WTO เตือนสงคราม ยูเครน-วิกฤต เงินเฟ้อ เสี่ยงทำการค้าโลกชะลอตัวปีนี้ องค์การการค้าโลก อินโฟเควสท์
องค์การการค้าโลก ออกรายงานเตือนว่า การค้าโลกในปี 2566 มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากสงครามที่ยืดเยื้อในยูเครน รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อ และการที่ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงิน
นายราล์ฟ ออสซา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ WTO กล่าวว่า “ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นนั้น เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการค้าและผลผลิตทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2565 และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องในปี 2566”
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
จีนร้อง WTO ตรวจสอบกฎคุมส่งออกชิปไปยังจีน ชี้ไม่โปร่งใส : อินโฟเควสท์สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (CCTV) รายงานว่า จีนเรียกร้องให้องค์การการค้าโลก (WTO) เข้าตรวจสอบมาตรการควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีที่นำโดยสหรัฐ ซึ่งมีเป้าหมายจำกัดขีดความสามารถของจีนในการผลิตชิปขั้นสูง สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ตัวแทนของจีนกล่าวต่อที่ประชุม WTO ในสัปดาห์นี้ว่า ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐ ควรรายงานแผนและมาตรการที่ตามมาแก่ WTO โดยจีนได้เรียกร้องให้ยกระดับการกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าว เมื่อวันวานนี้ (4 เม.ย.) กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า จีนกังวลอย่างมากเกี่ยวกับข้อจำกัดการส่งออกของญี่ปุ่นเกี่ยวกับอุปกรณ์ผลิตชิป และเรียกร้องให้ดำเนินการแก้ไขการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง CCTV ระบุว่า ความเคลื่อนไหวของทั้งสามชาติเพื่อควบคุมการส่งออกชิปไปยังจีนนั้นละเมิดหลักความเที่ยงธรรมและความโปร่งใสของ WTO เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ญี่ปุ่นกล่าวว่าจะจำกัดการส่งออกอุปกรณ์ผลิตชิปและเซมิคอนดักเตอร์ 23 ประเภท ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับมาตรการควบคุมของสหรัฐที่ประกาศเมื่อเดือนต.ค. 2565 โดยไม่ได้ระบุว่าจีนเป็นเป้าหมาย ทั้งนี้ คำประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่เมื่อเดือนที่แล้ว เนเธอร์แลนด์กล่าวมีแผนที่จะจำกัดการส่งออกที่คล้ายคลึงกัน เช่น การส่งออกจากเอเอสเอ็มแอล โฮลดิง เอ็นวี (ASML Holding NV) ซึ่งครองตลาดระบบลิโทกราฟีที่ใช้สำหรับผลิตชิป โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05 เม.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
จีนเรียกร้อง WTO ตรวจสอบสหรัฐฯ กรณีควบคุมการส่งออกชิปสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -5 เม.ย. 66 14:57 น. สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า จีนออกมาเรียกร้องให้องค์การการค้าโลก ตรวจสอบข้อจำกัดการส่งออกเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ...
อ่านเพิ่มเติม »
BOJ เผย ศก.ญี่ปุ่นยังชะลอตัว นโยบายดอกเบี้ยต่ำอาจได้ไปต่อ : อินโฟเควสท์ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยวันนี้ (5 เม.ย.) ว่า ผลผลิตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่ำกว่ากำลังการผลิตสูงสุดเป็นไตรมาสที่ 11 ติดต่อกัน ซึ่งบ่งชี้ว่าเงื่อนไขต่าง ๆ ในการยุติอัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษนั้นยังคงไม่เข้าที่เข้าทาง BOJ ระบุว่า ช่องว่างในการผลิตของญี่ปุ่น ซึ่งวัดจากความแตกต่างระหว่างผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงกับผลผลิตตามกำลังการผลิตสูงสุด อยู่ที่ -0.43% ในไตรมาส 4/2565 กว้างขึ้นจากระดับ -0.08% ในไตรมาสเดือน ก.ค. – ก.ย. ทั้งนี้ ตัวเลขระยะห่างที่ติดลบเกิดขึ้นเมื่อผลผลิตแท้จริงต่ำกว่าผลผลิตตามกำลังการผลิตสูงสุด และเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอลง ซึ่งมักสร้างแรงกดดันที่ลดลงต่ออัตราเงินเฟ้อ ข้อมูลช่องว่างระหว่างผลผลิตเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ BOJ ใช้เป็นตัวชี้วัดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศยังคงแข็งแกร่งพอที่จะบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% ได้หรือไม่ ทั้งนี้ ตลาดต่างคาดการณ์กันว่า BOJ จะยุติการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินแบบพิเศษ (Ultraloose Monetary Easing Policy) เมื่อนายคาซูโอะ อุเอดะ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการ BOJ คนใหม่ในเดือนเม.ย. นี้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวเพียง 0.1% ต่อปี ในช่วงเดือนต.ค. – […]
อ่านเพิ่มเติม »
TTB ชี้รัฐหนุนเที่ยวเมืองรอง ดันไทยเที่ยวไทยโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ : อินโฟเควสท์ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) ประเมินการตัวเลขการท่องเที่ยวในประเทศปี 66 ขยับเพิ่มต่อเนื่องอีก 25.4% จากปีก่อนที่เติบโตสูงกว่า 182.2% จากความสำเร็จของนโยบายรัฐผ่านท่องเที่ยวเมืองรอง และโปรเจกต์ Unseen New Series ที่ช่วยขยายศักยภาพเมืองท่องเที่ยวต่างๆ ให้เพิ่มขึ้น ประกอบกับการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวใหม่ผ่านกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวไทยปรับเพิ่มขึ้น ก้าวข้ามจุดสูงสุดเดิมมาแตะที่ระดับ 254.4 ล้านคน/ครั้ง บนศักยภาพที่ยังไปต่อได้อีก ttb analytics ประเมินจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศปี 66 มีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่องอีก 25.4% จากปีก่อนที่โตทะยานสูงกว่า 182.2% ขยับมาแตะที่ 254.4 ล้านคน/ครั้ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าจุดสูงสุดของนักท่องเที่ยวชาวไทยในปี 62 จำนวน 229.7 ล้านคน/ครั้ง สะท้อนความสำเร็จในการสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศของภาครัฐ ผ่านนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ที่ช่วยยกระดับเมืองที่ยังไม่เป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจเพียงพอ ให้มีการสร้างและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีความดึงดูดน่าสนใจมากขึ้น รวมถึงโปรเจกต์ Unseen New Series ที่พัฒนาคู่ขนานต่อยอดการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ทั้งในเมืองท่องเที่ยวหลัก หรือเมืองรองให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทรนด์สังคมและกระแสในโลกดิจิทัล ทำให้การท่องเที่ยวถูกเปลี่ยนมุมมองจากเรื่องการพักผ่อนให้เป็นในรูปแบบการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ […]
อ่านเพิ่มเติม »
KKP แนะ 5 แนวทางเสริมภูมิท่องเที่ยว ป้องกัน Long-Covid ในศก.ไทย : อินโฟเควสท์KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ชี้ว่า แม้ภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวจากโควิดได้ค่อนข้างดีที่ในปี 65 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่องในปีนี้ แต่ตัวเลขการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น และเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ อาจบดบังปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวไทยที่มีมาตั้งแต่ก่อนโควิด ช่วงที่ผ่านมา ในปี 65 นักท่องเที่ยวกลับมาได้ 11.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 28% ของปี 62 แต่โครงสร้างนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปหลังจากไม่มีนักท่องเที่ยวจีน ทำให้รายได้ต่อหัวลดลง ขณะที่ในปี 66 คาดว่านักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นเป็น 29.7 ล้านคน (74.5% ของปี 62) จากการทยอยกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปข้างหน้า ภาคท่องเที่ยวอาจไม่สามารถเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยไปได้ตลอด จำเป็นต้องแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นความท้าทายในการเติบโตระยะยาว ควบคู่กับการหาเครื่องยนต์เสริมตัวใหม่ให้กับเศรษฐกิจ KKP Research ประเมินว่า ภาคท่องเที่ยวไทยในระยะยาว มีข้อจำกัดที่อาจเรียกว่าเป็น Long-COVID ที่อาจแสดงอาการออกมาเรื่อยๆ และจำเป็นต้องได้รับการดูแล หากต้องการสร้างให้ภาคการท่องเที่ยวก้าวขึ้นมาเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน โดยข้อจำกัดดังกล่าว ได้แก่ 1. ภาคการท่องเที่ยวไทยเน้นปริมาณมากกว่ามูลค่าเพิ่ม แม้ว่ารายได้จากภาคท่องเที่ยวไทยจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละ 10-15% แต่ 80-90% […]
อ่านเพิ่มเติม »
เงินบาทปิด 33.86 แข็งค่าต่อเนื่อง หลังตัวเลขศก.สหรัฐกดดอลลาร์อ่อนค่า-ทองพุ่ง : อินโฟเควสท์นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.86 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.95 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเย็นนี้ปรับตัวแข็งค่าต่อจากช่วงเช้า และยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง หลังจากที่เงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จากผลของตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนก.พ. ของสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มาก ประกอบกับราคาทองคำพุ่งขึ้นแรง โดยช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ ตลาดรอติดตามตัวเลขที่เกี่ยวกับการจ้างงานของสหรัฐฯ ทั้งการจ้างงานภาคเอกชน, การจ้างงานนอกภาคเกษตร และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นักบริหารเงิน คาดว่า วันศุกร์เงินบาทจะเคลื่อนไหวที่ระดับ 33.80 – 34.10 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยสำคัญ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05 เม.ย. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »