TVI มุ่งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่กลุ่ม Motor และ Non-Motor ขับเคลื่อนเบี้ยรับปี 66 เป้านิวไฮ 8 พันลบ. TVI ประกันภัยไทยวิวัฒน์ หุ้นไทย อินโฟเควสท์
นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.
ขณะที่กลุ่ม Non-Motor เตรียมพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยส่วนบุคคลให้มีความหลากหลาย พร้อมเดินหน้าขยายตลาดให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดหัวเมืองใหญ่ และจังหวัดพื้นที่เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ เนื่องจากเป็นตลาดที่ยังมีโอกาสขยายตัวได้ดี ควบคู่ไปกับการมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อต่อยอดการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน ภายใต้การเป็นผู้นำด้าน InsurTech
ภาพรวมผลการดำเนินงานปี 65 บริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 216 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรับที่ถือเป็นรายได้สุทธิเติบโต 15.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อนแตะ 6,252 ล้านบาท ตามเบี้ยประกันภัยรับรวมที่สถิติสูงสุดครั้งใหม่ เติบโตทะลุเป้าหมายแตะ 7,307 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นราว 15.4% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน สาเหตุสำคัญมาจากเบี้ยประกันภัยรถยนต์ เพิ่มขึ้น 16.4% แตะ 6,094 ล้านบาท โดยเฉพาะประกันรถเปิด-ปิด ที่ยังคงได้รับกระแสการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเบี้ยประกันภัยกลุ่ม Non-Motor ที่เพิ่มขึ้นราว 11.0% แตะ 1,213 ล้านบาท จากความมุ่งมั่นคิดค้น พัฒนา นวัตกรรมใหม่ๆ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ได้อย่างลงตัว ภายใต้สโลแกน “คิดเผื่อเพื่อทุกชีวิต”
ค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยเพิ่มขึ้นราว 20% อยู่ที่ 5,265 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นราว 10% อยู่ที่ 856 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับ นับเป็นการตอกย้ำขีดความสามารถในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพระดับสูงต่อเนื่อง จากการนำ Big Data และเทคโนโลยีมาเข้าปรับใช้ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานบริการ และเพิ่มความแม่นยำระบบคัดกรองความเสี่ยงให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้อัตราค่าสินไหมทดแทน อยู่ที่ระดับ 60.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
RS ปี 66 เร่งเครื่องโตทุกมิติดันรายได้ปี 66 ทะยานสู่ 5.5 พันล้าน พร้อมปิดดีล Strategic Partners ใหม่ : อินโฟเควสท์นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อาร์เอส (RS) dล่าวว่า ปี 65 เป็นปีที่ อาร์เอส กรุ๊ป มุ่งเน้นการขยาย Ecosystem ของธุรกิจคอมเมิร์ซ ทั้งเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเสริมศักยภาพสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ ทั้งการเข้าซื้อธุรกิจขายตรงยูไลฟ์ (ULife) จาก บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเป็นทางลัดสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านตัวแทน (People Marketing) และศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับสากล อีกทั้งยังจัดตั้ง บริษัท อาร์เอส เพ็ท ออล์ จำกัด เพื่อสร้าง Petconomy ผลิต จัดจำหน่ายสินค้า และบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงอย่างครบวงจร นอกจากนี้ ยังเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพกว่า 71 SKUs ภายใต้ 4 แบรนด์หลัก ได้แก่ เวลยู, คามูซี, ไวตาเนเจอร์พลัส และไลฟ์เมต สำหรับปี 66 เป็นปีแห่งการขยายธุรกิจในทุกมิติทั้งธุรกิจคอมเมิร์ซและธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ รวมถึงการลงทุนกับพันธมิตรใหม่ๆ […]
อ่านเพิ่มเติม »
BAM ทำผลงานปี65 กำไรกว่า 2.7 พันลบ.โต 5% กางแผนปี 66 วางเป้าผลเรียกเก็บ 1.78 หมื่นลบ.สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -1 มี.ค. 66 15:08 น. BAM โชว์ผลงานปี 2565 อยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีกำไรสุทธิ 2,725 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% เปิดแผนปี 2566 ตั้งเป้าหมายผล...
อ่านเพิ่มเติม »
ครม.จัดงบกลางกว่า 1 พันลบ.นำร่องเศรษฐกิจ BCG ในกองทุนหมู่บ้านฯ : อินโฟเควสท์ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,037.48 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตามที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สทบ.) เสนอ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทั้งนี้ สทบ.ได้ริเริ่มโครงการดังกล่าวเนื่องจากเล็งเห็นความเดือดร้อนของสมาชิกกองทุนฯ ตลอดจนประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านและชุมชนต้องแบกรับภาระเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น แต่ผลผลิตหรือรายได้ลดลง จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินโครงการโดยนำโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG เข้ามาขับเคลื่อน ตามโครงการจะสนับสนุนให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 786 กองทุน ดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจแบบ BCG 5 รูปแบบกิจกรรม ได้แก่ 1.เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ แบบกลางแจ้ง/ระบบเปิด เช่น การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์และจัดทำระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติด้วยโดรน 2.เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะแบบในร่ม/ระบบปิด เช่น การติดตั้งระบบการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วยระบบน้ำหยด 3.เทคโนโลยีผลิตส่งเสริมทางด้านการเกษตรและอาหารครบวงจร เช่น การใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน 4.เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงพลังงาน ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะ เช่น การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาทำปุ๋ยหมัก/จุลินทรีย์ 5.เทคโนโลยีผลิตน้ำดื่มแบบครบวงจร เช่น การใช้ระบบโซล่าเซลล์เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตน้ำดื่ม น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า […]
อ่านเพิ่มเติม »
BCPG รับเงินกู้ 1.1 พันลบ.ลุยสร้างวินด์ฟาร์มนาบาส-2 ในฟิลิปปินส์ COD ปี 68 : อินโฟเควสท์นายนิวัติ อดิเรก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บีซีพีจี (BCPG) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ในฐานะบริษัทผู้ร่วมทุนในบริษัท เพโทรวินด์ เอเนอร์ยี จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนาบาส-2 ได้ร่วมลงนามในสัญญาเงินกู้มูลค่า 1,811 ล้านฟิลิปปินส์เปโซ หรือประมาณ 1,100 ล้านบาท กับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Development Bank of the Philippines) เพื่อนำเงินมาพัฒนาและก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนาบาส -2 ขนาดกำลังการผลิต 13.2 เมกะวัตต์ บนเกาะวิซายัส เมืองนาบาสของฟิลิปปินส์ หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการลงนามในสัญญาจ้างออกแบบวิศวกรรม จัดหาและก่อสร้างโครงการฯ เมื่อปลายปี 65 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทคาดว่าโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนาบาส-2 จะสามารถก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 68 “บริษัทมั่นใจว่าโรงไฟฟ้าพลังงานลมนาบาส-2 ขนาดกำลังการผลิต 13.2 เมกะวัตต์ จะดำเนินการสำเร็จลุล่วงและเปิดขายไฟฟ้าได้ในปี 68 ตามแผน โดยโครงการ นาบาส-2 ได้รับสิทธิ์การขายไฟฟ้าในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสีเขียว (Green Energy Auction Program) ของฟิลิปปินส์ […]
อ่านเพิ่มเติม »
CHOW มั่นใจก้าวสู่ปีทองเศรษฐกิจฟื้นดันเหล็ก-ไฟฟ้าโตหลังปี 65 พลิกกำไร 1.16 พันลบ. : อินโฟเควสท์นายปรมัตถ์ จุฬวนิช ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO) บมจ.เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ (CHOW) กล่าวว่า ในปี 66 CHOW มีทิศทางเติบโตต่อเนื่องจากปี 65 หลังจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการทั้งในธุรกิจเหล็ก และธุรกิจพลังงาน โดยในธุรกิจเหล็กเชื่อว่าปัจจุบันได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและเริ่มเข้าสู่ช่วงทยอยฟื้นตัว ปัจจัยหนุนจะมาจากการเริ่มฟื้นตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ของทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ใช้ในธุรกิจก่อสร้างฟื้นตัวในทิศทางเดียวกัน ธุรกิจเหล็กของ CHOW แบ่งรายได้ออกเป็นในกลุ่มการผลิตเหล็กแท่งทรงยาวตามสัญญารับจ้างผลิตให้กับลูกค้ารายใหญ่ซึ่งคาดว่าในปี 2566 จะสามารถผลิตและส่งมอบได้มากกว่าปี 2565 ในขณะที่ธุรกิจเทรดดิ้งหรือซื้อมาขายไปในส่วนของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมาตรฐาน คาดว่าจะขายได้ไม่น้อยกว่า 280,000 ตัน ในปี 66 จาก 150,000 ตันในปี 65 ส่วนธุรกิจพลังงานมีทิศทางเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยหลักยังมาจากต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นยังมีปัจจัยภาคเอกชนรายใหญ่ให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม และให้ความร่วมมือแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ โดยตั้งเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ net zero โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการส่งออก และภาครัฐให้การสนับสนุนทั้งมาตรการด้านภาษีในกลุ่มภาคธุรกิจ และโครงการการรับซื้อไฟฟ้าตามมาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Feed-in Tariff: FiT) อัตรารับซื้ออยู่ที่ 2.20 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี […]
อ่านเพิ่มเติม »