IMF เตือนโลกแบ่งขั้วอำนาจเศรษฐกิจ ส่อฉุด GDP สูงถึง 7%

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

IMF เตือนโลกแบ่งขั้วอำนาจเศรษฐกิจ ส่อฉุด GDP สูงถึง 7%
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 ktnewsonline
  • ⏱ Reading Time:
  • 9 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 7%
  • Publisher: 63%

IMF ชี้การแบ่งขั้วโลก อาจบั่นทอน GDP โลกสูงถึง 7% โดยอาจบั่นทอน 8% - 12% ในบางประเทศ หากมีการแบ่งแยกทางเทคโนโลยีร่วมด้วย อ่านต่อ: กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ระบุในรายงานที่มีการเปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ ว่า การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นรุนแรงทั่วโลก หลังจากที่โลกเคยขับเคลื่อนด้วยระบบโลกาภิวัตน์ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น อาจบั่นทอนตัวเลข GDP โลกสูงถึง 7% โดยอาจบั่นทอน 8% - 12% ในบางประเทศ หากมีการแบ่งแยกทางเทคโนโลยีร่วมด้วย

รายงานระบุว่า การหมุนเวียนของสินค้าและเงินทุนทั่วโลกลดน้อยลง หลังเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินโลกในปี 2551 ? 2552 และการออกมาตรการจำกัดทางการค้าก็เพิ่มสูงขึ้นในปีต่อ ๆ มา

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

ktnewsonline /  🏆 24. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

IMF เตือนการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจส่อฉุด GDP ทั่วโลกรุนแรงถึง 7% : อินโฟเควสท์IMF เตือนการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจส่อฉุด GDP ทั่วโลกรุนแรงถึง 7% : อินโฟเควสท์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุในรายงานที่มีการเปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ (15 ม.ค.) ว่า การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นรุนแรงทั่วโลก หลังจากที่โลกเคยขับเคลื่อนด้วยระบบโลกาภิวัตน์ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น อาจบั่นทอนตัวเลข GDP โลกสูงถึง 7% โดยอาจบั่นทอน 8% – 12% ในบางประเทศ หากมีการแบ่งแยกทางเทคโนโลยีร่วมด้วย ทั้งนี้ IMF ระบุว่า แม้กรณีที่เศรษฐกิจโลกแบ่งขั้วกันในวงจำกัดก็ยังอาจลด GDP โลกได้ 0.2% แต่ยังจำเป็นต้องประเมินผลกระทบที่มีต่อเครือข่ายความปลอดภัยทางการเงินระดับโลก (GFSN) ด้วย รายงานระบุว่า การหมุนเวียนของสินค้าและเงินทุนทั่วโลกลดน้อยลง หลังเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินโลกในปี 2551 – 2552 และการออกมาตรการจำกัดทางการค้าก็เพิ่มสูงขึ้นในปีต่อ ๆ มา “โรคโควิด-19 ระบาดและกรณีรัสเซียรุกรานยูเครนได้ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้นและเพิ่มข้อกังขาเกี่ยวกับผลประโยชน์ของโลกาภิวัตน์” IMF ระบุในรายงาน IMF ระบุว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นส่งผลให้ปัญหาความยากจนทั่วโลกลดลงอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ ยังประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภครายได้น้อยในประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วผ่านสินค้าราคาย่อมเยา ดังนั้น การยกเลิกการเชื่อมโยงทางการค้าจะส่งผลกระทบต่อประเทศรายได้น้อยและผู้บริโภครายได้ต่ำในประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วมากที่สุด” สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจาก IMF ว่า การออกมาตรการจำกัดการอพยพข้ามพรมแดนจะทำให้ประเทศจุดหมายปลายทางสูญเสียแรงงานมีฝีมือ และลดจำนวนเงินที่ผู้อพยพส่งกลับประเทศบ้านเกิด การหมุนเวียนเงินทุนที่ลดน้อยลงจะลดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) […]
อ่านเพิ่มเติม »

IMF เตือนการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้นทั่วโลก หวั่นฉุด GDP โลกกว่า 7%IMF เตือนการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้นทั่วโลก หวั่นฉุด GDP โลกกว่า 7%การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นรุนแรงทั่วโลก หลังจากที่โลกเคยขับเคลื่อนด้วยระบบโลกาภิวัตน์ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น อาจบั่นทอน GDP โลกกว่า 7% โดยอาจสูงถึง 8-12% ในบางประเทศ หากมีการแบ่งแยกทางเทคโนโลยีร่วมด้วย
อ่านเพิ่มเติม »

IMF กล่าวว่าความแตกแยกอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเสียหายมากถึง 7% ของ GDPIMF กล่าวว่าความแตกแยกอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเสียหายมากถึง 7% ของ GDPความแตกแยกอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจโลกหลังจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นมานานนับทศวรรษอาจทำให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจโลกลดลงถึง 7% แต่อาจสูงถึง 8-12% ในบางประเทศ หากเทคโนโลยีถูกแบ่งแยกออกจากกัน
อ่านเพิ่มเติม »

นักลงทุนจับตาจีนเผย GDP พรุ่งนี้ คาดโตเพียง 2.8% ในปี 65 จากผลกระทบล็อกดาวน์ : อินโฟเควสท์นักลงทุนจับตาจีนเผย GDP พรุ่งนี้ คาดโตเพียง 2.8% ในปี 65 จากผลกระทบล็อกดาวน์ : อินโฟเควสท์นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาการเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนประจำปี 2565 รวมทั้งตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 4/2565 ในวันอังคารที่ 17 ม.ค. เวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ตัวเลข GDP จีนในปี 2565 จะขยายตัวเพียง 2.8% ซึ่งลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 3.2% เนื่องจากเศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่วนในปี 2564 นั้น ตัวเลข GDP จีนขยายตัวสูงถึง 8.4% ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจจีนปี 2565 ขยายตัวเพียง 2.8% ตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ก็จะต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลจีนตั้งไว้ที่ระดับ 5.5% และจะเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2519 หากไม่นับการขยายตัว 2.2% ในปี 2563 ซึ่งขณะนั้นจีนเผชิญการแพร่ระบาดระลอกแรกของโควิด-19 ส่วนในไตรมาส 4/2564 นั้น นักวิเคราะห์คาดว่า GDP จะขยายตัวเพียง 1.8% เมื่อเทียบรายปี หลังจากมีการขยายตัว […]
อ่านเพิ่มเติม »

สงครามเทคโนโลยีสหรัฐฯ-จีนเดือด สบช่องโอกาสลงทุนในไทย : อินโฟเควสท์สงครามเทคโนโลยีสหรัฐฯ-จีนเดือด สบช่องโอกาสลงทุนในไทย : อินโฟเควสท์นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่มีการดำเนินมาตรการทางภาษีตอบโต้ระหว่างกันมาตั้งแต่ปี 2561 มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น และความขัดแย้งได้ขยายวงกว้างไปยังด้านอื่น โดยเฉพาะการแย่งชิงความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเป็นมหาอำนาจของโลก ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ และจีน พบว่า สหรัฐฯ มีจุดแข็งคือการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ (ความสามารถในการวิจัยพื้นฐาน และคิดค้นสิ่งที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน) และมีความสามารถในการเปลี่ยนผ่านนวัตกรรมให้ใช้งานได้ดีกว่าเดิม หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ ได้เปรียบจีนด้านนวัตกรรมที่โดดเด่น สัดส่วนการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาต่อ GDP การส่งออกสินค้าเทคโนโลยีระดับกลาง และความคืบหน้าของเทคโนโลยียุคใหม่ อาทิ เทคโนโลยีควอนตัม เซมิคอนดักเตอร์ และเทคโนโลยีชีวภาพ ขณะที่จีนมีจุดแข็ง คือการประยุกต์และการต่อยอดเทคโนโลยีเดิม และความสามารถในการผลิต เนื่องจากจีนมีแรงงานทักษะมหาศาล รวมไปถึงสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ทำให้จีนเป็นโรงงานของโลก โดยจีนได้เปรียบสหรัฐฯ ด้านการครอบครองทรัพยากรสำคัญในยุคเทคโนโลยี เช่น ลิเทียม ธาตุหายาก แกรไฟต์ การส่งออกสินค้าเทคโนโลยีระดับสูง และความคืบหน้าของเทคโนโลยียุคใหม่ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ การสื่อสารแบบไร้สาย และพลังงานสีเขียว ทั้งนี้ […]
อ่านเพิ่มเติม »

ประชุม 'เวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรั่ม' เปิดฉากวันนี้ ผู้นำเข้าร่วมมากเป็นประวัติการณ์ : อินโฟเควสท์ประชุม 'เวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรั่ม' เปิดฉากวันนี้ ผู้นำเข้าร่วมมากเป็นประวัติการณ์ : อินโฟเควสท์การประชุมเวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรั่ม (WEF) ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้เริ่มเปิดฉากแล้วในวันนี้ (16 ม.ค.) ภายใต้หัวข้อ “Cooperation in a Fragmented World” โดยการประชุมดังกล่าวจะมีขึ้นไปจนถึงวันที่ 20 ม.ค. ทั้งนี้ การประชุม WEF ถือเป็นเวทีที่ผู้เข้าร่วมการประชุมจะหารือกันเกี่ยวกับนโยบายและพัฒนาการที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของโลก โดยจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมหลายพันคนจากทั่วโลก ซึ่งเป็นบุคคลระดับผู้นำทางการเมือง ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาสังคม สำหรับการประชุมในปีนี้จะมีผู้นำระดับสูงทางการเมืองและภาคธุรกิจเข้าร่วมมากเป็นประวัติการณ์ โดยจะมีประมุขของรัฐและผู้นำรัฐบาลเข้าร่วมการประชุมจำนวน 52 คน รัฐมนตรีคลัง 56 คน รัฐมนตรีการค้า 30 คน รัฐมนตรีต่างประเทศ 35 คน และผู้ว่าการธนาคารกลาง 19 คน นอกจากนี้ ผู้นำจากองค์กรระหว่างประเทศ 39 คนจะเข้าร่วมการประชุม WEF ซึ่งรวมถึงผู้นำขององค์การสหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) […]
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-25 19:27:54