'หัวเว่ย' เร่งดันนวัตกรรมอีโคซิสเต็ม 'ระบบคลาวด์ และ AI' ในประเทศไทย ปูเส้นทางสู่อนาคตดิจิทัล ชี้ การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ จะสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นกับความสามารถ AI ที่นำมาใช้สร้างความต่างชัดเจนให้องค์กรแค่ไหน เผย 'AI Pangu' (ผ่านกู่) เวอร์ชั่นไทยมาแน่ปี 67
ดร.ชวพล เสริมว่า หัวใจสำคัญของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้นอกจากจะขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการประมวลผลของแต่ละอัลกอริทึมหรือระบบที่แตกต่างกันแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ของตนเองด้วย ซึ่งจุดนี้เองที่อาจจะเป็นส่วนที่ประเทศไทยยังขาด เพราะปัจจุบันยังมีการขาดความรู้ความเข้าใจตลอดจนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสากรรมนั้นๆ
“ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี AI Pangu มาใช้ในอุตสาหกรรมการทำเหมืองที่มีความเสี่ยงสูงในด้านอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดร้ายแรง ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ได้ การนำ AI มาใช้ช่วยลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานที่มีความอันตรายได้ ด้วยการระบบการจัดการปฏิบัติงาน รวมถึงช่วยตรวจสอบความผิดพลาดได้ทันที" โดยหน่วยงานการพยากรณ์อากาศแห่งทวีปยุโรป ได้นำโมเดลการพยากรณ์อากาศของ Pangu ไปใช้งาน และสามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำที่สุดเท่าที่เคยทำมา โดย Pangu สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำ ภายในเวลาเพียง 10 วินาที ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ทำให้ผู้คนสามารถทราบสภาพอากาศ ที่แม่นยำได้แทบจะทันที
ยกอีกตัวอย่างที่น่าสนใจของการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ในองค์กรภาคเภสัชกรรม ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาประมวลเพื่อพัฒนาแนวทางการ และประมวลผลข้อมูลยาเพื่อการรักษารักษาผู้ป่วย ได้อย่างรวดเร็วในธุรกิจแฟชั่นของประเทศจีน ยังได้นำ AI ของ Pangu มาใช้ เพื่อวิเคราะห์เทรนด์แฟชั่นในอนาคต รวมถึงการช่วยตรวจสอบและป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในชิ้นงานออกแบบใหม่ๆ