10 ปี‘จำนำ-ประกันรายได้’รัฐเท 1.2 ล้านล. อุดหนุนประชานิยม‘ข้าว’-TDRIจี้เลิกชดเชยซ้ำซ้อน isranews สำนักข่าวอิศรา จำนำข้าว ประกันรายได้
เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมา มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2565 โดย รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าว กล่าวในหัวข้อ ‘นโยบายข้าวไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน’ โดยระบุว่า หลังจากพรรคการเมืองใช้นโยบายประชานิยมเกทับกันในเรื่องข้าว ไม่ว่าจะเป็นโครงการรับจำนำ และการประกันรายได้ ส่งผลให้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลชุดต่างๆใช้เงินอุดหนุนราคาข้าวให้ชาวนารวม 1.
แต่ที่ร้ายที่สุด คือ เมื่อปี 2554 พรรคการเมืองใช้ข้าวเป็นโยบายทางการเมืองเต็มตัว กระทั่งในปี 2554-57 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ทำโครงการ ‘จำนำข้าวทุกเมล็ด’ และกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกสูงกว่าราคาตลาด 50% ทำให้ตลาดข้าวถูกรวบมาเป็นของรัฐ เอกชนไม่มีสิทธิ์ซื้อข้าวได้ หากจะซื้อต้องซื้อจากรัฐ เพราะรัฐเป็นผู้ผูกขาดตลาดข้าวกลายๆนั่นเอง ขณะที่รัฐต้องใช้เงินในโครงการฯเพิ่มปีละเป็นแสนล้านบาท จากในช่วงปี 2547-51 ที่ใช้เงินเฉลี่ยปีละ 3...
ต่อมาในปี 2562 โครงการประกันรายได้ฯถูกนำกลับมาใหม่ หลังพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้ง และนอกจากโครงการประกันรายได้ฯแล้ว รัฐบาลยังมีมาตรการคู่ขนานด้วย เช่น ช่วยเหลือค่าบริหารจัดการข้าวฯไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ ,สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ,สินเชื่อรวบรวมข้าวเปลือก และการชดเชยดอกเบี้ยให้โรงสีเก็บข้าว ซึ่งในช่วง 3 ปีการผลิต คือ ปี 2562/63 ถึงปี 2564/65 รัฐจ่ายเงินชดเชยไป 3.
“ถ้าเราจะหักมุมให้ข้าวไทยกลับมาเข้มแข็ง ไม่ทรุดลงไปอีก เราต้องปรับนโยบาย ต้องลดทอนการอุดหนุนราคาข้าว แล้วเปลี่ยนมาเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต” รศ.