ที่ปรึกษาแบงก์ชาติจีนเชื่อ GDP จีนปี 66 ขยายตัวกว่า 5% PBOC ธนาคารกลางจีน เศรษฐกิจจีน อินโฟเควสท์
นายหวาง อี้หมิง สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางจีน เปิดเผยว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มจะขยายตัวมากกว่า 5% ในปี 2566 หากการหยุดชะงักจากโควิด-19 สิ้นสุดลง และรัฐบาลจีนออกนโยบายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นและการบริโภค
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การประเมินการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากนายหวาง เป็นการคาดการณ์ล่าสุดจากนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของจีน ขณะที่รัฐบาลพยายามช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นจากการชะลอตัวในปีนี้ “จีนมีสภาวะที่จะสามารถทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างน้อย 5% ในปี 2566” นายหวางกล่าวโดยอ้างแรงหนุนจากนโยบายล่าสุดของจีนเพื่อแก้ไขการควบคุมโควิด-19 และภาวะอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว พร้อมระบุด้วยว่า จำเป็นต้องมีเป้าหมายเชิงรุกมากกว่าเดิมเพื่อชี้นำความคาดหวังและให้ความสำคัญกับการทำให้เศรษฐกิจเติบโตตามเป้า
ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จากสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า GDP ของจีนจะขยายตัว 3.3% ในปีนี้ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปี ก่อนจะขยายตัวเกือบ 5% ในปี 2566 ขณะที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญระบุว่า มาตรการล่าสุดที่จะช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์จีนอาจเป็นตัวพลิกสถานการณ์ของตลาดได้ ขณะที่บางส่วนเตือนว่ายังคงมีความเสี่ยงอยู่
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
วิจัยกสิกรฯ คาดปี 66 ยอดเงินฝากโต 4.0-5.5% ตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น-ศก.ฟื้นตัว : อินโฟเควสท์ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตั้งแต่รอบการประชุมเดือนส.ค. และก.ย. 65 ครั้งละ 0.25% รวมเป็น 0.50% จนทำให้ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยืนอยู่ที่ 1.00% นั้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ ยังไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยตามในทันทีในระยะแรกๆ อย่างไรก็ดี ในเดือนต.ค. 65 การปรับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์เริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ในระยะข้างหน้า แม้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เงินฝากจะไม่ได้เติบโตในอัตราเร่ง แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากน่าจะปรับสูงขึ้นในลักษณะที่ชันขึ้นอีก โดยมาจากแรงส่งทั้งการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ (ก่อนกำหนดการปรับเพิ่มอัตรานำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ อีก 0.23% ในช่วงต้นปี 66) ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับขึ้นมากกว่า 0.50% ภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 66 ส่วนประมาณการเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ ณ สิ้นปี 65 นี้ คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.5-3.7% (เทียบกับ 4.0% ณ สิ้นปี 64 และ 3.6% ณ …
อ่านเพิ่มเติม »
คกก.โรคติดต่อฯ เห็นชอบแนวทางจัดหาวัคซีนโควิดปี 66 เข็มกระตุ้น 1-2 โดส/คน : อินโฟเควสท์นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 9/2565 กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ของประเทศไทยช่วงนี้ มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นบางพื้นที่ ส่วนผู้ป่วยอาการหนักและผู้เสียชีวิตนั้น มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ไม่รับวัคซีนโควิด-19 หรือไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมยา เวชภัณฑ์ วัคซีน รวมทั้งภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) ไว้อย่างเพียงพอเพื่อรองรับการระบาดที่กำลังเพิ่มขึ้น โดยสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ มีความพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 รวมถึงคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ได้เตรียมแผนปฏิบัติการควบคุมโรคโควิด-19 รองรับการเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังให้มีความพร้อมทุกจังหวัดแล้ว “ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ส่งหนังสือชื่นชมประเทศไทย ต่อการดำเนินงานในช่วงสถานการณ์โควิด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม” นายอนุทิน กล่าว นายอนุทิน กล่าวว่า ที่ประชุมในวันนี้ได้พิจารณาและเห็นชอบแนวทางการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ปี 66 โดยมีกรอบในการจัดหาและบริหารจัดการให้มีวัคซีนเข็มกระตุ้นสำหรับกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และสตรีมีครรภ์) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้า และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รวมถึงประชาชนทั่วไป ตามความสมัครใจ จำนวน …
อ่านเพิ่มเติม »
SCB EIC ชี้ศก.ไทยปี 66 ส่อแววไม่สดใสมาก ผลพวงศก.โลกชะลอ-ความไม่แน่นอนสูง : อินโฟเควสท์ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) คาดปี 66 เศรษฐกิจโลกเผชิญความไม่แน่นอนสูงขึ้น ทั้งความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ และภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง เป็นแรงกดดันสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ผ่านการส่งออกที่จะชะลอตัวลงมากจากที่เคยเติบโตได้ดีในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดจีนที่กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งจากปัจจัยภายนอกประเทศจากการส่งออกที่ชะลอลง และปัจจัยภายในประเทศจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ซบเซาและฟื้นตัวช้า รวมถึงตลาดสำคัญทั้งยุโรปและสหรัฐฯ ที่เศรษฐกิจอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยตั้งแต่ปลายปีนี้และกลางปีหน้า ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่งผลต่อเนื่องทำให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนภาคเอกชน อาจขยายตัวชะลอลงเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนที่พึ่งพาตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ด้านแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐจะมีน้อยลง เนื่องจากข้อจำกัดทางการคลังทำให้รัฐบาลระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 66 ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ปรับสูงขึ้น และความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เศรษฐกิจไทยจะได้ภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อน ที่ทำให้เศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้ แต่ยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงรอบด้าน EIC มองว่า เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงต่ำจากปัจจัยภายนอกประเทศเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป โดยเฉพาะในปี 66 ได้แก่ 1. เศรษฐกิจโลกที่เผชิญความไม่แน่นอนสูงขึ้น โดยเฉพาะด้านนโยบายเศรษฐกิจและความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าและบริการของไทย 2. การใช้นโยบาย Zero covid ของจีนที่อาจยาวนานกว่าคาด ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าไทยได้น้อยลงและช้าลง รวมถึงอาจทำให้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลกคลี่คลายได้ช้าลง 3. ภาวะเงินเฟ้อในประเทศที่อาจยาวนานกว่าคาดจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง 4. ผลของแผลเป็นเศรษฐกิจที่ถูกซ้ำเติมจากผลกระทบค่าครองชีพที่สูงขึ้น …
อ่านเพิ่มเติม »
KTB คาดศก.ไทยปี 66 โตเร่งขึ้นจากแรงหนุนบริโภค-ลงทุนเอกชน ท่องเที่ยวฟื้น : อินโฟเควสท์Krungthai COMPASS ระบุว่า สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 ว่าจะขยายตัวได้ในช่วง 3.0-4.0% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (2) การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ (3) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคภายในประเทศ และ (4) แนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคการเกษตร ขณะที่เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก เงื่อนไขทางการเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจจากภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงจาการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ มุมมองของสภาพัฒน์ต่อเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะขยายตัวเร่งขึ้นนั้น อยู่ในทิศทางเดียวกับสถาบันทางเศรษฐกิจหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) (คาดว่าเติบโต 3.7%) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) (คาดว่าเติบโต 3.8%) รวมทั้งสอดคล้องกับมุมมองของ Krungthai COMPASS ซึ่งประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 66 จะขยายตัวเร่งขึ้นเมื่อเทียบจากปี 2565 จากแรงหนุนของการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งยังจะได้รับปัจจัยหนุนจากการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว โดย Krungthai COMPASS คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 66 จะขยายตัวขึ้นเป็น 21.4 ล้านคน จากปีนี้ที่อาจจะแตะ …
อ่านเพิ่มเติม »
DTAC -TRUE ร่วงแรงหลังยกเลิกเทนเดอร์ฯแต่ยืนยันเดินหน้าควบรวมให้สำเร็จต้นปี 66 : อินโฟเควสท์หุ้น DTAC และ TRUE กอดคอร่วงแรง หลังจากทั้งสองบริษัทประกาศยกเลิกขั้นตอนการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ด้วยความสมัครใจ (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) แม้ว่าจะยังเดินหน้าขั้นตอนการควบรวมกิจการตามแผน เมื่อเวลา 14.42 น.หุ้น DTAC ร่วงลง 6.70% มาที่ 41.75 บาท หรือลดลง 3.00 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 726.06 ล้านบาท ขณะที่ TRUE ลดลง 3.21% มาที่ 4.82 บาท หรือลดลง 0.16 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 636.62 ล้านบาท บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) เปิดเผยว่า บริษัท ซิทริน โกลบอล จำกัด และ Citrine Venture SG Pte Ltd …
อ่านเพิ่มเติม »
ซิตี้แบงก์ มองศก.ไทยปี 66 ทยอยฟื้นตัวเชิงบวก คาดอัตราเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว : อินโฟเควสท์น.ส.นลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวถึงมุมมองต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยว่า ในปี 2566 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย ซึ่งซิตี้แบงก์ มองว่า GDP ของไทยจะอยู่ที่ราว 4.3% เทียบกับการคาดการณ์ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่คาดว่าจะอยู่ 3.8% เป็นไปตามการเติบโตของ GDP ในปี 65 ที่อยู่ราว 3.2% โดยที่ ธปท. ยังคงมองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ซิตี้แบงก์ยังคงคาดการณ์ว่าจะมีการปรับดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งถัดๆ ไป พร้อมมีมุมมองว่าวัฎจักรนี้จะกินระยะเวลาพอสมควร จนกว่าดอกเบี้ยนโยบายจะไปแตะที่ 2.25% ในช่วงไตรมาสที่ 3/66 สืบเนื่องมาจากการที่ ธปท. มีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถทยอยปรับนโยบายการเงินให้กลับสู่ภาวะปกติต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการคาดการณ์เงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ นอกจากนี้ ธปท. ได้คาดการณ์ GDP ปี 66 ล่าสุดอยู่ที่ 3.8% …
อ่านเพิ่มเติม »