'แอปเปิ้ล' เสี่ยงโดนฟ้องหลังความเห็นผู้บริหาร-นโยบายละเมิดสิทธิพนักงาน พนักงาน ละเมิดสิทธิ สหรัฐ แอปเปิ้ล แอปเปิ้ลอิงค์ อินโฟเควสท์
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ของสหรัฐเปิดเผยว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารบริษัทแอปเปิ้ล อิงค์ รวมถึงนโยบายที่ใช้กับพนักงานนั้นเข้าข่ายผิดกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิของพนักงาน
เคย์ลา บลาโด โฆษกของ NLRB เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ ว่า สำนักงานที่ปรึกษาทั่วไปของ NLRB บ่งชี้ว่า กฎการทำงานต่าง ๆ คู่มือด้านกฎระเบียบ และกฎการรักษาความลับที่กำหนดโดยแอปเปิ้ลซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีนั้น มีแนวโน้มที่จะแทรกแซง ยับยั้ง หรือบีบบังคับพนักงานจากการใช้สิทธิของพวกเขาในการดำเนินการใด ๆ ร่วมกัน
บลาโดยังระบุในอีเมลว่า NLRB ยังพบว่า แถลงการณ์และการดำเนินการต่าง ๆ ของแอปเปิ้ลซึ่งนับรวมผู้บริหารระดับสูงด้วยนั้น ถือเป็นการละเมิดกฎหมายแรงงานสัมพันธ์แห่งชาติ ซึ่งหากแอปเปิ้ลไม่ยอมดำเนินการแก้ไข ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของ NLRB ก็จะทำการยื่นฟ้องแอปเปิ้ล สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า สาเหตุที่ NLRB เข้ามาตรวจสอบนั้นเกิดจากคดีฟ้องร้องในปี 2564 ของแอชลีย์ โจวิก และเชอร์ สการ์เลตต์ ซึ่งทั้งสองคนเป็นอดีตพนักงานของแอปเปิ้ล โดยสการ์เลตต์ได้ฟ้องร้องแอปเปิ้ลที่ห้ามพนักงานพูดคุยกันเรื่องอัตราค่าจ้าง, ชั่วโมงทำงาน, เงื่อนไขอื่น ๆ หรือภาวะของการจ้างงาน ส่วนโจวิกยื่นฟ้องว่า อีเมลของนายทิม คุก ซีอีโอของแอปเปิ้ลที่ระบุว่า จะลงโทษผู้ปล่อยข้อมูลรั่วไหลออกไป รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ในคู่มือสำหรับพนักงานของแอปเปิ้ลนั้น...
ทั้งนี้ อีเมลที่นายทิม คุกส่งให้พนักงานทุกคนในเดือนก.ย. 2564 ระบุว่า “คนที่ปล่อยให้ข้อมูลลับรั่วไหลนั้นไม่สมควรจะอยู่ที่นี่ บริษัทจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อหาตัวผู้ปล่อยข้อมูลรั่วไหล และจะไม่นิ่งเฉยต่อการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลไอพีของผลิตภัณฑ์หรือรายละเอียดของการประชุมที่เป็นความลับ”
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
พาณิชย์แตะเบรก ยังไม่อนุมัติขึ้นราคานมผงเด็ก-ปลากระป๋อง : อินโฟเควสท์น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เงินเฟ้อที่ทั่วโลกประสบอยู่ ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศขยับตัวสูงขึ้นตามนั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปกำกับดูแลราคาอย่างเต็มที่ โดยได้ให้นโยบายและการดำเนินการที่ถือหลักทุกฝ่ายสามารถอยู่ได้ ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ให้เกิดความสมดุล ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกฝ่าย ล่าสุด ในเรื่องของราคานมผงเลี้ยงเด็กแรกเกิด ที่มีข่าวว่าจะปรับราคาเพิ่มขึ้น 10% และปลากระป๋อง ปรับขึ้นราคากระป๋องละ 2 บาทนั้น กรมการค้าภาย กระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า สินค้าทั้ง 2 รายการ เป็นสินค้าควบคุม หากจะปรับราคาจะต้องยื่นขออนุญาตมายังกรมการค้าภายในก่อน และกรมฯ ได้ขอความร่วมมือผู้ผลิตสินค้าตรึงราคาสินค้าในราคาเดิม เพื่อไม่ซ้ำเติมค่าครองชีพประชาชน และย้ำว่าขณะนี้ยังไม่มีการอนุมัติให้สินค้าทั้ง 2 รายการปรับขึ้นราคาจากราคาเดิม ส่วนราคาที่ขยับขึ้นบ้างขณะนี้ อาจเป็นการขอปรับส่วนลดทางการค้าของผู้ผลิตให้น้อยลง ทำให้ราคาจำหน่ายในท้องตลาดสูงขึ้น ส่วนกรณีนมถั่วเหลือง จะปรับขึ้นราคากล่องละ 1-2 บาทนั้น เนื่องจากนมถั่วเหลืองเป็นสินค้าทางเลือก ไม่ใช่สินค้าควบคุมที่ต้องขออนุญาต แต่จะต้องกำหนดราคาให้สอดคล้องตามต้นทุนไม่ให้สูงเกินจริง ซึ่งกรมฯ ได้ประสานขอดูโครงสร้างต้นทุนว่าอัตราที่ปรับเหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนหรือไม่ รองโฆษกรัฐบาล กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีสินค้าและบริการควบคุมจำนวน 56 […]
อ่านเพิ่มเติม »
ฟิลิปปินส์ไฟเขียวแผนขอคืน VAT ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ หวังดึงดูดนักท่องเที่ยว : อินโฟเควสท์ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ผู้นำฟิลิปปินส์ ได้อนุมัติโครงการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติภายในปี 2567 เพื่อดึงดูดให้มีคนมาเที่ยวฟิลิปปินส์มากขึ้น สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ปัจจุบันฟิลิปปินส์เก็บ VAT กับสินค้าที่บริโภคในประเทศอยู่ 12% โดยแผนขอคืน VAT ดังกล่าวเปิดโอกาสให้ต่างชาติขอคืน VAT กับสินค้าที่นำออกนอกประเทศได้ โครงการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้เป็นหนึ่งในข้อเสนอที่ภาคเอกชนเสนอให้กับผู้นำฟิลิปปินส์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ซึ่งนอกจากแผนขอคืน VAT แล้วยังเสนอให้ปรับปรุงสนามบินและส่งเสริมการลงทุนด้านการท่องเที่ยวด้วย นอกจากนี้ ผู้นำฟิลิปปินส์ยังได้อนุมัติแผนออกวีซ่าทางออนไลน์ให้นักท่องเที่ยวจีน อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นในปีนี้ด้วย โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 ม.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
จีนออกวีซ่าให้พลเมืองญี่ปุ่นแล้ว หลังงดออกวีซ่าตอบโต้มาตรการคุมโควิด : อินโฟเควสท์จีนกลับมาออกวีซ่าให้พลเมืองญี่ปุ่นแล้ว หลังจากที่ระงับไปเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ เพื่อตอบโต้ต่อการที่ญี่ปุ่นออกมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดต่อผู้ที่เดินทางจากจีน สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า สถานทูตจีนในกรุงโตเกียวประกาศว่า ทางสถานทูตฯ จะกลับมาออกวีซ่าอีกครั้งในวันนี้ เมื่อต้นเดือนนี้ จีนได้ระงับการออกวีซ่าแก่ผู้ที่เดินทางจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เพื่อตอบโต้ต่อการที่ทั้งสองประเทศออกมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดต่อผู้ที่เดินทางจากจีน การดำเนินการดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 ให้เข้มงวดมากขึ้นสำหรับผู้ที่เดินทางจากจีน เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้พุ่งขึ้นอย่างมาก โดยนับตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. ผู้ที่เดินทางมาจากจีนจะต้องแสดงผลตรวจเชื้อโควิด-19 เป็นลบก่อนที่จะเดินทางมายังญี่ปุ่น และจะต้องทำการตรวจแบบ RT-PCR ขณะเดินทางถึงญี่ปุ่น โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 ม.ค. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »
เมียนมาค้าขายกับต่างประเทศเพิ่มขึ้น 18.47% : อินโฟเควสท์กระทรวงพาณิชย์เมียนมารายงานว่า มูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้าทั้งหมดของเมียนมาเพิ่มขึ้น 18.47% เทียบรายปี แตะ 2.719 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นข้อมูลระยะเวลาเกือบ 10 เดือนตามปีงบประมาณ 2565-2566 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนเม.ย.ปีที่แล้ว ข้อมูลระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ปีที่แล้ว ถึง 20 ม.ค.ปีนี้ เมียนมาส่งออกเพิ่มขึ้น 14.25% แตะ 1.336 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อเทียบรายปี ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้น 22.85% แตะ 1.382 หมื่นล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาดังกล่าว การค้าทั้งหมดของเมียนมาทำผ่านเส้นทางทะเลคิดเป็นสัดส่วน 76.04% ส่วนอีก 23.96% ทำผ่านพรมแดนพื้นดิน สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมียนมามักทำการค้าต่างประเทศส่วนใหญ่ผ่านเส้นทางเดินเรือเนื่องจากมีชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาว และทำการค้าบริเวณชายแดนกับจีน ไทย บังกลาเทศ และอินเดีย ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การประมง แร่ธาตุและผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าการผลิตและอื่น ๆ ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 […]
อ่านเพิ่มเติม »
กกพ. จ่อคลอดเกณฑ์ค่าไฟสีเขียว ช่วยธุรกิจลดอุปสรรคเวทีการค้า : อินโฟเควสท์นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า แนวทางการกำกับกิจการของ กกพ. ในระยะต่อไป จะมุ่งสร้างกลไกเพื่อเพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงาน ทั้งกิจการก๊าซธรรมชาติที่อาจมีการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อรองรับการแข่งขัน ในขณะที่ยังคงต้องรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน พร้อมสนับสนุนการใช้พลังงานสีเขียวในราคาที่ยอมรับได้ ติดอาวุธผู้ประกอบการเอกชนในเวทีการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ เลขาธิการ กกพ. กล่าวว่า ระยะเวลาที่ผ่านมา เราพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยใช้ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และในพม่าเป็นหลัก และมีการนำเข้าแอลเอ็นจีเป็นส่วนน้อย ความไม่ต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสัมปทานก๊าซในอ่าวไทย และวิกฤตราคาพลังงานในตลาดโลก เป็นบทเรียนสำคัญที่จะต้องนำไปปรับปรุงแนวทางกำกับการผลิตก๊าซในอ่าวไทย และการนำเข้าแอลเอ็นจีเพื่อจูงใจให้ตลาดมีการแข่งขัน ลดการผูกขาด ในกรณีที่ยังต้องมีการนำเข้าแอลเอ็นจีจำนวนมาก เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต ในระยะเร่งด่วนนี้ ยังคงให้ความสำคัญกับการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ เช่น น้ำมัน พลังน้ำ และพลังงานหมุนเวียน เพื่อมาทดแทนการนำเข้า LNG ที่มีราคาแพงในระยะสั้น แต่ระยะต่อมา คงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อรองรับการใช้พลังงานสีเขียวตอบสนองความต้องการภาคธุรกิจการค้า และการลงทุนของภาคเอกชนระหว่างประเทศ ซึ่งมีความต้องการซื้อและได้รับการรับรองการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ในการลดอุปสรรคทางการค้า และการลงทุนจากมาตรการภาษีคาร์บอนข้ามแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) และข้อกีดกันทางการค้าการลงทุนอื่นๆ […]
อ่านเพิ่มเติม »