กระดูกสันหลังเสื่อม

สุขภาพ ข่าว

กระดูกสันหลังเสื่อม
กระดูกสันหลังเสื่อมโรคกระดูกสันหลังกระดูกเสื่อม
  • 📰 amarintvhd
  • ⏱ Reading Time:
  • 164 sec. here
  • 10 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 90%
  • Publisher: 53%

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เฉพาะคนอายุมาก รายละเอียดอาการ วิธีการวินิจฉัย และการรักษา

หลายคนอาจคิดว่าปัญหา กระดูกเสื่อม เป็นเรื่องของคนที่อายุเยอะเท่านั้น แต่ความจริงแล้วใคร ๆ ก็มีโอกาสเป็นได้ โดยเฉพาะคนที่ชอบยกของหนัก ก้มตัวบ่อย ขยับคอมาก ก็อาจเร่งให้เกิดที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขา หนักที่สุดเส้นประสาทอาจถูกกดทับจนมีอาการอ่อนแรงหรือควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ที่น่ากังวลกว่านั้นคือ เมื่อ กระดูกสันหลังเสื่อม กดทับเส้นประสาทจนมีอาการอ่อนแรงเป็นเวลานาน แม้จะผ่าตัดรักษาก็ไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ดีเหมือนเดิมจะพาไปรู้จักกับโรค กระดูกสันหลังเสื่อม

เพื่อให้เราได้เข้าใจแนวทางการดูแลกระดูกสันหลังให้แข็งแรงไปนาน ๆ โรคกระดูกสันหลังเสื่อม คือภาวะความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น หรือการใช้งานหนักสะสมเป็นเวลานาน ซึ่งความเสื่อมของโรคนี้หมายถึงความเสื่อมของบริเวณตัวกระดูกสันหลังเอง หมอนรองกระดูก ข้อต่อ และเนื้อเยื่อเส้นเอ็นรอบกระดูกสันหลัง คล้ายกับความเสื่อมในข้อเข่าหรือกระดูกบริเวณอื่นโรคกระดูกสันหลังเสื่อมพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุเริ่มตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการเสื่อมตามวัย แต่คนที่อายุน้อยก็เป็นโรคนี้ได้จากพฤติกรรมการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่น ยกของหนักเป็นประจำ การขยับก้มเงยคอมาก ๆ หรือคนที่ชอบสะบัดคอบ่อย ๆ นอกจากนี้ ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุรุนแรงจนกระดูกหักและต้องใส่เหล็กดาม ทำให้ตัวกระดูกข้างเคียงต้องรับน้ำหนักแทน ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ บางรายอาจมีการติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง แม้พบไม่บ่อย แต่ก็อาจนำไปสู่การเสื่อมได้เช่นกัน โดยการเสื่อมอาจใช้เวลา 5-10 ปี หลังเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บก่อนจะเริ่มมีอาการอาการของโรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นแตกต่างกันขึ้นกับตำแหน่งของตัวโรค ในคนไข้ที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมอาจจะมีอาการปวดบริเวณคอ ปวดร้าวไปที่แขน อาจจะมีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมด้วย ในบางคนจะมีการใช้งานมือลำบากมากขึ้นเช่น เขียนหนังสือลำบากขึ้นลายมือเปลี่ยนไป ติดกระดุมเสื้อลำบาก เป็นต้น หากเป็นมากจะมีอาการเดินลำบาก เดินไม่ถนัดเหมือนเดิม และอาจจะกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ “ส่วนคนไข้ที่มีกระดูกสันหลังช่วงเอวเสื่อม นั้นอาจจะมีอาการปวดบริเวณเอว และมีอาการปวดร้าวลงขา ในบางรายอาจจะมีอาการชาหรืออ่อนแรงขา และกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งใครที่พบอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาก่อนอาการจะรุนแรงขึ้น” นพ.วรายุทธ แสงสุวรรณ อธิบายขั้นตอนแรกของการวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังเสื่อมคือการตรวจร่างกายเพื่อดูลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูกสันหลัง และระบบเส้นประสาท ซึ่งหากใครที่พบว่ามีปัญหากระดูกเสื่อมร่วมกับปัญหาทางเส้นประสาทอาจต้องใช้การเอกซเรย์ หรือ MRI เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียด การรักษากระดูกสันหลังเสื่อมมีหลายวิธี ถ้าคนไข้อาการไม่หนักมากจะรักษาด้วยการรักษาแบบประคับประคองโดยใช้ยาและการทำกายภาพ รวมถึงมีการฉีดยาเข้าโพรงประสาทเพื่อบรรเทาอาการปวด ส่วนคนที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น อาการปวดเป็นมากรักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น และในเคสที่มีอาการทางระบบประสาทแล้ว เช่น อ่อนแรง หรือกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่อยู่ อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ส่วนการผ่าตัดนั้น อาจจะเพียงผ่าตัดเพื่อนำส่วนที่กดเส้นประสาทออก หรืออาจจำเป็นต้องผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง ขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวโรคว่าเป็นลักษณะแบบใด ซึ่งในปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบแผลเล็กโดยทำการผ่าตัดผ่านกล้องไมโครสโคป (Microscope) หรือ การผ่าตัดส่องกล้อง (Endoscope) ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น นพ.วรายุทธ แสงสุวรรณ อธิบายต่อ'ถ้าไม่อยากให้กระดูกสันหลังเสื่อมไว ควรหลีกเลี่ยงการสะบัดคอหรือดัดคอแรง ๆ ระวังการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่มีแรงกระแทกที่ศีรษะ และที่สำคัญคือไม่ควรยกของหนักเกินไป เพราะแรงทั้งหมดจะไปลงที่กระดูกสันหลัง รวมถึงพยายามลดการก้มตัวมาก ๆ เพราะจะเป็นการใช้งานกระดูกสันหลังที่เกินจำเป็น นอกจากนี้ก็ควรออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนลำตัวที่ช่วยพยุงกระดูกสันหลังของเรา' 'แม้ว่าโรคกระดูกสันหลังเสื่อมจะทำให้ใช้ชีวิตยากขึ้น แต่ก็ไม่อยากให้ทุกคนกังวลเกินไปจนไม่กล้าทำอะไร จริง ๆ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ด้วยความเข้าใจว่าร่างกายย่อมมีการเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักดูแลตัวเอง ระมัดระวังพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อกระดูกสันหลัง และคอยสังเกตร่างกายของตัวเองให้ดี ถ้ามีอาการผิดปกติที่เข้าข่ายโรคนี้ ก็ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ' นพ.วรายุทธ แสงสุวรรณ กล่าวทิ้งท้า

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

amarintvhd /  🏆 40. in TH

กระดูกสันหลังเสื่อม โรคกระดูกสันหลัง กระดูกเสื่อม อาการกระดูกสันหลังเสื่อม การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังเสื่อม การรักษากระดูกสันหลังเสื่อม

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

ยกของหนัก-ก้มตัวบ่อย นิสัยเสี่ยง “โรคกระดูกสันหลังเสื่อม”ยกของหนัก-ก้มตัวบ่อย นิสัยเสี่ยง “โรคกระดูกสันหลังเสื่อม”ศัลยแพทย์กระดูกและข้อแพทย์ชำนาญการด้านกระดูกสันหลัง รพ.วิมุต กล่าวว่า สัญญาณคนที่ชอบยกของหนัก ก้มตัวบ่อย ขยับคอมาก อาจเร่งให้เกิด “โรคกระดูกสันหลังเสื่อม” ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขา หนักที่สุดเส้นประสาทอาจถูกกดทับ จนมีอาการอ่อนแรงหรือควบคุมการขับถ่ายไม่ได้.
อ่านเพิ่มเติม »

“ออฟฟิศซินโดรม” ชนวนเหตุ โรคกระดูกสันหลังเสื่อม“ออฟฟิศซินโดรม” ชนวนเหตุ โรคกระดูกสันหลังเสื่อม“ออฟฟิศซินโดรม” ชนวนเหตุ โรคกระดูกสันหลังเสื่อม : Tricks for Life
อ่านเพิ่มเติม »

ออฟฟิศซินโดรม ชนวนเกิด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ปรับพฤติกรรมก่อนสายเกินแก้ออฟฟิศซินโดรม ชนวนเกิด โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ปรับพฤติกรรมก่อนสายเกินแก้'ออฟฟิศซินโดรม' รักษาช้าเสี่ยง 'โรคกระดูกสันหลังเสื่อม' แพทย์เฉพาะทางแนะเร่งปรับพฤติกรรมก่อนจะสายเกินแก้
อ่านเพิ่มเติม »

กรมราชทัณฑ์ เผยทักษิณป่วยโรคเพียบ ต้องดูแลใกล้ชิดกรมราชทัณฑ์ เผยทักษิณป่วยโรคเพียบ ต้องดูแลใกล้ชิดกรมราชทัณฑ์ แถลงรับทักษิณเข้าคุกเป็นผู้ต้องขังเข้าใหม่ ผลตรวจร่างกายพบเป็นกลุ่มเปราะบาง หลายโรครุม ทั้งความดันสูง กระดูกสันหลังเสื่อม มีประวัติเป็นโรคหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ปอดมีปัญหาแพทย์ต้องดูแลใกล้ชิด
อ่านเพิ่มเติม »

'มะเร็งรังไข่'โรคพบได้บ่อยในเพศหญิง อาการเริ่มแรก-ปัจจัยเสี่ยง'มะเร็งรังไข่'โรคพบได้บ่อยในเพศหญิง อาการเริ่มแรก-ปัจจัยเสี่ยงทำความรู้จัก'โรคมะเร็งรังไข่' โรคติดอันดับยอดฮิตที่พบในเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยง อาการเริ่มแรกที่พบบ่อย และการรักษา โรคมะเร็งรังไข่ ฐานเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม »

อัพเดท “ฝีดาษลิง” จากเริ่มต้น จนแสดงอาการควรปฏิบัติอย่างไรอัพเดท “ฝีดาษลิง” จากเริ่มต้น จนแสดงอาการควรปฏิบัติอย่างไร“ฝีดาษลิง” ทั่วโลกติดเชื้อทะลุ 2 หมื่นราย ใน 74 ประเทศ รวมถึงไทย กรมการแพทย์ อัพเดทอาการตั้งแต่เริ่มต้น จนแสดงอาการ และการรักษา ควรสังเกตและปฏิบัติตัวอย่างไร ย้ำตื่นตัวแต่อย่าตื่นตระหนก
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-03 06:18:02