IMF เตือนว่าวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนอาจกัดกร่อนการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกซึ่งกำลังอ่อนแรง
และเมื่อบวกกับผลกระทบจากการกระจายความเสี่ยงและย้ายฐานผลิตกลับประเทศของสหรัฐและพันธมิตร อาจทำให้ผลผลิต ของเอเชียแปซิฟิกซึ่งมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับเศรษฐกิจจีนลดลงมากถึง 10% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
“ในระยะเวลาอันใกล้นี้ การปรับตัวอย่างรวดเร็วในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนี้มหาศาลของจีน และการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะแผ่ขยายไปยังภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการเชื่อมโยงทางการค้าอย่างใกล้ชิดกับจีน” ยาน แคร์ริเออร์-สวอลโลว และกฤษณะ ศรีนิวาสัน เขียนในรายงานที่เผยแพร่ในวันที่ 13 ตุลาคม ในงานประชุมประจำปีของ IMF และธนาคารโลก ที่ประเทศโมร็อกโก
IMF บอกอีกว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังเผชิญกับอุปสรรค ด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่บางประเทศกำลังกระจายห่วงโซ่อุปทานเพื่อลดความเสี่ยงและย้ายการผลิตกลับประเทศ Advertisement ก่อนหน้านี้ IMF ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเอเชียแปซิฟิกในปี 2024 ลงเหลือ 4.2% โดยปรับลดลงจาก 4.4% ในการคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายน 2023 ส่วนประมาณการปี 2023 ยังคงไว้ที่โต 4.6% เป็นอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นจาก 3.9% ในปี 2022
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ถ้าไม่มีปัจจัยเสี่ยงใหม่ ตลาดมีโอกาสฟื้นตัวIMF คง GDP โลกปี 2566 แต่ปรับลดคาดการณ์ปี 2567 รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ฉบับก.ย.66 IMF คงคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกปี 2566 ที่ 3%
อ่านเพิ่มเติม »
IMF อนุมัติเบื้องต้นออกเงินกู้ 3 พันล้านดอลลาร์ให้ปากีสถาน : อินโฟเควสท์สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า โครงการเงินกู้มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ของปากีสถานได้รับการอนุมัติเบื้องต้นจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่รัฐบาลปากีสถานจะผิดนัดชำระหนี้ IMF ระบุว่า ข้อตกลงระดับเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบริหารของ IMF โดยคาดว่าจะมีการพิจารณาข้อตกลงดังกล่าวช่วงกลางเดือนก.ค. ทั้งนี้ ปากีสถานนับเป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของ IMF โดยได้รับเงินช่วยเหลือเกือบ 24 ครั้งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 IMF ระบุว่า เงินกู้ก้อนดังกล่าวจะสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลปากีสถานในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หลังเผชิญภาวะตื่นตระหนกจากต่างประเทศเมื่อไม่นานมานี้ รวมถึง รักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค และจัดเตรียมกรอบการทำงานสำหรับการจัดหาเงินทุนจากพันธมิตรพหุภาคีและทวิภาคี ปากีสถานตกลงที่จะปรับขึ้นภาษีและลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้ IMF ยอมอนุมัติเงินกู้ ในช่วงไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่โครงการปล่อยเงินกู้ก่อนหน้านี้จะสิ้นสุดลง โดยปากีสถานต้องการเงินกู้เพื่อจัดการกับวิกฤตค่าเงินดอลลาร์ บรรเทาปัญหาการขาดแคลนอุปทาน และผลักดันให้เศรษฐกิจหลุดพ้นจากภาวะวิกฤตก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งในปีนี้ ปากีสถานเผชิญกับปัญหาหนี้ต่างประเทศประมาณ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์สำหรับปีงบประมาณ 2567 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนก.ค. ที่สูงกว่าเงินทุนสำรองของประเทศกว่า 6 เท่า มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิสได้ออกมาเตือนในเดือนนี้ว่า ปากีสถานอาจผิดนัดชำระหนี้ได้หากปราศจากเงินกู้ของ IMF เนื่องจากเงินทุนสำรองที่อยู่ในระดับต่ำมาก โดยปากีสถานคือ 1 ใน 3 ประเทศสุดท้ายในเอเชียใต้ที่หันไปพึ่งพาเงินทุนจาก IMF เนื่องจากความล่าช้าในการปฏิรูปและการทำข้อตกลงกับเจ้าหนี้ […]
อ่านเพิ่มเติม »
“เยอรมนี” ฟอร์มตก “เศรษฐกิจอ่อนแอที่สุดในโลก”“เยอรมนี” ที่ได้ชื่อว่า “เศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุด” ประเทศหนึ่งของโลก ตกอยู่ใน “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศ “ใช้จ่ายลดลงมากที่สุดของยุโรป” หลังราคาพลังงานพุ่งสูง ด้าน IMF ชี้ กลายเป็นประเทศ “เศรษฐกิจอ่อนแอที่สุดปีนี้” ฐานเศรษฐกิจ เยอรมนี
อ่านเพิ่มเติม »
IMF เตือนความไม่แน่นอน “นโยบายการเงินญี่ปุ่น” เสี่ยงลุกลามทั่วโลกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางของนโยบายการเงินของญี่ปุ่น โดยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดการเงินทั่วโลก
อ่านเพิ่มเติม »
IMF คาดเศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 2.8IMF คาดเศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 2.8 ภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวร้อยละ 4.6 ขณะที่ 3 องค์กร IMF, ADB, คลังอาเซียน+3 เตือนเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะสูงขึ้น และความผันผวนการเงินโลก…
อ่านเพิ่มเติม »
IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์ “เศรษฐกิจเอเชีย” โต 4.6% มองจีน-อินเดีย หนุนการเติบโตของโลกราวครึ่งหนึ่งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าว CNBC รายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพิ่มการคาดการณ์สำหรับเอเชียแปซิฟิก โดยมองว่าการเติบโตของภูมิภาคนี้จะได้รับแรงหนุนหลักจากการฟื้นตัวของจีนและการเติบโตที่ยืดหยุ่นในอินเดีย
อ่านเพิ่มเติม »