SCB EIC ชี้ศก.ไทยปี 66 ส่อแววไม่สดใสมาก ผลพวงศก.โลกชะลอ-ความไม่แน่นอนสูง SCBEIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย อินโฟเควสท์
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดปี 66 เศรษฐกิจโลกเผชิญความไม่แน่นอนสูงขึ้น ทั้งความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ และภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง เป็นแรงกดดันสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ผ่านการส่งออกที่จะชะลอตัวลงมากจากที่เคยเติบโตได้ดีในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดจีนที่กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งจากปัจจัยภายนอกประเทศจากการส่งออกที่ชะลอลง และปัจจัยภายในประเทศจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ซบเซาและฟื้นตัวช้า...
EIC มองว่า เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงต่ำจากปัจจัยภายนอกประเทศเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป โดยเฉพาะในปี 66 ได้แก่ 5. ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้น จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในช่วงต้นปี 66 รวมถึงภาระทางการคลังที่อาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายอุดหนุนต่างๆ ภายหลังการหาเสียงเลือกตั้ง รวมถึงการใช้มาตรการการพยุงค่าครองชีพเป็นวงกว้าง
อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าแม้อาจได้รับอานิสงส์จากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และวัตถุดิบ โดยเฉพาะเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย แต่ในภาพรวมมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงต่อเนื่อง ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อีกทั้งเม็ดเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเต็มจำนวนแล้ว และรอเบิกจ่ายอีกราว 42,000 ล้านบาท
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'โกลด์แมนแซคส์' หั่นคาดการณ์ศก.อินเดียปี 66 หลังแรงหนุนจากการเปิดปท.ลดลง : อินโฟเควสท์โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์ขยายตัวเศรษฐกิจอินเดียในปี 2566 โดยระบุว่าอุปสงค์ผู้บริโภคได้รับแรงกดดันจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น และปัจจัยหนุนจากการที่อินเดียกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งหลังช่วงโควิด-19 นั้น เริ่มลดน้อยลง ทีมนักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ที่นำโดยแอนดรูว์ ทิลตัน รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีแนวโน้มขยายตัว 5.9% ในปี 2566 ลดลงจากคาดการณ์เดิมระดับ 6.9% รายงานระบุว่า “อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มจะชะลอตัวในครึ่งแรกของปี 2566 เนื่องจากแรงหนุนจากการเปิดเศรษฐกิจเริ่มลดน้อยลง และการดำเนินนโยบายคุมเข้มด้านการเงินได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ ส่วนในครึ่งหลังของปีนั้น เศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มขยายตัวรวดเร็วขึ้นตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การส่งออกสุทธิมีแนวโน้มลดลง และวงจรการลงทุนปรับตัวเพิ่มขึ้น” สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า อินเดียซึ่งผ่านพ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และกลับมาทวงตำแหน่งประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ขยายตัวเร็วที่สุดในปีงบการเงินที่สิ้นสุดในเดือนมี.ค.ปีนี้ กำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ตั้งแต่การใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จนถึงปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และการขาดดุลด้านการคลังและการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น ทีมนักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์กล่าวว่า สกุลเงินรูปีเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค แม้จะอ่อนค่าอยู่บ้างเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของอินเดียจะชะลอตัวสู่ระดับ 6.1% ในปี 2566 จากคาดการณ์เดิมที่ 6.8% ในปีนี้ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 พ.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »
วิจัยกสิกรฯ คาดปี 66 ยอดเงินฝากโต 4.0-5.5% ตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น-ศก.ฟื้นตัว : อินโฟเควสท์ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตั้งแต่รอบการประชุมเดือนส.ค. และก.ย. 65 ครั้งละ 0.25% รวมเป็น 0.50% จนทำให้ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยืนอยู่ที่ 1.00% นั้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ ยังไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยตามในทันทีในระยะแรกๆ อย่างไรก็ดี ในเดือนต.ค. 65 การปรับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์เริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ในระยะข้างหน้า แม้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เงินฝากจะไม่ได้เติบโตในอัตราเร่ง แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากน่าจะปรับสูงขึ้นในลักษณะที่ชันขึ้นอีก โดยมาจากแรงส่งทั้งการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ (ก่อนกำหนดการปรับเพิ่มอัตรานำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ อีก 0.23% ในช่วงต้นปี 66) ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับขึ้นมากกว่า 0.50% ภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 66 ส่วนประมาณการเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ ณ สิ้นปี 65 นี้ คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.5-3.7% (เทียบกับ 4.0% ณ สิ้นปี 64 และ 3.6% ณ …
อ่านเพิ่มเติม »
คกก.โรคติดต่อฯ เห็นชอบแนวทางจัดหาวัคซีนโควิดปี 66 เข็มกระตุ้น 1-2 โดส/คน : อินโฟเควสท์นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 9/2565 กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ของประเทศไทยช่วงนี้ มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นบางพื้นที่ ส่วนผู้ป่วยอาการหนักและผู้เสียชีวิตนั้น มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ไม่รับวัคซีนโควิด-19 หรือไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมยา เวชภัณฑ์ วัคซีน รวมทั้งภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) ไว้อย่างเพียงพอเพื่อรองรับการระบาดที่กำลังเพิ่มขึ้น โดยสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ มีความพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 รวมถึงคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ได้เตรียมแผนปฏิบัติการควบคุมโรคโควิด-19 รองรับการเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังให้มีความพร้อมทุกจังหวัดแล้ว “ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ส่งหนังสือชื่นชมประเทศไทย ต่อการดำเนินงานในช่วงสถานการณ์โควิด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม” นายอนุทิน กล่าว นายอนุทิน กล่าวว่า ที่ประชุมในวันนี้ได้พิจารณาและเห็นชอบแนวทางการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ปี 66 โดยมีกรอบในการจัดหาและบริหารจัดการให้มีวัคซีนเข็มกระตุ้นสำหรับกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และสตรีมีครรภ์) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้า และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รวมถึงประชาชนทั่วไป ตามความสมัครใจ จำนวน …
อ่านเพิ่มเติม »
นายกฯ ปลื้ม IMF มองเศรษฐกิจไทยปี 66 โตสวนทางเศรษฐกิจโลก : อินโฟเควสท์น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้รับทราบถึงรายงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประมาณการเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.7%ในปี 66 จาก 2.8 %ในปีนี้ พร้อมคาดว่าการว่างงานของไทยจะอยู่ในอัตราต่ำที่สุดในเอเชียแปซิฟิกที่ 1.0% โดยไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ IMF มองว่าเศรษฐกิจจะยังขยายตัวได้ท่ามกลางการชะลอตัวของทั่วโลกที่เผชิญกับความท้าทายจากภาวะเงินเฟ้อ และต้นทุนการครองชีพที่สูงขึ้น ทั้งนี้ นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการ IMF เยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมเวทีการประชุมผู้นำเอเปค เมื่อวันที่ 19 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่ง IMF เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกเอเปคส่วนใหญ่กำลังชะลอตัวลง และอย่างน้อย 1 ใน 3 ของโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้จีดีพีทั่วโลกในปี 66 จะขยายตัวได้ 2.7% ชะลอลงจาก 3.2% ในปี 65 นายกรัฐมนตรี ยินดีกับผลการประเมินของ IMF และเห็นว่าความชัดเจนของนโยบายรัฐบาลมีผลสำคัญอย่างยิ่งต่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยขององค์กรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนับแต่สามารถจัดการกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ให้อยู่ภายใต้การควบคุมได้ รัฐบาลได้เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเตรียมภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ แรงงานจำนวนมากให้พร้อมรับนักท่องเที่ยว …
อ่านเพิ่มเติม »
TKN พุ่ง 12.56% รับแนวโน้มยอดขาย Q4/65 ฟื้นทั้งใน-ตปท., คาดรายได้ปี 66 โตต่อ : อินโฟเควสท์TKN ราคาพุ่ง 12.56% หรือเพิ่มขึ้น 1.25 บาท มาที่ 11.20 บาท มูลค่าซื้อขาย 389.25 ล้านบาท เมื่อเวลา 11.16 น. จากราคาเปิด 10.00 บาท ราคาสูงสุด 11.70 บาท ราคาต่ำสุด 10.00 บาท น.ส.สุรีย์พร ทีวะสุเวทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินีนเซีย ไซรัส กล่าวว่า ราคาหุ้นของบมจ.เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง (TKN) ที่ปรับตัวขึ้นค่อนข้างมากวันนี้ มองว่ากำไรได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และยอดขายในประเทศและจีนก็เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งน่าจะดีต่อเนื่องไปในไตรมาส 4/65 ทำให้คาดว่ารายได้ทั้งปีนี้น่าจะกลับมาเติบโตได้ไม่น้อยกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับปี 66 TKN เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตเป็นตัวเลขสองหลักเมื่อเทียบกับปีนี้ โดยจะได้ปัจจัยหนุนจากประเทศจีน ที่คาดว่าจะเห็นการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ หรือมีการเปิดประเทศได้ในปีหน้า ส่งผลให้ยอดขายกลับมาดูดีขึ้น และคาดหวังนักท่องเที่ยวจีนกลับเข้ามาในประเทศไทย หนุนยอดขายในประเทศโตมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันต้นทุนต่างๆ ก็เริ่มปรับตัวลง …
อ่านเพิ่มเติม »
จัดพอร์ตทำกำไรปี 66 'KS คัด 4 กลุ่มดาวเด่น - SCB แนะถือยาวตราสารหนี้ ''จัดพอร์ตลงทุน ทำกำไร 2023” ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) แนะกลยุทธ์สร้างผลตอบแทน ชู'ตราสารหนี้-หุ้นกู้อนุพันธ์' ชี้เป็นจังหวะสะสมให้น้ำหนัก 60 : 40 ด้านบล.กสิกรไทย มองตลาดหุ้นไทย 6 เดือนข้างหน้า ยังเป็นโอกาสลงทุน ดัชนีSET มีโอกาสแตะ 1740 จุด คัด 4 กลุ่มอุตฯ ดาวเด่นปีหน้า
อ่านเพิ่มเติม »