เรื่องเล่าเช้านี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพถ่าย “ดาวเสาร์” ในช่วงใกล้โลกที่สุดในรอบปี บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร สังเกตวงแหวนบางได้อย่างชัดเจน หลังจากนี้ ดาวเสาร์จะยังคงปรากฏบนท้องฟ้าไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และวงแหวนจะปรากฏบางลงเรื่อย ๆ
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2567 ดาวเสาร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ กล่าวคือ ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่างจากโลกประมาณ 1,295 ล้านกิโลเมตร เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์จะเริ่มปรากฏทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า
สำหรับบรรยากาศสังเกตปรากฏการณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของไทยมีฝนตกและมีเมฆมากจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นยางิ และมรสุมตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม หลายพื้นที่สามารถสังเกตเห็นดาวเสาร์ได้ด้วยตาเปล่า และหากสังเกตดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นวงแหวนปรากฏค่อนข้างบาง เนื่องจากระนาบวงแหวนของดาวเสาร์เอียงทำมุมกับโลกเพียงประมาณ 4 องศา และจากนี้มุมเอียงจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.
ผู้ที่พลาดชมดาวเสาร์ในคืนใกล้โลกที่สุดในรอบปี หลังจากนี้ดาวเสาร์จะยังคงปรากฏบนท้องฟ้าสังเกตได้ตั้งแต่หัวค่ำไปจนถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2568 หากคืนใดสภาพอากาศดีจะสามารถสังเกตดาวเสาร์ได้ด้วยตาเปล่า หรือชมผ่านกล้องโทรทรรศน์ได้ทุกคืนวันเสาร์ กับกิจกรรม NARIT Public Night ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และสงขลา และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป สามารถร่วมกิจกรรมได้ที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ.
ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ใกล้โลกครั้งต่อไป คือ “ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ในวันที่ 8 ธันวาคม 2567 ตามเวลาประเทศไทย ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างชัดเจน เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงรุ่งเช้าวันถัดไป
เรื่องเล่าเช้านี้ โหนกระแส เรื่องเด่นเย็นนี้ ข่าว3มิติ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ ข่าวนอกลู่ ขันข่าวเช้าตรู่ Flashnews ข่าวล่าสุด
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ชมภาพ 'ดาวเสาร์' ใกล้โลกที่สุดในรอบปี | Thai PBS รายการไทยพีบีเอส8 ก.ย. 67 เป็นวันที่ 'ดาวเสาร์' โคจรมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียง...
อ่านเพิ่มเติม »
8 ก.ย. “ดาวเสาร์” โคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบปี NARIT ชี้จากโลกจะเห็นแบบ 'ไร้วงแหวน' เห็นได้ในทุก ๆ 15 ปีเรื่องเล่าเช้านี้
อ่านเพิ่มเติม »
8 ก.ย.นี้ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี ชวนส่องกล้องชมความสวยงามกับ NARITวันที่ 4 ก.ย.67 เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความระบุว่า...
อ่านเพิ่มเติม »
เปิดภาพ 'ดาวเคราะห์น้อย 2024 RW1' ตกเหนือท้องฟ้าฟิลิปปินส์ดาวเคราะห์น้อย '2024 RW1' ปรากฏให้เห็นเป็นลูกไฟสว่างวาบเหนือน่านฟ้าฟิลิปปินส์ เมื่อคืนที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา หลังถูกค้นพบเพียง 8 ชั่วโมงก่อนพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ไม่มีรายงานความเสียหาย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หรือ NARIT เปิดคลิปวิดีโอบันทึกวินาที 'ดาวเคราะห์น้อย 2024 RW1' หรือ 'CAQTDL2' ที่พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก เมื่อคืนที่ 4 ก.
อ่านเพิ่มเติม »
16 ส.ค.นี้ ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพมหานคร อีกครั้ง!วันที่ 14 ส.ค.67 เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความระบุว่า... วันที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลาประมาณ 12:22 น.
อ่านเพิ่มเติม »
NARIT ชวนชม 'ฝนดาวตกเจมินิดส์' อัตราการตกเฉลี่ย 120-150 ดวงต่อชั่วโมงคนรักดวงดาวต้องไม่พลาด สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมปรากฏการณ์ 'ฝนดาวตกเจมินิดส์' คืน 14-เช้า 15 ธ.ค.
อ่านเพิ่มเติม »