือ -0.20% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสเปิดวันนี้ที่ 5,906.18 จุด ลดลง 12.32 จุด หรือ -0.21% เฟดมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ติตต่อกันเป็นครั้งที่ 3 ในการประชุมเมื่อวันพุธ (21 ก.ย.) ขณะที่ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์สิ้นสุดยุคอัตราดอกเบี้ยติดลบด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 0.50% จากเดิมอยู่ที่ -0.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 15 ปี หุ้นกลุ่มธนาคารในยุโรปร่วง …
อ่านเพิ่มเติม »
สภาพัฒน์ชี้การพัฒนาปท.ให้สำเร็จตามแผนฯ 13 ต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน : อินโฟเควสท์นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ชี้แจงสาระสำคัญของร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแนวทางการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ ในงานประชุมประจำปี 2565 เรื่อง “พลิกโฉมประเทศไทย ก้าวไปด้วยกัน” ว่า ภายใต้ความท้าทายของการพัฒนาประเทศที่ต้องเผชิญในระยะต่อไป ทั้งในเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล ความร่วมมือในการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับนานาชาติ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นสังคมสูงวัย ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน โรคอุบัติใหม่และภัยโรคระบาด ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาบนพื้นฐานของหลักการแนวคิดที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, แนวคิด Resilience, เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์หลักของแผนพัฒนาฯ คือ การพลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน “เงื่อนไขต่างๆ ที่จะต้องเผชิญก่อนไปถึงจุดหมาย เป็นได้ทั้งโอกาส และอุปสรรค” นายดนุชา กล่าว ทั้งนี้ สภาพัฒน์ ได้ถ่ายทอดวัตถุประสงค์ออกมาเป็นเป้าหมายหลัก 5 ประการ คือ 1.การปรับโครงสร้างสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม …
อ่านเพิ่มเติม »