FINMA ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลตลาดเงินของสวิตเซอร์แลนด์ กำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการทางวินัยต่อบรรดาผู้จัดการของธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse) หรือไม่ เหตุบริหารงานไม่ดีจนทำให้ยูบีเอส (UBS) ต้องเข้ามาเทคโอเวอร์
Marlene Amstad ประธาน FINMA กล่าวเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566 ว่า “Credit Suisse มีปัญหาด้านวัฒนธรรมองค์กรจนขาดความรับผิดชอบ บ่อยครั้งไม่ชัดเจนว่าใครรับผิดชอบอะไร สิ่งนี้สนับสนุนการจัดการความเสี่ยงโดยประมาท” พร้อมเสริมว่า “เราไม่ใช่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย แต่เรากำลังสำรวจทางเลือกต่าง ๆ”
โดยประธาน FINMA ระบุว่า FINMA ไม่ได้เข้าแทรกแซงตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือรุนแรงพอที่จะจัดการกับปัญหาของ Credit Suisse โดยชี้ไปที่การบังคับใช้กฎหมาย 6 ครั้งกับธนาคารในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ความล่มสลายที่อื้อฉาวของธนาคาร 'Credit Suisse'ประวัติศาสตร์กว่า 166 ปีของสถาบันการเงินในซูริค Credit Suisse ต้องปิดฉากลง เมื่อถูกธนาคารคู่แข่ง UBS เข้ายึดครอง เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ธนาคารซึ่งได้รับการยอมรับอย่างสูง
อ่านเพิ่มเติม »
FINMA อาจลงโทษทางวินัยต่อผู้จัดการเครดิตสวิส เหตุบริหารงานไม่ดี : อินโฟเควสท์FINMA ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลตลาดเงินของสวิตเซอร์แลนด์ เปิดเผยว่า ทางหน่วยงานกำลังพิจารณาว่า จะดำเนินการทางวินัยต่อบรรดาผู้จัดการของธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse) หรือไม่ เหตุบริหารงานไม่ดีจนทำให้ยูบีเอส (UBS) ต้องเข้ามาเทคโอเวอร์ นางมาร์ลีน อัมสตาด ประธานของ FINMA เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์เจ้าหนึ่งของสวิตเซอร์แลนด์ว่า ทางหน่วยงานยังคงอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่าจะดำเนินการหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักของหน่วยงานยังคงอยู่ที่การดูแลการเปลี่ยนผ่านในการควบรวมองค์กร และรักษาเสถียรภาพด้านการเงิน นางอัมสตาด กล่าวว่า “เครดิตสวิสมีปัญหาด้านวัฒนธรรมองค์กรจนขาดความรับผิดชอบ … มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจำนวนนับไม่ถ้วนตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา” และเพิ่มเติมว่า “เราได้เข้าแทรกแซงและดำเนินมาตรการที่แข็งแกร่งที่สุดของเรา” ขณะเดียวกัน นางอัมสตาดยังได้ออกมาปกป้องการตัดสินใจของทางการสวิตเซอร์แลนด์ในการสั่งให้เครดิต สวิส ตัดมูลค่าตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) หรือ AT1 เหลือศูนย์ด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงการเทคโอเวอร์กิจการเครดิต สวิส ของธนาคารยูบีเอส ทั้งนี้ ยูบีเอส (UBS) ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตกลงเข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยหน่วยงานฝ่ายกำกับดูแลด้านการเงินของรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้เข้ามามีส่วนในการทำข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์นี้ การซื้อกิจการดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานร่วมกันระหว่างธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์, รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ […]
อ่านเพิ่มเติม »
สกุลเงิน “ฟรังก์สวิส” อาจไม่ใช่ Safe Haven เมื่อ Credit Suisse ล้มลงสกุลเงิน “ฟรังก์สวิส” อาจไม่ใช่ Safe Haven เมื่อ ธนาคาร Credit Suisse เจอวิฤติล่มสลาย พร้อมข้อมูล 10 สกุลเงินที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกประจำปี 2023 ฟรังก์สวิส SafeHaven ฐานเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม »
ทำความรู้จัก “ตราสาร Basel III AT1” ในไทยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 ฝ่ายตราสารหนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อธิบายถึง 'ตราสาร Basel III AT1' ในไทย โดยระบุว่า จากวิกฤตธนาคาร Credit Suisse และการตัดหนี้สูญของตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือ ตราสาร Basel III Additional Tier 1 (Basel III AT1)
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต.ชวนศึกษากรณี Credit Suisse กับตราสาร Basel III AT1 ในไทย : อินโฟเควสท์ฝ่ายตราสารหนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกบทความเรื่อง”ตราสาร Basel III AT1 ในไทย” โดยระบุว่า จากวิกฤตธนาคาร Credit Suisse และการตัดหนี้สูญของตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือ ตราสาร Basel III Additional Tier 1 (Basel III AT1) ของธนาคาร ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถาบันการเงินในวงกว้าง ก.ล.ต. จึงชวนมาทำความรู้จัก “ตราสาร Basel III AT1” ในไทย ซึ่ง ก.ล.ต. ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทและพฤติกรรมของผู้ลงทุนไทย “ตราสาร Basel III AT1” เป็นตราสารที่ใช้ในการระดมทุนของธนาคาร โดยตราสารดังกล่าวจะสามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์ได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์มีช่องทางในการสร้างความเข้มแข็งของเงินทุนกองทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ Basel III Additional Tier 1 เป็นตราสารที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระคืนเงินต้น และมีเงื่อนให้ร่วมรับผลขาดทุน (ถูกตัดเป็นหนี้สูญ/บังคับแปลงเป็นหุ้นสามัญ) […]
อ่านเพิ่มเติม »