ก้าวสู่ทศวรรษที่สาม 'งดเหล้าเข้าพรรษา' ดูเหมือนกำลังเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญของการขับเคลื่อนงานด้านการรณรงค์ ที่จำเป็นต้องพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์สถานการณ์ที่ท้าทายขึ้น
ภาคีหลักที่มีบทบาทการทำงานร่วมกับ สสส. รณรงค์สร้างสังคมสุขปลอดเหล้า และโครงการงดเหล้าเข้าพรรษามาแล้ว 20 ปี กล่าวว่า การทำงานรณรงค์เรื่องเหล้าไม่ได้ทำเฉพาะเทศกาล งดเหล้าเข้าพรรษา เท่านั้น แต่เป็นการทำงานตลอดทั้งปีและยังต้องทำต่อเนื่องในหลายมิติ
พิมพ์มณี เล่าถึงการทำงานว่า มีช่วงสำคัญสามช่วงคือช่วงสิบปีแรก และสิบปีต่อมาในปี 2556 ที่กลายเป็นความอิ่มตัวครั้งที่สอง การเข้าทศวรรษที่สามเป็นปีที่ท้าทายมาก เพราะมีสามเปลี่ยน เปลี่ยนแรก คือกลุ่มผู้ชายวัยทำงานไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเดียวแล้ว มีกลุ่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้น เปลี่ยนที่สอง ช่องทางการรับข่าวสารต่างๆ มากมาย ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ เปลี่ยนที่สาม คือความรู้ ทุกคนสามารถที่จะเลือกรับปรับใช้เองได้ ดังนั้น...
"ติดวิทยา คือการพยายามออกแบบกิจกรรมเพื่อเข้าถึงการตระหนักรู้ เป็นการตั้งคำถามให้เกิดการกระตุ้น หรือตั้งคำถามให้เข้าใจตัวเองว่าคุณติดเพราะอะไร โดยเริ่มมาจากแนวคิดที่ว่า การที่จะสื่อสารเพื่อให้เขาเลิกอะไรบางอย่าง เราก็ต้องมีสิ่งอื่นที่มาทดแทนหรือใส่อะไรเข้าไป ดังนั้นเหล้าขวดหนึ่ง แก้วหนึ่ง มีความหมายอะไรบ้าง ก่อนที่จะรณรงค์ชวนเขาเอาออกจากมือ เราต้องเข้าใจเขาก่อนและถ้าเราจะต้องเอาเหล้าออกจากมือเขา อะไรล่ะที่จะใส่เข้าไปแทน...