Power of The Act: การซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซื้อขายไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน อาเซียน ไฟฟ้า อินโฟเควสท์
ความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในขณะที่ความต้องการใช้พลังงานมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นนั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยไฟฟ้าที่ผลิตจากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียน
นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงก็อาจเป็นบริเวณที่ไม่ได้มีทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนอย่างอุดมสมบูรณ์ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้ หากระบบส่งไฟฟ้า สามารถเกิดขึ้นได้ในรูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ แบบทวิภาคี แบบพหุภาคี และแบบรวมกันเป็นปึกแผ่น การซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคีนั้นอาจเกิดขึ้นในรูปแบบการไหลเวียนของไฟฟ้าแบบหลายทิศทาง ระหว่างตลาดไฟฟ้าหลาย ๆ ตลาดผ่านสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือการซื้อขายไฟฟ้าในตลาดไฟฟ้าที่ถูกพัฒนาให้มีความกลมกลืนสอคล้องกันแล้ว ซึ่งมีจะเกิดขึ้นในกรณีที่มีไฟฟ้าเหลือในตลาดภายในประเทศซึ่งจะมีการขายไปยังต่างประเทศโดยมีองค์กรระดับภูมิภาคทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทานส่วนเกิน และทำหน้าที่จัดการให้อุปสงค์และอุปทาน และเก็บเงินจากการซื้อขาย เช่น...
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เลือกที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการส่งไฟฟ้ากันในระดับภูมิภาคผ่าน “Memorandum of Understanding on the ASEAN Power Grid” ข้อ 1 ของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวระบุถึงวัตถุประสงค์ของความร่วมมือเอาไว้ว่า “ภายในบังคับของเงื่อนไขของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายในประเทศซึ่งบังคับในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละประเทศ ประเทศสมาชิกตกลงที่จะเสริมสร้างและส่งเสริมกรอบความร่วมมือแบบกว้าง ๆ ในการร่วมมือกันพัฒนานโยบาย ASEAN...
ข้อกำหนดข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการซื้อขายและส่งไฟฟ้าระหว่างประเทศนั้นจำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นและตกอยู่ในบังคับของกฎหมายที่ “มีความสอดคล้องกัน” ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดประเด็นให้ต้องพิจารณาว่าความสอดคล้องกันดังกล่าวนี้มีความหมายและขอบเขตในการพิจารณาอย่างไรผู้เขียนมีความเห็นว่าประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้นมีทั้งประเด็นที่เป็นเรื่องภายในของแต่ละประเทศโดยเฉพาะ...
และตามมาตรา 82 ในกรณีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเห็นว่าข้อกำหนดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้บริการระบบโครงข่ายพลังงาน และข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติการระบบโครงข่ายพลังงานไม่เป็นไปตามหลักการตามมาตรา 81 ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตที่ออกข้อกำหนดดังกล่าวแก้ไขหรือปรับปรุงข้อกำหนดให้เป็นไปตามหลักการตามมาตรา 81 ได้Grid Code คือเอกสารทางเทคนิคมีประกอบด้วยกฎเกณฑ์ ขั้นตอน แนวการปฏิบัติ เกณฑ์...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ วิตกเศรษฐกิจโลกถดถอยกดดันตลาด : อินโฟเควสท์ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบในวันอังคาร (6 ธ.ค.) โดยลดลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันแล้ว หลังหุ้นกลุ่มเฮลท์แคร์และกลุ่มเทคโนโลยีที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยร่วงลง ขณะที่นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวก่อนธนาคารกลางรายใหญ่ประชุมกำหนดนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 438.92 จุด ลดลง 2.55 จุด หรือ -0.58% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,687.79 จุด ลดลง 9.17 จุด หรือ -0.14%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,343.19 จุด ลดลง 104.42 จุด หรือ -0.72% และ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,521.39 จุด ลดลง 46.15 จุด หรือ -0.61% ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลง เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งได้บดบังปัจจัยบวกจากการที่จีนผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 …
อ่านเพิ่มเติม »
ดาวโจนส์ปิดร่วง 350.76 จุด เหตุวิตกศก.สหรัฐถดถอย : อินโฟเควสท์ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร (6 ธ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการที่ผู้บริหารธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐออกมาเตือนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,596.34 จุด ร่วงลง 350.76 จุด หรือ -1.03%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,941.26 จุด ลดลง 57.58 จุด หรือ -1.44% และ ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,014.89 จุด ร่วงลง 225.05 จุด หรือ -2.00% นายเจมี ไดมอน ซีอีโอของธนาคารเจพีมอร์แกน เชส ให้สัมภาษณ์ในรายการ “Squawk Box” ของสำนักข่าวซีเอ็นบีซีเมื่อวานนี้ว่า วิกฤตเงินเฟ้อกำลังกัดกร่อนทุกสิ่งและอาจฉุดให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า พร้อมกับกล่าวว่า การที่เฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแตะระดับสูงสุดที่ 5% ก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะสกัดเงินเฟ้อ ทางด้านนายไบรอัน มอยนิฮาน ซีอีโอของแบงก์ ออฟ อเมริกา กล่าวในการประชุมด้านการเงินซึ่งจัดขึ้นโดยโกลด์แมน …
อ่านเพิ่มเติม »
ทองปิดบวก $1.1 รับอานิสงส์บอนด์ยีลด์ร่วง : อินโฟเควสท์สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (6 ธ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อย่างไรก็ดี สัญญาทองคำขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยและยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 1,800 ดอลลาร์ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 1.1 ดอลลาร์ หรือ 0.06% ปิดที่ 1,782.4 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 8.2 เซนต์ หรือ 0.37% ปิดที่ 22.335 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 12.1 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 995.4 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 9.80 ดอลลาร์ หรือ 0.5% ปิดที่ 1,851.50 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาทองคำดีดตัวขึ้น หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีลดลงสู่ระดับ 3.561% …
อ่านเพิ่มเติม »
น้ำมัน WTI ปิดร่วง $2.68 วิตกศก.โลกซบเซาฉุดดีมานด์ชะลอตัว : อินโฟเควสท์สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปีในวันอังคาร (6 ธ.ค.) ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงหลุดจากระดับ 80 ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งผลกระทบของการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 2.68 ดอลลาร์ หรือ 3.5% ปิดที่ 74.25 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2564 ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 3.33 ดอลลาร์ หรือ 4% ปิดที่ 79.35 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค. 2565 สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดร่วงลงมากกว่า 1% ติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ …
อ่านเพิ่มเติม »
'สแตนชาร์ด' คาดราคาทองพุ่ง 30% แตะระดับ $2,250 ในปีหน้า : อินโฟเควสท์ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ออกรายงานคาดการณ์ว่า ราคาทองจะพุ่งขึ้น 30% สู่ระดับ 2,250 ดอลลาร์/ออนซ์ในปีหน้า ทั้งนี้ นายเอริค โรเบิร์ตเซน หัวหน้านักวิจัยระดับโลกของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ออกรายงานชื่อ “เรื่องเซอร์ไพรส์ของตลาดการเงินในปี 2566” หรือ “The financial-market surprises of 2023” โดยได้ระบุถึงเหตุการณ์หลายอย่างที่อาจเกิดขึ้นในปีหน้า ซึ่งตลาดได้มองข้ามไป หนึ่งในเหตุการณ์ในรายงานดังกล่าวคือการที่ราคาทองจะพุ่งขึ้น 30% สู่ระดับ 2,250 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยได้แรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่นักลงทุนพากันเข้าซื้อทองเพื่อหาเสถียรภาพ ท่ามกลางความผันผวนในตลาดหุ้น นอกจากนี้ นายโรเบิร์ตเซนคาดการณ์ว่า บิตคอยน์จะทรุดตัวลงสู่ระดับ 5,000 ดอลลาร์ ซึ่งหากเป็นจริงตามรายงาน ก็หมายความว่าบิตคอยน์จะดิ่งลงราว 70% จากในขณะนี้ที่ระดับ 17,000 ดอลลาร์ “แรงเทขายบิตคอยน์จะรุนแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทคริปโทฯ และกระดานเทรดจำนวนมากเผชิญกับการขาดแคลนสภาพคล่อง ทำให้เกิดการล้มละลายมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อสินทรัพย์ดิจิทัล” รายงานระบุ ทั้งนี้ บิตคอยน์ได้ทรุดตัวลงมากกว่า 60% ในปีนี้ หลังจากเผชิญกับข่าวอื้อฉาวมากมายเกี่ยวกับการล่มสลายของอุตสาหกรรมคริปโทฯ โดยล่าสุด …
อ่านเพิ่มเติม »
GDP ออสซี่ขยายตัวเร็วสุดในรอบ 100 ปีใน Q3 รับอานิสงส์ศก.ฟื้นตัวจากโควิด : อินโฟเควสท์สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) รายงานในวันนี้ (7 ธ.ค.) ว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 3/2565 ของออสเตรเลียขยายตัวในอัตรารวดเร็วที่สุดในรอบ 100 ปี โดยได้แรงหนุนจากการที่รัฐบาลออสเตรเลียเปิดประเทศ ซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ GDP ไตรมาส 3/2565 ของออสเตรเลียขยายตัว 5.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 6% นอกจากนี้ GDP ไตรมาส 3 ของออสเตรเลียยังขยายตัวเร็วกว่า GDP ของจีนเมื่อเทียบเป็นรายปี อย่างไรก็ดี GDP ไตรมาส 3 ขยายตัวเพียง 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีการขยายตัว 0.9% และเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.7% เนื่องจากการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า การดำเนินนโยบายคุมเข้มด้านการเงินกำลังส่งผลให้อุปสงค์อ่อนแรงลง ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) คาดการณ์ว่า การขยายตัวโดยเฉลี่ยของ GDP ในปี 2565 จะอยู่ที่ 4% …
อ่านเพิ่มเติม »