BOJ ประกาศซื้อพันธบัตรฉุกเฉินครั้งที่สองวันนี้ หลังบอนด์ยีลด์พุ่งนิวไฮ BOJ ธนาคารกลางญี่ปุ่น พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น อินโฟเควสท์
ธนาคารกลางญี่ปุ่น ประกาศซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นแบบฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 2 ในวันนี้ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นประเภท 20 ปี พุ่งทำนิวไฮ ซึ่งทำให้ BOJ ยังคงเผชิญกับความท้าทายในการปกป้องจุดยืนด้านการใช้นโยบายผ่อนคลายการเงิน
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ความเคลื่อนไหวล่าสุดในการควบคุมอัตราผลตอบแทนนั้น BOJ ยืนยันว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็นการฉุกเฉินอีกครั้ง โดยจะเข้าซื้อพันธบัตรอายุระหว่าง 10-25 ปี ในวงเงิน 1 แสนล้านเยน หรือประมาณ 665.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเมื่อวานนี้ BOJ ประกาศซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นแบบฉุกเฉิน หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นประเภท 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 0.255% ซึ่งสูงกว่าเพดานที่ BOJ กำหนดไว้ที่ 0.25% โดย BOJ เข้าซื้อพันธบัตรเป็นวงกว้าง ตั้งแต่พันธบัตรอายุ 5 ปีไปจนถึงพันธบัตรที่มีอายุการไถ่ถอนนานกว่านั้น ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 2.50 แสนล้านเยน
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ระดับ 0.25% เป็นเพดานที่ BOJ กำหนดไว้ตามมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยที่ผ่านมานั้น BOJ พยายามควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไว้ที่ระดับบวกหรือลบไม่เกิน 0.25% ความพยายามของ BOJ ที่จะควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีให้อยู่ที่ 0.
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เงินเฟ้อญี่ปุ่นพุ่งแรงสุดในรอบกว่า 31 ปี อาจกระทบนโยบายการเงิน BOJ : อินโฟเควสท์กระทรวงฝ่ายกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่นรายงานในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานทั่วประเทศ ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสด พุ่งขึ้น 3% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 31 ปี เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าปรับตัวขึ้นเป็นวงกว้างตั้งแต่ต้นทุนพลังงานไปจนถึงอาหาร โดยข้อมูลดังกล่าวอาจทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เผชิญกับความยากลำบากในการเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ทั้งนี้ ดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อสำคัญของญี่ปุ่น ยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของ BOJ ที่ระดับ 2% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้ สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดของญี่ปุ่นสะท้อนให้เห็นว่า BOJ จะเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากในการพยุงเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอด้วยการตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไป ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างมาก และทำให้ต้นทุนการนำเข้าพุ่งขึ้น BOJ ยังคงดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายซึ่งสวนทางกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยในขณะนี้นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนพ.ย.และธ.ค. ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% จำนวน 5 ครั้งติดต่อกัน หลังจากปรับขึ้น 0.75% ในเดือนมิ.ย., ก.ค. และก.ย. ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของเฟดจะพุ่งแตะระดับ 4.50-4.75% ในสิ้นปีนี้ …
อ่านเพิ่มเติม »
ค่าเงินเยนดิ่งทำนิวโลว์ในรอบ 32 ปี ทะลุ 149 เยน/ดอลลาร์แล้วค่าเงินเยนดิ่งทะลุ 149 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นการทำนิวโลว์ในรอบ 32 ปี ขณะที่ธนาคารกลาง (BOJ) ยังใจแข็ง ยันไม่ขึ้นดอกเบี้ย แม้เยนจะทรุดหนักใกล้แตะแนวรับสำคัญทางจิตวิทยาที่ระดับ 150 เยนแล้วก็ตาม ฐานเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม »
แบงก์ชาติญี่ปุ่น ประกาศซื้อพันธบัตรแบบฉุกเฉิน หลังเงินเยนดิ่ง ต่ำสุดรอบ 32 ปีแบงก์ชาติญี่ปุ่น ประกาศซื้อพันธบัตรแบบฉุกเฉิน หลังเงินเยนดิ่ง ต่ำสุดรอบ 32 ปี PPTVHD36 ช่อง36 ญี่ปุ่น เงินเยน แทรกแซงตลาด พันธบัตรรัฐบาล บอนด์ ค่าเงิน ดอลลาร์ BOJ แบงก์ชาติญี่ปุ่น ธนาคารกลางญี่ปุ่น
อ่านเพิ่มเติม »
INTERVIEW: CEO วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ เปิดเส้นทางนำธุรกิจก้าวข้ามทุกความขัดแย้งมุ่งหน้าเข้าตลาดทุน : อินโฟเควสท์นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) ประกาศความชัดเจนแผนขยายธุรกิจพลังงานทดแทนครั้งใหญ่ด้วยการวางเป้าหมายผลักดันรายได้ทะลุ 1.5 หมื่นล้านบาทภายในปี 68 ด้วยกำลังผลิตไฟฟ้าในมือสูงขึ้นแตะ 1,500 เมกะวัตต์ เตรียมเสริมทุนกว่า 5.5 หมื่นล้านบาทรองรับแผนยื่นขายไฟฟ้ารอบใหม่ 870 เมกะวัตต์ แม้ว่าปัญหาคดีความที่เกิดจากความขัดแย้งของผู้ถือหุ้นยังคงค้างคาอยู่ แต่หวังว่าจะคลี่คลายได้ภายในสิ้นปี 66 จึงเชื่อว่าเส้นทางครั้งนี้ช่วยให้ WEH ก้าวเข้าสู่ตลาดทุนได้ในที่สุด “บริษัทหวังว่าปลายปี 66 คดีความต่าง ๆ จะคลี่คลายไปได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีความขัดแย้งของผู้ถือหุ้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ซึ่งที่ผ่านมา สามารถเดินหน้าไปตามแผนงานปกติ”นายณัฐพศิน กล่าว *ลุ้นคลายปม 4 คดีสำคัญปลายปี 66 นายณัฐพศิน กล่าวว่า คดีความและข้อพิพาทต่าง ๆ ที่บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องมีเพียง 4 คดีสำคัญ ซึ่งผลของคดีล้วนไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัท โดยส่วนใหญ่ เป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ถือหุ้นบางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทสามารถสร้างเสถียรภาพในการบริหารงาน และความแข็งแกร่งทางการเงินได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีข้อพิพาทต่าง …
อ่านเพิ่มเติม »
กทม. เปิดคลินิกมลพิษทางอากาศ 5 รพ.ในสังกัด หลังแนวโน้มฝุ่นละอองสะสมเพิ่มขึ้น : อินโฟเควสท์นายเอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า จากข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยา ในระหว่างวันที่ 20 – 25 ต.ค. 65มวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง) กำลังปานกลางยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศเย็น และเพดานอากาศต่ำลง การระบายฝุ่นละอองลดลง ส่งผลให้ฝุ่นละอองสะสมเพิ่มขึ้น โดยในวันนี้ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ได้รายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ณ เวลา 07.00 น. มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเกินมาตรฐาน จำนวน 12 เขต ได้แก่ ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน ยานนาวา ลาดกระบัง ประเวศ ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา หนองแขม บางซื่อ คลองสามวา และบางพลัด ตรวจวัดได้ระหว่าง 51-62 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) และฝุ่นละออง PM10 มีค่าเกินมาตรฐาน จำนวน 1 …
อ่านเพิ่มเติม »
ก.ล.ต.เตรียมปรับปรุงเกณฑ์ขายหุ้น PP เพื่อให้การระดมทุน บจ.มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น : อินโฟเควสท์สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงร่างประกาศการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) หรือ “หุ้น PP” เพื่อลดขั้นตอนกระบวนการและเอกสารที่ต้องยื่นต่อ ก.ล.ต. ตามแนวทาง Regulatory Guillotine โดยผู้ลงทุนยังคงได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสม ก.ล.ต. มีแนวคิดปรับปรุงร่างประกาศการเสนอขายหุ้น PP ของบริษัทจดทะเบียนให้การระดมทุนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันเกณฑ์การเสนอขายหุ้น PP กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่ยื่นคำขออนุญาตต่อ ก.ล.ต. และเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับการเสนอขายในหนังสือนัดประชุมให้ผู้ลงทุนประกอบการตัดสินใจ โดย ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2565 และได้นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และยังคงหลักการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เพียงพอ มีสาระสำคัญดังนี้ (1) ยกเลิกกระบวนการยื่นคำขออนุญาตต่อ ก.ล.ต. โดยยังคงต้องเปิดเผยข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและกำหนดให้มีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) ในกรณีที่มีนัยสำคัญ (2) ปรับปรุงให้รองรับกรณีการนำหุ้นที่เหลือจากการเสนอขายแบบ Preferential Public Offering (PPO) มาเสนอขาย PP ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกรณีการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (RO) และเพิ่มความคล่องตัวแก่บริษัทจดทะเบียนให้สามารถระดมทุนได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ (3) ปรับปรุงการคำนวณหาราคาตลาดซึ่งปัจจุบันมีความแตกต่างในหลายกรณี เพื่อให้เกิดความชัดเจนและง่ายต่อการปฏิบัติ ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวบนเว็บไซต์ ก.ล.ต. …
อ่านเพิ่มเติม »