สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมฝนดาวตกโอไรออนิดส์ (21 ต.ค.) คืนนี้-รุ่งเช้า NARIT ระบุ อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง พลาดครั้งนี้คุณจะต้องรอไปอีก 38 ปีข้างหน้าทีเดียว
ช่วงนี้หลายคนคงจะได้ยินเพลง "ดาวหางฮัลเลย์" ของวง fellow fellow แน่นอนดาวหางดวงนี้มีอยู่จริง และมีชื่อเสียงมากที่สุดดวงหนึ่งในประวัติศาสตร์ NARIT จึงขอพาทุกคนไปรู้จักกับดาวหางฮัลเลย์กันให้มากขึ้นผ่านบทเพลงนี้ดาวหางฮัลเลย์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1P/Halley นับเป็นดาวหางที่มีชื่อเสียงที่สุด และมีหลักฐานบันทึกการพบเห็นมานานแล้วกว่า 2,000 ปี ตั้งชื่อตาม “เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ นักฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้เป็นคนแรกที่สามารถคำนวณคาบของดาวหางฮัลเลย์ได้ในปี ค.ศ.
ในปี 1705 ฮัลเลย์ได้นำข้อมูลบันทึกตำแหน่งของดาวหางตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงศตวรรษที่ 17 มาคำนวณด้วยกฎของนิวตัน แล้วพบว่า มีดาวหาง 3 ดวงที่เคยปรากฏตัวในปี ค.ศ.
จากข้อมูลการศึกษาทั้งหมดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักดาราศาสตร์พบว่า ดาวหางฮัลเลย์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 กิโลเมตร มีคาบการโคจรเฉลี่ย 76 ปี มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ซึ่งแต่ละรอบจะมีคาบการโคจรไม่เท่ากัน เนื่องจากวงโคจรถูกรบกวนโดยแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โดยธรรมชาติของดาวหางนั้น มีลักษณะเป็น “ก้อนน้ำแข็งสกปรก” ในอวกาศ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโมเลกุลที่ระเหิดได้ง่าย เช่น น้ำ มีเทน แอมโมเนีย และคาร์บอนไดออกไซด์ ปะปนอยู่กับเศษหินและฝุ่น ทุก ๆ ครั้งที่ดาวหางโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์...
แม้ว่าดาวหางฮัลเลย์จะโคจรมาให้เราได้ยลโฉมในทุก ๆ 76 ปี แต่ทุก ๆ ครั้งที่เคลื่อนที่เข้ามา รังสีจากดวงอาทิตย์จะทำให้ดาวหางสูญเสียมวลของตัวเองไปเรื่อย ๆ และมีขนาดเล็กลง 1-3 เมตรในแต่ละรอบ จนในที่สุดเมื่อมวลสารส่วนที่เป็นน้ำแข็งสลายตัวจนหมดไป ดาวหางฮัลเลย์ก็จะไม่ได้มีหางที่สวยงามเหมือนที่เราเคยเห็นในอดีต กลายเป็นเพียงก้อนหินมืดดำในอวกาศ หรืออาจแตกสลายกลายเป็นเศษฝุ่นที่ยังคงโคจรอยู่รอบ ๆ...
นอกจากนี้ ในระหว่างที่ดาวหางฮัลเลย์โคจรและทิ้งเศษหินและฝุ่นไปในอวกาศนั้น เมื่อโลกโคจรตัดผ่าน แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงเอาเศษหินและฝุ่นเหล่านี้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เกิดการเผาไหม้เป็นดาวตก เป็นต้นกำเนิดของฝนดาวตก “โอไรออนิดส์ ” ที่จะเกิดขึ้นประจำในช่วงเดือนตุลาคมของทุก ๆ ปี โดยในปี 2023 นี้ ฝนดาวตกโอไรออนิดส์จะมีอัตราการตกสูงสุดตรงกับคืนวันที่ 21 ตุลาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม ศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่ที่กลุ่มดาวนายพราน มีอัตราการตกประมาณ 20...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
หากฟ้าใสไร้ฝนลุ้นชมความสวยงาม 'ดาวหางฮัลเลย์' คืน 21เมื่อวันที่ 20 ต.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า... คืน 21 - รุ่งเช้า 22 ตุลาคมนี้ มี ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ ดาวหางฮัลเลย์ เมื่อครั้งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22:30 น.
อ่านเพิ่มเติม »
คืนพรุ่งนี้พลาดรออีก 38 ปี ! ชวนดู “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” ร่องรอย “ดาวหางฮัลเลย์”หากไม่อยากรอไปอีก 38 ปี ! พรุ่งนี้ (21 ต.ค. 66) ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.30 น. จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ต.ค. 66 Thai PBS Sci & Tech ชวนยลโฉม “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” ร่องรอยของ “ดาวหางฮัลเลย์” โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์
อ่านเพิ่มเติม »
เคล็ดลับถ่ายภาพฝนดาวตก ต้อนรับการมาของ ‘ฝนดาวตกโอไรออนิดส์’PPTVHD36 World Class TV ละครกลับไปสู่วันฝัน รายการวาไรตี้ The Voice 2019 เกมพันหน้า กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน ถ่ายทอดสดพรีเมียร์ลีก และการแข่งขัน MotoGP 2019 ทันทุกสถานการณ์ข่าว เกาะติดดาราไทย และต่างประเทศ สุดมันกับซีรีส์ และภาพยนต์ระดับโลก
อ่านเพิ่มเติม »
คืน 21 ต.ค. เตรียมชม ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยดาวหางฮัลเลย์ข่าวการเมือง เศรษฐกิจ กีฬา บันเทิง-ศิลปวัฒนธรรม ต่างประเทศ การศึกษา
อ่านเพิ่มเติม »
ต้องไม่พลาด!!มหกรรมการท่องเที่ยวไต้หวันรวมดีลเที่ยว-กินครบแบบใหม่ไม่ซ้ำใครวันนี้ – 22 ตุลาคม 2566 ที่สีลมคอมเพล็กซ์สำหรับคนรักการท่องเที่ยวและไต้หวันเลิฟเวอร์ต้องถูกใจงานนี้เมื่อ สำนักงานการท่องเที่ยวไต้หวัน ประจำประเทศไทย ร่วมกับ ศูนย์การค้าสีลมคอมเพล็กซ์ และเหล่าพลคนรักไต้หวัน จัดงาน Taiwan One More Time ครั้งที่ 6 ในชื่อตอน ว่า เที่ยวไต้หวันอีกครั้งต้องไม่ซ้ำใคร ซึ่งเป็นมหกรรมการท่องเที่ยวที่รวบรวมข้อมูลไต้หวันไว้แบบครบจบในที่เดียว ภายใต้คอนเซปต์ กิน ช้อป...
อ่านเพิ่มเติม »