CWT ซื้อไออีซี สระแก้ว1 รวมที่ดิน มูลค่า 238 ลบ.เติมพอร์ต โรงไฟฟ้าชีวมวล 8 MW หุ้นไทย ชัยวัฒนาแทนเนอรี่กรุ๊ป อินโฟเควสท์
บมจ.ชัยวัฒนา แทนเนอรี่กรุ๊ป เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัท ชัยวัฒนา กรีน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ที่ประกอบธุรกิจลงทุนในกลุ่มพลังงาน เข้าลงทุนในบริษัท ไออีซี สระแก้ว 1 จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 100.00 ด้วยการเข้าซื้อหุ้นสำมัญของ SK1 จากบมจ. อินเตอร์แนชั่นแนลเอนจีเนียริง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่มีความเกี่ยวโยงกันกับบริษัทและที่ดินของ SK1 โดย CWTG จะเข้าซื้อหุ้นใน SK1 เป็นมูลค่า 227.
โดย SK1 ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบริเวณอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ผ่านโครงการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล ที่จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ปริมาณพลังงานไฟฟ้าสูงสุด 8.0 MW
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
Sam Bankman-Fried ต้องการอภิสิทธิ์ในการถือครองหุ้น Robinhood มูลค่ากว่า 450 ล้านดอลลาร์กลับคืนSam Bankman-Fried ผู้ก่อตั้ง FTX ต้องการควบคุมในหุ้น Robinhood มูลค่า 450 ล้านดอลลาร์กลับคืนโดยที่เว็บเทรดที่ล้มละลายนั้นไม่ ‘มีสิทธิ์เรียกร้องทางกฎหมาย’
อ่านเพิ่มเติม »
รฟท.แจงเพิ่มเติมใช้งบ 33 ลบ.แก้ป้าย 112 ตัวอักษรไม่ใช่แค่ 56 ตัวอักษรการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยเพิ่มเติม ประเด็นราคาค่าตัวอักษร “โครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย” งบประมาณ 33 ล้านบาท
อ่านเพิ่มเติม »
โชว์ผลสำรวจประชาชนพึงพอใจบริการสุขภาพปฐมภูมิ โครงการรับยาใกล้บ้านเสียงตอบรับดี : อินโฟเควสท์น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการดำนเนินงานของรัฐบาลด้านการพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม ตามนโยบายของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ในปี 2565 โดยนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของรัฐอย่างทัดเทียมนั้น มีการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิแล้ว 2,879 หน่วย พัฒนาทีมสนับสนุนศักยภาพสหวิชาชีพ จำนวน 3,367 คน พร้อมกันนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 โดยสอบถามทั้งผู้ที่เคยเป็นใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ และยังไม่เคยใช้บริการ โดยพบว่า ผู้ที่เคยใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่ อยู่ในระดับที่มีความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการ , ด้านกระบวนการหรือขั้นตอนการให้บริการ , ด้านสถานที่อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ ส่วนความพึงพอใจด้านคุณภาพบริการสุขภาพปฐมภูมิ อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เพื่อบรรลุเป้าหมายการเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารสุข ได้ขับเคลื่อนเพื่อให้ทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน หรือ นโยบาย 3 หมอ โดยหมอคนที่ 1 หมอประจำบ้าน คือ […]
อ่านเพิ่มเติม »
สหรัฐและชาติยุโรปประณามอิหร่าน เหตุสั่งแขวนคอ 2 ผู้ประท้วง ตัดสินคดีไม่ชอบธรรม : อินโฟเควสท์สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า อิหร่านประหารชีวิตชาย 2 คนด้วยการแขวนคอเมื่อวานนี้ (7 ม.ค.) ในข้อหาสังหารเจ้าหน้าที่ความมั่นคงระหว่างเหตุประท้วงจากการเสียชีวิตของน.ส.มาห์ซา อามินี วัย 22 ปี ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนก.ย. การประหารครั้งนี้เรียกเสียงประณามจากสหภาพยุโรป (EU), สหรัฐ และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ชายทั้งสองถูกประหารชีวิตเนื่องจากมีความผิดฐานสังหารสมาชิกกองกำลังอาสาสมัครกึ่งทหารบาซีจญ์ (Basij) โดยมีอีกสามคนถูกตัดสินประหารชีวิตเนื่องจากคดีนี้ ขณะที่มี 11 คนได้รับโทษจำคุก “โมฮัมหมัด เมะฮ์ดี การามี และเซย์เยด โมฮัมหมัด ฮอสซัยนี ผู้ก่อการหลักของอาชญากรรมที่นำไปสู่การพลีชีพอย่างไม่เป็นธรรมของรูฮอลเลาะฮ์ อจาเมียน ได้ถูกแขวนคอแล้วในเช้าวันนี้” ศาลยุติธรรมระบุในถ้อยแถลงที่จัดทำโดยสำนักข่าว IRNA ของทางการอิหร่าน มีผู้ประท้วง 4 คนถูกประหารชีวิตอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้เพื่อตอบโต้ต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ อย่างไรก็ดี นักการทูตระดับสูงของ EU ประณามการประหารชีวิตดังกล่าว โดยเรียกร้องให้อิหร่านยุติการใช้โทษประหารต่อผู้ประท้วงทันที และยกเลิกโทษที่มีอยู่ทั้งหมด “นี่เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของการปราบปรามอย่างรุนแรงของทางการอิหร่านต่อการชุมนุมของพลเรือน” นายโจเซป บอร์เรล กล่าวในถ้อยแถลง ทูตพิเศษของสหรัฐประจำอิหร่าน นายโรเบิร์ต มอลลีย์ ประณามการประหารชีวิตครั้งนี้ที่เกิดขึ้นจาก “การพิจารณาคดีแบบลวงโลก” […]
อ่านเพิ่มเติม »
อนุสรณ์เสนอตั้งกองทุนต้านทุจริตคอร์รัปชันสร้างความเชื่อมั่นต่างชาติเข้าลงทุน : อินโฟเควสท์นายอนุสรณ์ ธรรมใจ นักเศรษฐศาสตร์ และ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม ภาคสื่อมวลชน ภาควิชาการ ภาคธุรกิจจะช่วยทำให้การแก้ไขปัญหาวิกฤติทุจริตคอร์รัปชันเป็นจริงเพื่อให้การขับเคลื่อนของภาคส่วนต่างๆตามที่กล่าวมาสามารถต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างเต็มที่มีความต่อเนื่องและหวังผลได้จำเป็นต้องมีระบบสนับสนุนทางงบประมาณจึงขอเสนอให้มีการเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) ขึ้นมาเพื่อจัดตั้งกองทุนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เช่นเดียวกับ กองทุน สสส ของขบวนการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ และ องค์การกระจายเสียงและเผยแพร่ภาพแห่งประเทศไทย หรือไทยพีบีเอสในการทำหน้าที่สื่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนและสังคมโดยปราศจากอิทธิพลของอำนาจทุนและอำนาจทางการเมืองแทรกแซงในการทำหน้าที่หรือนำเอานำเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกยึดจากกรณีทุจริตมาเป็นงบประมาณสนับสนุนก็กองทุนต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันจะเป็นกลไกในการบูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสื่อมวลชน ภาควิชาการ และ ภาคประชาสังคม ได้ดีกว่า กลไกของ ปปช ที่มีอิทธิพลของการเมืองและราชการครอบงำอยู่ไม่เป็นอิสระ หรือ เป็นกลางอย่างแท้จริง การดำเนินการของ ปปช อาจเกิดการเลือกปฏิบัติได้เสมอ นอกจากนี้ระบบการประเมินผล ITA ของ ปปช ยังขาดความน่าเชื่อถืออย่างมาก โดยกองทุนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันนี้ต้องอยู่นอกสำนักงาน ปปช เป็นองค์กรที่ต้องเป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมือง มีความเป็นกลางทางการเมือง และสามารถให้ความเป็นธรรมต่อทุกคนได้ หรือหากเกรงว่าการใช้เก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะจะเกิดความสุ่มเสี่ยงต่อประเด็นวินัยทางการคลัง ก็ขอเสนอให้นำเอานำเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกยึดจากกรณีทุจริตคอร์รัปชันมาเป็นส่วนหนึ่งมาจัดตั้งกองทุน ความจริงแล้ว ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะนั้น หากออกแบบให้ดีตั้งแต่แรกจะทำให้เกิดความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการใช้เงินภาษีและเงินสาธารณะ นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า ต้องใช้พลังความรู้ข้อมูลและความจริงเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยโปร่งใสขึ้น ระบบการเมืองและระบบราชการมีธรรมาภิบาลมากขึ้นต้องสร้างให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของเครือข่ายทางสังคมอย่างกว้างขวางโดยผ่านการเคลื่อนไหวทางปัญญาที่ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการประชาธิปไตย การเคลื่อนไหวขับเคลื่อนนี้
อ่านเพิ่มเติม »
ผู้ว่าแบงก์ชาติอินเดียเผย การลดเงินเฟ้อคือเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับเอเชียใต้ : อินโฟเควสท์นายชัคติคานตา ดาส ผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดีย (RBI) เปิดเผยว่า การควบคุมอัตราเงินเฟ้อเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับกลุ่มประเทศเอเชียใต้ เนื่องจากแรงกดดันด้านราคาในระดับสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการลงทุน สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ภายในงานที่จัดโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นายดาสระบุว่า ความท้าทายด้านนโยบายสำหรับภูมิภาคนี้ถูกซ้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสงครามยูเครน ก่อนหน้านี้ อองตัวเนต ซาเยห์ รองกรรมการผู้จัดการ IMF กล่าวว่า อินเดียอยู่ในจุดที่ค่อนข้างสดใสในเศรษฐกิจโลก แต่อินเดียจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากการส่งออกภาคบริการที่เป็นจุดแข็งอยู่แล้ว และขยายการส่งออกภาคอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานสูง ขณะเดียวกัน นายดาสกล่าวว่า การค้าภายในภูมิภาคเอเชียใต้ใช้ศักยภาพไปเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น และการส่งเสริมการค้าดังกล่าวจะช่วยยกระดับโอกาสการเติบโตและการจ้างงานให้กับประเทศต่าง ๆ ภายในภูมิภาคในช่วงหลังโควิด-19 ทั้งนี้ นายดาสระบุว่า RBI กำลังเจรจากับบางประเทศในภูมิภาคเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำการค้ากันด้วยสกุลเงินรูปี ตามที่อินเดียได้พยายามส่งเสริม โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (06 ม.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »