คณะวิทย์ฯจุฬาฯวิจัยน้ำมันเชื้อเพลิงจากยีสต์ ต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอากาศยาน

จุฬาฯ ข่าว

คณะวิทย์ฯจุฬาฯวิจัยน้ำมันเชื้อเพลิงจากยีสต์ ต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอากาศยาน
น้ำมันเชื้อเพลิงจากยีสต์อุตสาหกรรมอากาศยานSmart City
  • 📰 PostToday
  • ⏱ Reading Time:
  • 68 sec. here
  • 6 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 41%
  • Publisher: 51%

นักวิจัย จุฬาฯ ใช้หญ้าอาหารสัตว์ เลี้ยงจุลินทรีย์เพื่อนำไขมันที่ได้มาเปลี่ยนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ตั้งเป้าขยายการผลิตทดแทนน้ำมันจากปิโตรเลียม ลดผลกระทบทางสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารและเครื่องดื่มหลายประเภท อาทิ ขนมปัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ในอนาคต ยีสต์จะเป็นกำลังสำคัญในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนพลังงานที่มาจากฟอสซิล

คณะนักวิจัยนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมภูนุช กลิ่นวงษ์ จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ดำเนินโครงการวิจัย “การพัฒนาเทคโนโลยีการขยายขนาดการผลิตน้ำมันจากยีสต์เพื่อสังเคราะห์น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน” “ยีสต์ S. cerevisiae จัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยสูง มีประวัติการใช้มาอย่างยาวนานและได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัย ซึ่งมีการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ และอุตสาหกรรมการผลิตขนมปัง แต่ยังไม่เคยมีรายงานการนำยีสต์สายพันธุ์ดังกล่าวมาใช้เพื่อการผลิตไขมันในระดับอุตสาหกรรม”

นอกจากนี้ ศ.ดร.วรวุฒิ กล่าวเสริมข้อได้เปรียบสำคัญอีกประการของการผลิตน้ำมันจากยีสต์ว่า “เมื่อมีการพัฒนากระบวนการและนำยีสต์ดังกล่าวไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการหล่อเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิถังหมักลงได้” นอกจากนี้ ยังมีรายงานการนำของเหลือทิ้ง เช่น เศษกระดาษสำนักงาน และน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำทิ้งจากโรงงานผลิตกระดาษ น้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งสาคู และน้ำทิ้งจากบ้านเรือน มาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนเช่นเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์หลักในการลดต้นทุนการผลิต เพื่อกำจัดของเสีย และเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้งดังกล่าวให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นการเจริญเติบโตของยีสต์และปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้จากยีสต์ในสเกลการผลิตในห้องปฏิบัติการนั้น ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเชื้อเพลิงในตลาด...

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

PostToday /  🏆 50. in TH

น้ำมันเชื้อเพลิงจากยีสต์ อุตสาหกรรมอากาศยาน Smart City

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

นักวิจัยไทยล้ำ! ผุด “สเปรย์ฟิล์ม ลดอุณหภูมิ” ต้นทุนต่ำครั้งแรกของโลกนักวิจัยไทยล้ำ! ผุด “สเปรย์ฟิล์ม ลดอุณหภูมิ” ต้นทุนต่ำครั้งแรกของโลกนักวิจัย ม.มหิดล คิดค้น “สเปรย์ฟิล์ม ลดอุณหภูมิ” ต้นทุนต่ำครั้งแรกของโลก ลดอุณหภูมิได้สูงสุด 2.2 องศาเซลเซียส ประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เอื้อไทยบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality
อ่านเพิ่มเติม »

นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. เตือนอากาศร้อนเสี่ยงโรคลมแดดนักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. เตือนอากาศร้อนเสี่ยงโรคลมแดดนักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. เตือนอากาศร้อนเสี่ยงโรคลมแดด แนะช่วงสงกรานต์ใส่หมวกป้องกันหรือจิบน้ำตลอดเวลา รศ.
อ่านเพิ่มเติม »

‘ไฟฟ้าเคมี’ ลดกรดในทะเล กำจัดก๊าซคาร์บอน ต้นตอปัญหา ‘ภาวะโลกร้อน’‘ไฟฟ้าเคมี’ ลดกรดในทะเล กำจัดก๊าซคาร์บอน ต้นตอปัญหา ‘ภาวะโลกร้อน’นักวิจัย พบว่า “ไฟฟ้าเคมี” (Electrochemistry) เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถสลายคาร์บอนกับกรดในมหาสมุทรได้ดีที่สุด ทั้งประหยัด ปรับขนาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อ่านเพิ่มเติม »

ประเด็น “อัญเชิญพระเกี้ยว” งานจุฬา-ธรรมศาสตร์ ยังมีข้อถกเถียงประเด็น “อัญเชิญพระเกี้ยว” งานจุฬา-ธรรมศาสตร์ ยังมีข้อถกเถียงประเด็นอัญเชิญ พระเกี้ยว งานกีฬาฟุตบอลสานสัมพันธ์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ยังมีดราม่ากันประปราย หลังจากเมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 มี.ค. มีการจัดงานกีฬาฟุตบอลสานสัมพันธ์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
อ่านเพิ่มเติม »

สังศิต จุดประกาย “กาสิโนถูกกฎหมาย” ดีไซน์ เงินบาป สู่ รัฐสวัสดิการสังศิต จุดประกาย “กาสิโนถูกกฎหมาย” ดีไซน์ เงินบาป สู่ รัฐสวัสดิการรศ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ นักวิจัย 'กาสิโนถูกกฎหมาย' ในประเทศไทย เปิดใจ ไม่ได้เชียร์-ไม่ได้ต่อต้าน เป็นเพียง 'จุดประกาย'
อ่านเพิ่มเติม »

แพทย์จุฬาฯ ล้ำหน้าไปอีกขั้น ปรับปรุงหลักสูตรและการประเมินผลแบบใหม่ ทัดเทียมมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกแพทย์จุฬาฯ ล้ำหน้าไปอีกขั้น ปรับปรุงหลักสูตรและการประเมินผลแบบใหม่ ทัดเทียมมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกแพทย์จุฬาฯ ล้ำหน้าไปอีกขั้น ปรับปรุงหลักสูตรและการประเมินผลแบบใหม่ ทัดเทียมมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รศ.นพ.ศักนัน มะโนทัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ นสพ.
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-06 21:46:36