'ไบเดน' พบ 'สี จิ้นผิง' ที่ G20 ท่ามกลางสัมพันธ์ตึงเครียด PPTVHD36 PPTVNews ช่อง36 ประชุมG20 ไบเดน สีจิ้นผิง ข่าววันนี้ที่ต้องรู้ กรุณาบัวคำศรี รอบโลกDAILY
การพบกันของผู้นำสหรัฐฯ และจีน มีขึ้นที่โรงแรมมูเลีย ซึ่งเป็นโรงแรมหรูบนเกาะบาหลีของอินโดนีเซีย ถือเป็นการพบกันนอกรอบก่อนที่ทั้งคู่จะร่วมการประชุม G20 ที่จะเปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการพรุ่งนี้
ดังนั้น ในฐานะผู้นำของสองประเทศใหญ่ ทั้งเขาและไบเดนจึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางและหาทิศทางที่ถูกต้องสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายในอนาคตและยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกัน การพบกันระหว่างประธานาธิบดีไบเดนและประธานาธิบดีสี จิ้นผิง มีขึ้นในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนกำลังย่ำแย่จากหลากหลายประะเด็นตั้งแต่ท่าทีต่อรัสเซียที่รุกรานยูเครน ประเด็นคาบสมุทรเกาหลี ทะเลจีนใต้ การแข่งขันทางการค้า ตลอดจนการที่จีนกระชับอำนาจควบคุมฮ่องกง และความตึงเครียดต่อประเด็นไต้หวัน ซึ่งนี่เป็นประเด็นที่ทำให้ความสัมพันธ์ของสองมหาอำนาจตึงเครียดหนัก
โดยในระหว่างร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่กัมพูชา ประธานาธิบดีไบเดนได้กล่าวในที่ประชุมว่า ช่องทางสื่อสารระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะเปิดอยู่เสมอเพื่อป้องกันความขัดแย้ง แม้สหรัฐฯ จะแข่งขันกับจีนอย่างดุเดือด แต่ก็รับรองว่าการแข่งขันนั้นจะไม่กลายเป็นความขัดแย้ง พร้อมย้ำความสำคัญของสันติภาพในช่องแคบไต้หวัน การหารือซึ่งหน้าในวันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นปุบปับ แต่เป็นผลจากการหารือยาวนานระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ และจีนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียไม่ได้มาร่วมการประชุม G20 ด้วยตัวเอง แต่ส่ง ‘เซอร์เก ลาฟรอฟ’ รัฐมนตรีต่างประเทศเข้าร่วมแทน
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'สี จิ้นผิง' เดินทางถึงบาหลี เตรียมร่วมประชุม G20 - ถก 'โจ ไบเดน' : อินโฟเควสท์ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แห่งประเทศจีนเดินทางถึงเกาะบาหลี ของประเทศอินโดนีเซียแล้วในวันนี้ (14 พ.ย.) เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ซึ่งมีกำหนดเปิดฉากอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ (15 พ.ย.) ทั้งนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ปธน.สีมีกำหนดประชุมกับประธานาธิบดีโจ ไบเดนในวันนี้ หลังความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาอำนาจโลกร้าวหนัก โดยคาดการณ์ว่า ประเด็นไต้หวันจะกลายมาเป็นวาระสำคัญของทั้งคู่ อนึ่ง การพบกันครั้งนี้จะถือเป็นการประชุมในสถานที่จริงครั้งแรกของทั้งคู่ นับตั้งแต่ปธน.ไบเดนก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐในปี 2563 โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 พ.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »
ประเด็นร้อนต้องรู้ ก่อนประชุมสุดยอด 'โจ ไบเดน-สี จิ้นผิง' 14 พ.ย.ในการประชุมสุดยอดระหว่างปธน.โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ และปธน. สี จิ้นผิง ผู้นำจีน ในวันนี้ (14 พ.ย.) ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย แต่ละฝ่ายต้องการอะไรจากกันและกัน
อ่านเพิ่มเติม »
โจ ไบเดน พบ สีจิ้นผิง ที่บาหลี มีอะไรน่าจับตา – THE STANDARDประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน เตรียมพบปะหารือกันที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายนนี้ ก่อน G20
อ่านเพิ่มเติม »
10 สุดยอดความสำเร็จของจีน เหตุผลที่ สี จิ้นผิง ได้ไปต่อวาระ 3 (5)10 สุดยอดความสำเร็จของจีน เหตุผลที่ สี จิ้นผิง ได้ไปต่อวาระ 3 (5) : คอลัมน์มังกรกระพือปีก โดย...ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับ 3835
อ่านเพิ่มเติม »
'เยลเลน' หวังการเจรจาระหว่างผู้นำสหรัฐ-จีน ดันร่วมมือเศรษฐกิจสองชาติ : อินโฟเควสท์นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐคาดหวังว่า การพบกันระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐ กับปธน.สี จิ้นผิง ผู้นำจีน จะนำไปสู่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจระดับมหภาคระหว่างทั้งสองประเทศมากขึ้น นางเยลเลนระบุว่า วัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้คือ การรักษาเสถียรภาพในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-จีน และสร้างความมั่นใจให้กับบรรดาธุรกิจของสหรัฐเกี่ยวกับเส้นทางในอนาคต “สิ่งที่ดิฉันตั้งความหวังไว้มากที่สุดคือ การประชุมทวิภาคีกับปธน.สี จิ้นผิง จะส่งผลให้เราได้มีส่วนร่วมในการหารือที่เข้มข้นยิ่งขึ้นกับคู่ค้าชาวจีนของเราเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจมหภาคทั่วโลก และนโยบายด้านสุขภาพทั้งในสหรัฐและจีนที่กำลังส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์เหล่านั้น” นางเยลเลนกล่าวกับนักข่าวนอกรอบการประชุมกลุ่ม G20 ที่อินโดนีเซีย สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นางเยลเลนเตรียมพบปะกับนายอี้ กัง ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) เพื่อสอบถามทางการจีนถึงความชัดเจนเกี่ยวกับแผนผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ของจีน ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงแนวทางการจัดการปัญหาการเงินในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ นางเยลเลนระบุว่า ปธน.ไบเดนได้แสดงความชัดเจนกับจีนเรื่องข้อกังวลด้านความมั่นคงแห่งชาติซึ่งว่าด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีที่ละเอียดอ่อนของสหรัฐ และได้หยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของห่วงโซ่อุปทาน แต่สหรัฐไม่ได้พยายามผลักดันบริษัทของสหรัฐออกจากจีนหรือจำกัดกิจกรรมทางการค้าต่าง ๆ ระหว่างสองประเทศแต่อย่างใด โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 พ.ย. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »