เมื่อวันที่ 20 ต.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า... คืน 21 - รุ่งเช้า 22 ตุลาคมนี้ มี #ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ #ดาวหางฮัลเลย์ เมื่อครั้งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22:30 น.
คืน 21 - รุ่งเช้า 22 ตุลาคมนี้ มี #ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ #ดาวหางฮัลเลย์ เมื่อครั้งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22:30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ตุลาคม บริเวณกลุ่มดาวนายพราน อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง หากฟ้าใสไร้ฝน ลุ้นชมความสวยงามได้ทั่วประเทศ
“ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจร ขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี พ.ศ. 2529 แรงโน้มถ่วงของโลกจึงดึงดูดเศษฝุ่นและวัตถุดังกล่าวเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมาบริเวณกลุ่มดาวนายพราน มีสีเหลืองและเขียว สวยงามพาดผ่านท้องฟ้า
สำหรับฝนดาวตกโอไรออนิดส์ปี 2566 ในคืนดังกล่าว ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 23:30 น. หลังจากนั้นจะไร้แสงจันทร์รบกวนจนถึงรุ่งเช้าของวันถัดไป อีกทั้งยังตรงกับคืนเสาร์-อาทิตย์พอดี จึงเป็นโอกาสดีที่จะชมฝนดาวตก วิธีการสังเกตที่ดีที่สุดคือมองด้วยตาเปล่า เลือกสถานที่ที่ปราศจากแสงรบกวนหรือห่างจากแสงเมืองให้มากที่สุด จะทำให้เห็นดาวตกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
แม้ว่าฝนดาวตกโอไรออนิดส์จะมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยเพียงประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง แต่ก็เป็นฝนดาวตกที่อยู่บริเวณกลุ่มดาวนายพราน ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่สังเกตได้ง่าย และมีดาวฤกษ์ที่สว่างเด่นอีกหลายดวงให้ชม อาทิ ดาวบีเทลจุส ดาวไรเจล รวมถึง ดาวซิริอุส ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวหมาใหญ่ใกล้ ๆ กัน นอกจากนี้ หากบันทึกภาพปรากฏการณ์ฝนดาวตกในคืนดังกล่าว อาจได้ภาพของดาวตกที่เคียงคู่ดวงดาวที่สวยงามอันดับต้น ๆ...
ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เป็นปรากฏการณ์ที่สังเกตได้ในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ของทุกปี เพราะฉะนั้นเราสามารถรอชมความสวยงามได้ทุกปี แต่หากเป็น ดาวหางฮัลเลย์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของฝนดาวตกนี้ จากการคำนวณคาดว่าดาวหางจะโคจรเฉียดดวงอาทิตย์อีกครั้งในช่วงกลางปี พ.ศ. 2604 ดังนั้น เราน่าจะได้เห็นดาวหางกันอีกครั้งในอีก 38 ปีข้างหน้า
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ชวนชมฝนดาวตกโอไรออนิดส์ จากเศษฝุ่น ดาวหางฮัลเลย์ 21 ต.ค.นี้สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ ดาวหางฮัลเลย์ คืนวันที่ 21 จนถึงรุ่งเช้า 22 ต.ค.นี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุ มีฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ ดาวหางฮัลเลย์ เมื่อครั้งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22.30 น.
อ่านเพิ่มเติม »
สดร.ชวนชมฝนดาวตกโอไรออนิดส์ คืน 21 - รุ่งเช้า 22 ต.ค.เพจสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ระบุว่า คืน 21 - รุ่งเช้า 22 ตุลาคมนี้ มีฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของดาวหางฮัลเลย์ เมื่อครั้งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22:30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม เป็นต้นไป จนถึงรุ่
อ่านเพิ่มเติม »
คืน 21 ถึงเช้า 22 ต.ค.66 ชวนดูดาวตก เศษฝุ่นดาวหางฮัลเลย์ติดตามข่าวอีจัน ข่าวเกาะติดกระแส ข่าวล่าสุด คลิปข่าวล่าสุด ข่าวร้อนล่าสุด อีจันบันเทิง อาชญากรรม คดีดัง สืบสวนสอบสวน ข่าววันนี้ ทันทุกเหตุการณ์ ทุกเรื่องเด่น ทุกประเด็นร้อน อัพเดทข่าวสด รู้ข่าวสารก่อนใคร ไม่พลาดทุกเรื่องราวที่
อ่านเพิ่มเติม »
คืน 21 ต.ค. เตรียมชม ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยดาวหางฮัลเลย์ข่าวการเมือง เศรษฐกิจ กีฬา บันเทิง-ศิลปวัฒนธรรม ต่างประเทศ การศึกษา
อ่านเพิ่มเติม »
รู้จัก 'ดาวหางฮัลเลย์' กับคำบอกรักที่ซ่อนอยู่ในเนื้อเพลงPPTVHD36 World Class TV ละครกลับไปสู่วันฝัน รายการวาไรตี้ The Voice 2019 เกมพันหน้า กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน ถ่ายทอดสดพรีเมียร์ลีก และการแข่งขัน MotoGP 2019 ทันทุกสถานการณ์ข่าว เกาะติดดาราไทย และต่างประเทศ สุดมันกับซีรีส์ และภาพยนต์ระดับโลก
อ่านเพิ่มเติม »