WPH ส่งซิกโค้งสุดท้ายปีโตแกร่ง รับจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มทุกช่องทาง หนุนรายได้ปี 65 นิวไฮต่อ หุ้นไทย โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ตรัง อินโฟเควสท์
นายเชน เหล่าสุนทร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผลักดันรายได้รวมทั้งปีเติบโต 5 -10% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง และคาดว่าสัดส่วนของผู้ป่วยต่างชาติจะสามารถกลับมาอยู่ที่ 10% และในปี 66 น่าจะกลับมาอยู่ช่วงใกล้เคียงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่ระดับ 25%
“ภาพรวมโค้งสุดท้ายของปีนี้ บริษัทฯยังคงรักษาความสามารถในการทำกำไรไว้ได้ เนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นในทุกช่องทาง ทั้งนโยบายเปิดประเทศ ทำให้บรรยากาศท่องเที่ยวในประเทศปรับตัวดีขึ้น โรงพยาบาลอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว โรงเรียนเปิดภาคเรียนตามปกติ และสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น รวมถึงเข้าสู่ช่วงฤดูฝนมีโรคตามฤดูกาลเข้ามาเป็นปัจจัยหนุน จึงทำให้คนกลับมาใช้บริการในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นตามลำดับ”อนึ่ง...
ส่วนผลการดำเนินงานในงวด 9 เดือนแรกของปี 65 บริษัทฯมีกำไรสุทธิ 125.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 187.5% จากงวดเดียวกันปีก่อน มีกำไรสุทธิ 43.7 ล้านบาท โดยมีรายได้รวม 894.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.7% จากงวดเดียวกันปีก่อนมีรายได้รวม 635.6 ล้านบาท สำหรับความคืบหน้าโครงการโรงพยาบาลวัฒนแพทย์สมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันอยู่ในช่วงของการดำเนินงานก่อสร้างและคาดว่าจะเสร็จตามแผนที่วางไว้ โดยจะพร้อมเปิดบริการในไตรมาส 1/66 สนับสนับสนุนผลการดำเนินงานสร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ในปีนี้ยังคงเน้นการเพิ่มบริการในส่วนของคลินิกโรคเฉพาะทาง รวมถึงการต่อยอดการรักษาโรคมะเร็ง และเพิ่มปริมาณเตียงรักษาในห้อง ICU มากขึ้น ขณะเดียวกันอาคาร Wellness ซึ่งเป็นศูนย์สุขภาพครบวงจรที่รองรับผู้ที่ไม่ได้ป่วยโดยเฉพาะ เช่นการทำฟัน การทำกายภาพ เสริมความงามและตรวจสุขภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้ามารับบริการไม่ต้องมาปะปนกับผู้ป่วย ปัจจุบันมีผู้เข้ามาใช้บริการมากกว่า 100 คน/วัน ซึ่งสูงกว่าที่บริษัทฯคาดการณ์ไว้...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
SPRC บวกนำกลุ่มโรงกลั่นรับราคาน้ำมันฟื้น โบรกฯคาด Q4/65 ไม่ขาดทุนสต็อก-เก็งปันผล : อินโฟเควสท์หุ้นกลุ่มโรงกลั่นรับแรงเก็งกำไรจากทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกฟื้นตัวขึ้น หลังจากกลุ่มโอเปกปฏิเสธข่าวลือการปรับเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมครั้งถัดไปเดือน ธ.ค.65 และยังคงแผนเดิมในการปรับลดกำลังการผลิตจากการประชุมครั้งก่อน สนับสนุนคาดการณ่ว่าผลประกอบของกลุ่มผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 3/65 ที่มีผลขาดทุนสต็อกน้ำมันค่อนข้างมากไปแล้ว เมื่อเวลา 11.52 น.นำโดย SPRC ปรับขึ้น 4.46% หรือเพิ่มขึ้น 0.50 บาท มาที่ 11.70 บาท มูลค่าซื้อขาย 103.32 ล้านบาท ESSO ปรับขึ้น 3.36% หรือเพิ่มขึ้น 0.40 บาท มาที่ 12.30 บาท มูลค่าซื้อขาย 164.19 ล้านบาท BCP ปรับขึ้น 2.44% หรือเพิ่มขึ้น 0.75 บาท มาที่ 31.50 บาท มูลค่าซื้อขาย 89.21 ล้านบาท TOP ปรับขึ้น 1.88% หรือเพิ่มขึ้น 1.00 บาท มาที่ 54.25 บาท …
อ่านเพิ่มเติม »
'เครดิตสวิส' คาดขาดทุนอ่วม 1.6 พันล้านดอลลาร์ใน Q4/65 : อินโฟเควสท์เครดิตสวิสคาดการณ์ในวันนี้ (23 พ.ย.) ว่า บริษัทจะเผชิญภาวะขาดทุน 1.5 พันล้านฟรังก์สวิส (1.6 พันล้านดอลลาร์) ในไตรมาส 4/2565 หลังเริ่มดำเนินการยกเครื่องเชิงกลยุทธ์ขนานใหญ่ ทั้งนี้ เครดิตสวิสได้ออกมาประกาศมาตรการต่าง ๆ ในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อกอบกู้ธุรกิจวาณิชธนกิจที่ทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแก้ไขความเสี่ยงและการละเมิดข้อปฏิบัติที่ทำให้บริษัทต้องจ่ายเงินมากมาย เพื่อสะสางข้อพิพาททางกฎหมาย “มาตรการขั้นเด็ดขาดเหล่านี้มีแนวโน้มทำให้เกิดการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในธุรกิจวาณิชธนกิจ และเพิ่มต้นทุนด้านการปฏิรูป รวมถึง การเสริมสร้างความแข็งแกร่งและจัดสรรปันส่วนเงินทุน” เครดิตสวิสกล่าว เครดิตสวิสเปิดเผยว่า บริษัทต้องเผชิญภาวะกระแสสินทรัพย์สุทธิไหลออกต่อไป โดยกระแสสินทรัพย์เหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 6% ภายใต้การบริหาร ณ ช่วงสิ้นไตรมาส 4 เครดิตสวิสคาดการณ์ว่า การขาดทุน 75 ล้านฟรังก์สวิสจะเกี่ยวข้องกับการขายหุ้นในออลฟันด์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีความมั่งคั่งของอังกฤษ ขณะที่ เงินฝากและสินทรัพย์ภายใต้การบริหารที่ลดน้อยลงจะนำไปสู่การปรับตัวลงของกำไรดอกเบี้ยสุทธิ ค่านายหน้า และค่าธรรมเนียม ซึ่งเครดิตสวิสคาดว่าจะทำให้ธุรกิจบริหารความมั่งคั่งขาดทุนในไตรมาส 4 โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (23 พ.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »
นายกฯ ลงพื้นที่เพชรบูรณ์พรุ่งนี้ คิกออฟโอนเงินช่วยเหลือผู้ปลูกข้าว ปี 65/66 : อินโฟเควสท์นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เตรียมเป็นประธานในพิธีเปิด KICK OFF มาตรการช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ในวันพรุ่งนี้ (24 พ.ย.) ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งจัดโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อเดินหน้าโครงการสำคัญของรัฐบาลในการส่งมอบความช่วยเหลือ และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร อนึ่ง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 65 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 พร้อมมาตรการคู่ขนาน วงเงินรวม 81,265 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 ก.ย. 66 โดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์มากกว่า 4.68 ล้านครัวเรือน และเริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรตั้งแต่ 24 พ.ย. 65 เป็นต้นไป โดยนายกรัฐมนตรี จะได้ติดตามผลการดำเนินงานภายใต้มาตรการช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ก่อนกล่าวพบปะเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ที่มาร่วมกิจกรรม จากนั้น นายกรัฐมนตรีจะทำพิธีกดปุ่มโอนเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวฯ และจะเป็นประธานสักขีพยานในการมอบสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวฯ การมอบสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกแก่ผู้แทนเกษตรกร และการมอบสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวเปลือกให้แก่ผู้แทนสถาบันเกษตรกร “การจัดงาน …
อ่านเพิ่มเติม »
กองทุนน้ำมันฯ ทยอยกู้ล็อตแรก 3 หมื่นลบ.ในสิ้นปี 65 ก่อนกู้อีก 1.2 แสนลบ.ปี 66 : อินโฟเควสท์นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เปิดเผยว่า ภายหลังจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ผ่อนผันให้ กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับเรียบร้อยแล้วนั้น ทางสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) มีแผนการดำเนินการกู้เงินในปี 2565 รวมทั้งสิ้น 30,000 ล้านบาท โดย สกนช. ได้เริ่ม ดำเนินการกู้เงินจากสถาบันการเงินแล้ว 10,000 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน โดยมีแผนการชำระหนี้ประมาณ 7 ปี ส่วนที่เหลืออีก 120,000 ล้านบาท สกนช. จะทยอยการกู้เงิน และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) และขอความเห็นชอบ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในปี 2566 ตามสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละช่วงเวลาของสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกในขณะนั้น ปัจจุบันประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง วันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 ติดลบ 131,405 ล้านบาท นายวิศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับการประกาศให้มี พ.ร.ก. ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน …
อ่านเพิ่มเติม »
ส.อ.ท.เผยยอดส่งออกรถยนต์ ต.ค.65 โต 15.51%YoY มาที่ 94,228 คัน : อินโฟเควสท์นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือน ต.ค.65 อยู่ที่ 94,228 คัน ขยายตัว 15.51% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 84,917.32 ล้านบาท จาก 71,410.68 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน “ยอดส่งออกขยายตัวดีขึ้นหลังปัญหาชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลาย ทำให้สามารถผลิตได้เพิ่มมากขึ้น ขณะที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้นกว่าจำนวนรถที่ส่งออกไปเนื่องจากเป็นรถยนต์ PPV ทีมีมูลค่าสูงกว่ารถยนต์นั่งและรถยนต์กระบะ” นายสุรพงษ์ กล่าว ขณะที่ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.65) อยู่ที่ 800,672 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.48% โดยมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 727,468.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.60% โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (24 พ.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »
TTB คาดตลาดที่อยู่อาศัยกทม.-ปริมณฑลปี 65 โต 11.6% ได้แนวราบหนุน : อินโฟเควสท์ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 65 เติบโต 11.6% จากการขับเคลื่อนของตลาดแนวราบ ในขณะที่ตลาดอาคารชุดเริ่มเผชิญกำลังซื้อที่ลดลงจากเม็ดเงินที่ซื้อเพื่อการลงทุนอย่างมากจากผู้ซื้อต่างชาติ โดยในระยะถัดไปตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล เตรียมเผชิญข้อจำกัดทั้งฝั่งอุปทานด้านทำเลในการสร้างที่อยู่อาศัย (มีน้อยและต้นทุนสูงขึ้น) และอุปสงค์ที่ลดลงจากกำลังซื้อและโครงสร้างประชากร แนะเร่งสร้างบรรยากาศและกลุ่มผู้ซื้อใหม่ รักษาโมเมนตัมการเติบโต ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล ปี 65 ได้แรงขับเคลื่อนหลักจากตลาดแนวราบเป็นหลัก มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มผู้ซื้อในวัยสร้างครอบครัวและมีความพร้อมทางรายได้เลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบที่มีพื้นที่ส่วนตัว ส่งผลต่อหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยคาดเติบโต 11.6% โดยมีหน่วยโอนที่อยู่อาศัย 187,000 หน่วย บนแรงกดดันฝั่งตลาดอาคารชุดที่แม้เริ่มฟื้นตัวเทียบกับปี 64 แต่เมื่อเทียบกับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ยังลดลงกว่า 26.5% จากการซื้อเพื่อลงทุนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะแรงซื้อจากต่างชาติ ตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบในพื้นที่กรุงเทพฯ เห็นสัญญาณการทำตลาดบ้านเดี่ยวกลุ่มบนสูงขึ้นจากหน่วยโอนที่เพิ่มขึ้น 14.8% โดยเฉพาะกลุ่มกำลังซื้อสูง สะท้อนผ่านราคาเฉลี่ยบ้านเดี่ยวในปี 2565 แตะหลังละ 8.23 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 24.4% เทียบช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19) ในขณะที่กลุ่มกำลังซื้อปานกลาง-ต่ำ เลือกซื้อทาวน์โฮมที่มีหน่วยโอนเพิ่มขึ้น 17.7% จากราคาที่เข้าถึงง่ายเฉลี่ยหน่วยละ 2.97 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคาเฉลี่ยบ้านแฝดที่ 5.5 ล้านบาท สำหรับพื้นที่ปริมณฑล …
อ่านเพิ่มเติม »