กรมชลฯ เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จับตาเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด กรมชลประทาน เดินหน้าติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทาน เดินหน้าติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ ระบบสื่อสารสำรอง บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เข้าช่วยเหลือประชาชน หลังมีฝนตกหนักหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พร้อมเร่งระบายน้ำ จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่-น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด ตามนโยบายของรัฐบาล และ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ
– จังหวัดตาก สำนักงานชลประทานที่ 4 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณหมู่ที่ 4 บ้านชะลาดระฆัง ตำบลโป่งแดง อำเภอเมืองตาก เร่งระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำชะลาดระฆัง ลดผลกระทบประชาชนด้านท้ายอ่างฯ– จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 ร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันลำเลียงกระสอบทรายกั้นมวลน้ำ บริเวณชุมชนท่ากอไผ่ อำเภอวารินชำราบ จากสถานการณ์น้ำแม่น้ำมูลเอ่อล้นตลิ่งฝั่งอำเภอวารินชำราบ
Advertisement – จังหวัดอ่างทอง โครงการชลประทานอ่างทอง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ในเขตพื้นที่ตําบลยี่ล้น และตำบลบางจัก อําเภอวิเศษชัยชาญ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ทำการเกษตร และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้เลี้ยงปลากระชังที่อยู่ริมน้ำแม่น้ำน้อยให้ทราบเพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด – จังหวัดปราจีนบุรี สำนักงานชลประทานที่ 9 ติดตั้งเครื่องจักรกลสูบน้ำ จำนวน 1 เครื่อง บริเวณโครงการพัฒนาส่วนพระองค์ ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง สูบระบายน้ำท่วมที่ท่วมขังหลังมีฝนตกหนัก
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
กรมชลฯ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จับตาเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดกรมชลฯ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จับตาเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
อ่านเพิ่มเติม »
กรมชลฯ เตือนพื้นที่ลุ่มต่ำ เตรียมรับมือน้ำเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นกรมชลฯ ออกประกาศแจ้งเตือน ฉบับที่ 4 พื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เตรียมรับมือน้ำล้นตลิ่งสูง 20-80 ซม. ระหว่างวันที่ 9-15 ต.ค.2566
อ่านเพิ่มเติม »
น้ำเหนือยังสูง!! กรมชลฯ บริหารน้ำเข้าระบบชลประทาน ลดผลกระทบริมน้ำเจ้าพระยาตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศเฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง จากการติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงที่ผ่านมาร่องมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักสะสมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้มีน้ำในลำน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยคาดการณ์ในช่วงวันที่ 8-11 ตุลาคม 2566 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ทำให้น้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ ในช่วงวันที่ 9-15 ตุลาคม 2566 โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ ซึ่งเขื่อนเจ้าพระยาต้องการระบายน้ำในอัตรามากกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที นั
อ่านเพิ่มเติม »
กรมชลฯ รุกวางแนวทางรับมือน้ำเหนือ พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกวันที่ 8 ต.ค.66 ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา นายปกรณ์ สุตสุนทร ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาอุทกวิทยา โดยมี นายชุติมันต์ สกุลพราหมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 ผู้อำนวยการโครงการฯ เจ้าเจ็ดบางยี่หน พระยาบรรลือ พระพิมล ภาษีเจริญ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ และแนวทางบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากเป็นไปอย่างมีประสิทธ
อ่านเพิ่มเติม »
กรมชลฯ จับตาสถานการณ์น้ำ เร่งตั้งเครื่องสูบน้ำพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยวันที่ 9 ต.ค.66 จากกรณีมีฝนตกหนักหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง กรมชลประทาน ได้เดินหน้าติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ ระบบสื่อสารสำรอง บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือประชาชน พร้อมเร่งระบายน้ำ จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด ตามนโยบายของรัฐบาล และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ 🚨จังหวัดสุโขทัย สำนักงานชลประทานที่ 4 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณหมู่ที่ 1 บ้านคลองปู ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโล
อ่านเพิ่มเติม »
กรมชลฯ เร่งจัดจราจรน้ำ รับมือสภาพอากาศแปรปรวนวันที่ 9 ต.ค.66 ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำ (กรุงเทพมหานคร) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เป็นต้น เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำใ
อ่านเพิ่มเติม »