การเร่งผลักดันเมกะโปรเจกต์เหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี มูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาท ของบริษัทเอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด เครืออิตาเลียนไทย
ในการขอรับประทานบัตรจากกระทรวงอุตสาหกรรม มีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่า งานนี้เป็นการฉวยโอกาสของ “ครม.ลุง” ในช่วงโค้งอันตรายที่เสถียรภาพรัฐบาลกำลังง่อนแง่นเต็มทนหรือไม่ แม้จะมีคำอธิบายว่า เพื่อแก้ปัญหา “ปุ๋ยราคาแพง” ก็ตาม
ส่วนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ทางตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ร้อยละ 63 เลือกที่จะให้มีการพัฒนาโครงการทำเหมืองบางพื้นที่อย่างมีเงื่อนไข กล่าวคือ มีมาตรการเพื่อลดกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน มีการจัดสรรค่าภาคหลวงแร่มาใช้พัฒนาชุมชนอย่างเหมาะสม และผู้ได้รับผลกระทบจะต้องได้รับค่าชดเชยที่เหมาะสม
การออกแรงดันโครงการเหมืองแร่โปแตช เพื่อต่อยอดสู่การตั้งโรงงานแม่ปุ๋ยหรือโครงการปุ๋ยแห่งชาติ เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาให้ความสำคัญหลังจากราคาปุ๋ยพุ่งกระฉูดจากผลพวงสงครามความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ตามที่ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์สื่อก่อนหน้านี้ว่า ไทยมีแผนที่จะสร้างโรงงานแม่ปุ๋ย หรือโครงการปุ๋ยแห่งชาติ โดยจะใช้วัตถุดิบที่ผลิตขึ้นในประเทศนำมาเป็นส่วนผสมสำคัญในการผลิตปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยโพแทสเซียม...
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานราคาปุ๋ยเคมีสูตรสำคัญ ตั้งแต่ ม.ค.-พ.ค. ว่าปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 ราคาขายปลีกท้องถิ่นเดือนพ.ค. อยู่ที่ 27,200 บาทต่อตัน, แม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 ราคาขายปลีกท้องถิ่น เดือน พ.ค. อยู่ที่ 25,204 บาทต่อตัน และปุ๋ยสูตร 16-20-0 ราคาขายปลีกท้องถิ่นเดือนพ.ค.อยู่ที่ 20,313 บาทต่อตัน
สำหรับโครงการเหมืองแร่โปแตช อุดรธานี ตั้งไข่มาตั้งแต่ปี 2524 โดยบริษัทบริษัท ไทยอะกริโก โปแตซ จำกัด ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้รับสิทธิสำรวจและผลิตแร่โพแตชในบริเวณจังหวัดอุดรธานีจากกระทรวงอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม เป็นที่รับรู้กันว่า โครงการเหมืองโปแตช อุดรธานี ถือเป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับการคัดค้านมากที่สุดจากชุมชนในนามกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี โดยมีเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ หนุนเสริม เนื่องจากเกรงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมอันเป็นเศรษฐกิจหลักของชุมชนจากปัญหาการขยายตัวของดินเค็มและน้ำเค็มจากการแต่งแร่ รวมทั้งความเค็มของกองเกลือจำนวนมหาศาล รวมทั้งผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษขณะทำเหมือง ฝุ่นเกลือ ฯลฯ...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
แบงก์ชาติไฟเขียว ต่ออายุมาตรการจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต 5% จนถึงปี 66ธนาคารแห่งประเทศไทย ไฟเขียว ต่ออายุมาตรการ จ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต 5% ไปจนถึงปี 66 จ่ายขั้นต่ำ 8% ในปี 67 กลับสู่เกณฑ์ปกติที่ 10% ตั้งแต่ปี 68
อ่านเพิ่มเติม »
AOT เกาะติดจีนเปิดประเทศ ตัวแปรผู้โดยสารใช้สนามบินคึก คาดปี 67 พุ่ง 142 ล้านคน ฟื้นตัวเท่าก่อนเกิดโควิดนายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ 2565 บริษัทคาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการสนามบิน 6 แห่งรวม 45 ล้านคน ฟื้นตัว 33% และจะกลับมาฟื้นตัวเทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ในปีงบประมาณ 2567 ที่จำนวน 142
อ่านเพิ่มเติม »
ข่าวดี “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำนมดิบใหม่ 2.25 บาทต่อกิโลกรัม“นัยฤทธิ์ จําเล” ประธานชุมนุมโคมนม แจ้งข่าวดี สมาชิก/ สหกรณ์ “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำนมดิบ 'นมโรงเรียน' ใหม่ 2.25 บาท/กิโลกรัม ลุ้น เข้า ครม. สัปดาห์หน้า
อ่านเพิ่มเติม »
ยอดติดเชื้อฝีดาษลิงพุ่ง 3 เท่าในยุโรป อนามัยโลกเร่งควบคุมการระบาด : อินโฟเควสท์องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนเมื่อวันศุกร์ (1 ก.ค.) ว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงในยุโรป เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้น 3 เท่าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา WHO ระบุว่า ยุโรปเป็นศูนย์กลางการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงทั่วโลก โดย 90% ของผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันนั้นพบอยู่ในประเทศแถบยุโรป ทั้งนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งขึ้น 3 เท่านับตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. โดยมีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันจำนวน 4,500 รายใน 31 ประเทศของยุโรป นายอองรี คลูเก หัวหน้าเจ้าหน้าที่ของ WHO ภาคพื้นยุโรปเรียกร้องให้รัฐบาลต่าง ๆ เพิ่มความพยายามในการป้องกันโรคฝีดาษลิงไม่ให้เกิดขึ้นเองในทวีปยุโรป โดยเตือนว่าเวลาเป็นสิ่งสำคัญ “การดำเนินการอย่างเร่งด่วนและประสานงานกันเป็นสิ่งจำเป็น หากเราต้องรีบสกัดกั้นการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของโรคนี้” นายคลูเก กล่าว สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า เมื่อวันเสาร์ที่แล้ว (25 มิ.ย.) WHO ลงมติไม่ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังระดับสูงสุดของ WHO อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ของ …
อ่านเพิ่มเติม »
เปิดเหตุผลยอดใช้ “ดีเซล” พุ่ง แม้ราคาทะยานขึ้นไม่หยุดเปิดเหตุผลยอดการใช้น้ำมัน “ดีเซล” ในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2565 แม้ว่าราคาน้ำมันจะยังคงมีราคาสูง อีกทั้ง 'กระทรวงพลังงาน' ได้เริ่มทะยอยลดการอุดหนุนลงและปรับขึ้นครั้งละลิตรละ 1 บาท อ่านต่อ: กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม »