TTB คาดปี 66 เงินบาท 36.50 บาท/ดอลลาร์ รับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้นเร็ว... อ่านต่อ efinanceThai
ttb analytics ประเมินทิศทางค่าเงินบาทสิ้นปี 66 กลับมาอยู่ที่ระดับ 36.50 บาทต่อดอลลาร์ รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็ว แนะธุรกิจเตรียมรับมือกับความผันผวนระยะสั้น
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 65 เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า จากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยนับตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้วถึง 3.00% และคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 50 Basis Points อีก 1 ครั้งในการประชุมเดือนธันวาคมของปีนี้ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังคงปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปรับเพิ่มขึ้นเพียง 0.
เงินบาทที่อ่อนค่าลงส่งผลต่อผู้ส่งออกและนำเข้า โดยการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อผู้ส่งออก โดยจะได้รายรับจากการส่งออกสินค้าและบริการมากขึ้นเมื่อคำนวณกลับมาในสกุลเงินบาท อย่างไรก็ตาม แม้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ของไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงเกือบ 60% แต่การอ่อนค่าของเงินบาทกลับไม่ได้ส่งผลดีกับการส่งออกมากนัก เนื่องจากประเทศคู่ค้าของไทยไม่ได้มีแค่สหรัฐอเมริกา แต่ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่ค่าเงินมีการอ่อนค่าลงมากกว่าไทยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เช่น เงินเยน เงินยูโร เงินปอนด์ เงินวอน เป็นต้น...
ในทางกลับกัน ผู้นำเข้าก็จะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง เนื่องจากต้องนำเข้าสินค้าในราคาที่สูงขึ้น จากผลการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า การนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่ถึง 75% ถูกตั้งราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น การอ่อนค่าลงของเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐ อาจส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าและบริการในประเทศเพิ่มเติมได้ เงินบาทที่อ่อนค่าลงต่อเนื่องจึงอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในประเทศได้จากการส่งผ่านต้นทุนนำเข้าสินค้า...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ราคาทองวันนี้ ปิดตลาดขึ้น 250 บาท เหตุดอลลาร์อ่อนรอบเดือนครึ่งราคาทองวันนี้ ปิดตลาด ปรับตัวขึ้น 250 บาท ต่างประเทศทะลุ 1,700 ดอลลาร์/ออนซ์ เหตุดอลลาร์อ่อนค่ารอบเดือนครึ่ง อ่านรายละเอียด PPTVHD36 เรื่องข่าวเรื่องใหญ่ ราคาทองวันนี้ เฟด
อ่านเพิ่มเติม »
ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้า 'ทรงตัว' ตลาดรอผลเลือกตั้งสหรัฐ-ตัวเลขเงินเฟ้อค่าเงินบาท เปิดตลาด 36.8210 บาทต่อดอลลาร์ “แกว่งตัว” จากปิดวันก่อนหน้าที่ 36.85 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ อยู่ที่ 36.75-37.05 บาท/ดอลลาร์ อ่านเพิ่มเติม : ค่าเงินบาท เฟด เลือกตั้งสหรัฐ ดอกเบี้ยเฟด เงินเฟ้อ PPTVHD36
อ่านเพิ่มเติม »
เงินบาทเปิด 36.86 อ่อนค่าจากวานนี้ ให้กรอบ 36.70-37.05 จับตาเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้ : อินโฟเควสท์นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 36.86 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 36.77 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทอ่อนค่า ขณะที่สกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสม เนื่องจากผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ แม้ผลการนับคะแนนยังไม่สรุป แต่พรรคริพับลิกันได้คะแนนเสียงน้อยกว่าคาด ประกอบกับตลาดสินทรัพย์เสียงพักฐาน ส่งผลให้เมื่อคืนนี้ ดอลลาร์แข็งค่า นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.70 – 37.05 บาท/ดอลลาร์ ส่วนปัจจัยหลักที่ต้องติดตามคืน นี้ คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ THAI BAHT FIX 3M (9 พ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.30829% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.61633% ปัจจัยสำคัญ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 146.32 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 145.75 เยน/ดอลลาร์ เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0020 …
อ่านเพิ่มเติม »
กอบศักดิ์ คาดดัชนีปลายปีนี้อยู่ที่ 1,685 จุด ได้แรงหนุน Flow ไหลเข้า, คาดปี 66 ผันผวนจากวิกฤตตลาดเกิดใหม่ : อินโฟเควสท์นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่า FETCO ประเมินดัชนีฯ ปลายปี 65 จะอยู่ที่ระดับ 1,685 จุด สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวในปัจจุบันที่ 1,585-1,709 จุด จากเงินทุนต่างชาติที่ยังคงไหลเข้าต่อเนื่อง หลังกองทุนต่างๆ อยู่ในช่วงของการปรับพอร์ตการลงทุน และมีการ Relocate มาในตลาดหุ้นที่มีเสถียรภาพ โดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่นักลงทุนมองว่าเป็น Safe Haven อีกทั้งภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี หลังจากในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยแล้วกว่า 6 ล้านคน และคาดว่าจะแตะระดับ 10 คน ภายในช่วงสิ้นปีนี้ รวมถึงดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่เริ่มเป็นบวก ทำให้ค่าเงินบาทเริ่มกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามมองปัจจัยบวกดังกล่าวถือเป็นภาพระยะสั้น เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) น่าจะยังออกมาส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพื่อคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ 2% ขณะเดียวกันก็มีเรื่องของ Recession หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รออยู่ข้างหน้าด้วย เนื่องจากมองว่าปี 66 เศรษฐกิจโลกน่าจะผันผวนมากขึ้น รวมถึงตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ก็น่าจะมีความผันผวนด้วยจากประเทศที่มีดอกเบี้ยพันธบัตรสูง และไม่สามารถชำระหนี้ได้ …
อ่านเพิ่มเติม »