BVG เดินหน้าขยายตลาดประกันในอาเซียน ชูเทคโนโลยี AI ขับเคลื่อนสู่ InsurTech บลูเวนเจอร์กรุ๊ป หุ้นไทย อินโฟเควสท์
นางนวรัตน์ วงศ์ฐิติรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.
ทั้งนี้ BVG จะนำเทคโนโลยี AI มาช่วยวิเคราะห์ประมวลผลเพื่อต่อยอดนวัตกรรมการให้บริการ ซึ่งจะช่วยยกระดับแพลตฟอร์มของ EMCS และ TPA ผ่านการนำเสนอบริการจากเทคโนโลยี AI Series เพิ่มเติม ได้แก่ AI Estimate หรือระบบการประเมินความเสียหายเบื้องต้นตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุเพื่อประมาณการค่าสินไหม และ AI Inspection ช่วยบริษัทประกันภัยตรวจสภาพรถยนต์ในขั้นตอนการต่อกรมธรรม์ หลังประสบความสำเร็จจากการนำเสนอ AI Review...
ขณะที่บริการ TPA บริษัทฯ มีแผนจัดทำโครงการพัฒนาระบบ Optical Character Recognition ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานโดยลดการใช้กระดาษ เพื่อรองรับการปรับตัวของธุรกิจโรงพยาบาลไปสู่ Digital Transformation และต่อยอดสู่การให้บริการ AI Claim Assessment Automation เพื่อพิจารณาค่าสินไหมโรคพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง รองรับจำนวนผู้เอาประกันภัยและจำนวนรายการสินไหมทดแทนที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้บริษัทฯ วางแผนขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศเป้าหมายเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุน โดยอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อให้บริการ e-Claim และ M-Survey ของระบบ EMCS ไปยังประเทศเวียดนามและฟิลิปปินส์เพื่อขยายฐานลูกค้ารายใหม่ๆ รวมถึงจะร่วมมือกับพันธมิตรที่ดำเนินธุรกิจรับประกันภัยต่อในประเทศกัมพูชา เพื่อให้บริการแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันสำหรับบริหารจัดการสินไหมทดแทนรักษาพยาบาลของบริษัทประกันภัยและสวัสดิการรักษาพยาบาลของบริษัทเอกชน...
นางสาวพัชพร สรรคบุรานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บล.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
9 ข้อควรรู้ 'บลูเวนเจอร์ กรุ๊ป(BVG)' ผู้นำแพลตฟอร์มธุรกิจประกันด้วย AIบริษัท บลูเวนเจอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BVG ประกอบธุรกิจ ให้บริการแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันในการบริหารจัดการธุรกิจประกันภัยรถยนต์ด้วยระบบ EMCS กำลังจะเข้าซื้...
อ่านเพิ่มเติม »
ไมโครซอฟท์เผย ฟีเจอร์แชตบอต AI ประสบความสำเร็จระยะแรกใน Bing : อินโฟเควสท์สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ไมโครซอฟท์ คอร์ป รายงานผลการศึกษาระยะแรกหลังทดลองเพิ่มแชตบอตปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใหม่ลงบนเสิร์ชเอนจินบิง (Bing) เป็นเวลา 1 สัปดาห์แก่ผู้ใช้งานจากกว่า 169 ประเทศ ไมโครซอฟท์เปิดเผยผ่านบล็อกโพสต์ว่า ผู้ทดสอบ 71% พึงพอใจกับคำตอบที่ได้จาก AI และแชตเป็นฟีเจอร์ใหม่ยอดนิยมที่ทำให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้คนยังใช้ Bing นอกเหนือจากแค่การค้นหาที่เฉพาะเจาะจง โดยใช้เพื่อการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปและเพื่อความบันเทิงทางสังคมอีกด้วย รายงานระบุว่า เทคโนโลยีใหม่นี้มาจากการผนวกรวมเทคโนโลยีแบบแชตจีทีพี (ChatGPT) จากบริษัทโอเพ่นเอไอ (OpenAI) ซึ่งเป็นสตาร์ตอัปที่ไมโครซอฟท์ให้การสนับสนุนและเพิ่งทุ่มเงินลงทุนเพิ่มอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อไม่นานมานี้ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์กำลังใช้โมเดลภาษา GPT ของโอเพ่นเอไอเวอร์ชันอัปเกรดแล้วลงในฟีเจอร์แชตดังกล่าวอีกด้วย เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับคำตอบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในลักษณะการสนทนา ไมโครซอฟท์เสริมว่า ยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะในการสืบค้นที่ต้องการความถูกต้องระดับสูง เช่น รายงานทางการเงิน ไมโครซอฟท์จะเพิ่มข้อมูลส่งไปยังโมเดลอีก 4 เท่าเพื่อให้สามารถตอบคำถามได้ดีขึ้น ทั้งนี้ บริษัทยังพบว่า แชตบอต AI ประสบปัญหาในการสนทนาที่ยาวตั้งแต่ 15 คำถามขึ้นไป โดยระบุว่า Bing อาจตอบคำถามซ้ำไปซ้ำมาหรือได้รับการกระตุ้นให้ตอบคำถามที่ไม่มีประโยชน์หรือสอดคล้องกับโทนที่ออกแบบไว้ โดย […]
อ่านเพิ่มเติม »
ซีอีโอ 'พาลันเทียร์' ชี้ สงครามยูเครนผลักดันการใช้ AI ในสนามรบมากขึ้น : อินโฟเควสท์นายอเล็กซ์ คาร์ป ซีอีโอของพาลันเทียร์ (Palantir) บริษัทซอฟต์แวร์ของสหรัฐ เปิดเผยเมื่อวานนี้ (15 ก.พ.) ว่า การที่ยูเครนใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการกำหนดเป้าหมายโจมตีกองกำลังรัสเซียอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ได้ผลักดันให้เทคโนโลยีดังกล่าวกลายเป็นที่จับตาจากผู้นำทางทหารและการเมืองทั่วโลก ในการประชุมสุดยอดระดับนานาชาติครั้งแรกว่าด้วยการใช้ AI ทางการทหารอย่างมีความรับผิดชอบ นายคาร์ประบุว่า การใช้งาน AI ในสงครามได้ขยับขึ้นมาจากระดับ “การหารือด้านจริยธรรมในวงวิชาการ” ไปสู่ระดับที่น่าวิตกกังวลอย่างที่สุด นับตั้งแต่ที่สงครามในยูเครนเปิดฉากขึ้น นายคาร์ประบุว่า “ตอนนี้การพูดคุยในประเด็นดังกล่าวได้เปลี่ยนไปแล้ว ความสามารถในการเลือกและใช้งานเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะเป็นตัวกำหนดความเป็นไปในสนามรบ สิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำมากที่สุดในชาติตะวันตกนั่นคือ ตระหนักว่าจีนและรัสเซียเข้าใจถึงบทเรียนดังกล่าวได้อย่างถ่องแท้เรียบร้อยแล้ว” นายคาร์ปกล่าวว่า พาลันเทียร์เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดเป้าหมายการโจมตีเกือบทั้งหมดของยูเครน โดยบริษัทได้อ้างถึงตัวอย่างของรถถังและปืนใหญ่ต่าง ๆ ซึ่งบริษัทได้ทำการตลาดซอฟต์แวร์ของตนในฐานะช่องทางในการกำหนดพื้นที่วางกำลังทหารหรือพื้นที่ติดตั้งยุทโธปกรณ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยข้อมูลจากดาวเทียมและโซเชียลมีเดียเพื่อแสดงภาพตำแหน่งของกองทัพ ทั้งนี้ สหรัฐและจีนเป็น 1 ใน 50 ประเทศที่ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดรีเอม (REAIM) ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเฮกในสัปดาห์นี้ แต่เนเธอร์แลนด์และเจ้าภาพร่วมอย่างเกาหลีใต้ไม่ได้เชิญรัสเซียมาเข้าร่วมด้วย โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16 ก.พ. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
'อีลอน มัสก์' เตือน AI มาพร้อมกับอันตรายที่ใหญ่ยิ่ง และควรถูกกำกับดูแล : อินโฟเควสท์สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า นายอีลอน มัสก์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโอเพ่นเอไอที่อยู่เบื้องหลัง ChatGPT เตือนว่า AI จะเป็นหนึ่งในความเสี่ยงใหญ่ที่สุดต่ออนาคตของอารยธรรมมนุษย์ “มันมีทั้งด้านบวก-ด้านลบ มีศักยภาพและขีดความสามารถที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ” นายมัสก์กล่าวในการประชุมสุดยอดรัฐบาลโลก (World Government Summit) ณ กรุงดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อย่างไรก็ดี นายมัสก์ย้ำว่า AI “มาพร้อมกับอันตรายที่ใหญ่ยิ่ง” นายมัสก์ระบุเสริมว่า ขณะที่รถยนต์, เครื่องบิน และยารักษาโรค ต่างก็มีมาตรฐานการกำกับดูแลความปลอดภัย แต่กับ AI ยังไม่มีการกำกับดูแล ทั้งที่ควรจะมี เพราะว่า AI “ก่อความเสี่ยงต่อสังคมอย่างใหญ่หลวงยิ่งกว่ารถหรือเครื่องบินหรือยารักษาโรค” การกำกับดูแล “อาจทำให้ AI พัฒนาช้าลงเล็กน้อย แต่ผมคิดว่านั่นก็เป็นเรื่องดีเช่นกัน” นายมัสก์กล่าว ทั้งนี้ นายมัสก์กล่าวเตือนเรื่องอันตรายของการพัฒนา AI แบบไร้การควบคุมมาเป็นเวลานานแล้ว โดยครั้งหนึ่งนายมัสก์เคยกล่าวว่า AI อันตรายยิ่งกว่าหัวรบนิวเคลียร์ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16 ก.พ. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE […]
อ่านเพิ่มเติม »
ตลาด mai รับ BVG เริ่มเทรด 17 ก.พ. ด้วยมูลค่า ณ ราคา IPO 1,732.5 ลบ. : อินโฟเควสท์นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai ต้อนรับ บมจ. บลูเวนเจอร์ กรุ๊ป เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายใน mai ภายใต้กลุ่มเทคโนโลยี โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “BVG” ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 BVG เป็นบริษัทย่อยของ บมจ. ไทยรับประกันภัยต่อ (THRE) ประกอบธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันสำหรับบริหารจัดการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับประกันภัยรถยนต์ (ระบบ EMCS) และมีบริษัทย่อยที่ถือหุ้น 100% อีก 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท บลูเวนเจอร์ ทีพีเอ จำกัด ให้บริการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลและสินไหมทดแทน รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำที่เกี่ยวข้อง ผ่านแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน (บริการ TPA) บริษัท บลูเวนเจอร์ แอคชัวเรียล จำกัด ให้คำปรึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย และบริษัท บลูเวนเจอร์ เทค จำกัด […]
อ่านเพิ่มเติม »
AI กับ Crypto เทรนด์ใหม่ หรือแค่การตอกย้ำพฤติกรรมเลวร้ายในตลาดคริปโทAI กับ Crypto เทรนด์ใหม่ หรือแค่การตอกย้ำพฤติกรรมเลวร้ายในตลาดคริปโทกระแส ChatGpt ทำให้เหรียญที่มีความเกี่ยวข้องกับ AI (ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้เกี่ยวอะไรมากมายเล...
อ่านเพิ่มเติม »