23 กันยายน 2566 'วันศารทวิษุวัต' ปรากฏการณ์กลางวัน-กลางคืนยาวนานเท่ากัน

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

23 กันยายน 2566 'วันศารทวิษุวัต' ปรากฏการณ์กลางวัน-กลางคืนยาวนานเท่ากัน
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 ktnewsonline
  • ⏱ Reading Time:
  • 30 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 15%
  • Publisher: 63%

23 กันยายน 2566 'วันศารทวิษุวัต' (Autumnal Equinox) ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน เปิดความหมาย “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) คืออะไร

" ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน นับเป็นวันเริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้คำว่า Equinox มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ aequus แปลว่า เท่ากัน และ nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้นจึงแปลรวมกันว่า “กลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน”

ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า จุดราตรีเสมอภาค จะเกิดขึ้นเพียงปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ ในช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า Vernal Equinox และในช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า Autumnal Equinox ในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ดวงอาทิตย์ค่อยๆเคลื่อนที่จากจุดเหนือสุดลงมาทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06.07 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18.17 น.

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

ktnewsonline /  🏆 24. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว



Render Time: 2025-04-07 13:50:45