'เน็ตฟลิกซ์' เคาะแล้วค่าบริการดูหนังแบบพ่วงโฆษณา 6.99 ดอลลาร์ต่อเดือน NETFLIX เน็ตฟลิกซ์ อินโฟเควสท์
เน็ตฟลิกซ์ อิงค์เปิดเผยในวันพฤหัสบดี ว่า จะเริ่มให้บริการสตรีมมิ่งแบบมีโฆษณาในราคาราว 7 ดอลลาร์ต่อเดือนในเดือนพ.ย.นี้ โดยหวังที่จะดึงดูดสมาชิกรายใหม่ ๆ หลังจากบริษัทสูญเสียลูกค้าไปในช่วงครึ่งปีแรก
สำหรับค่าบริการแพ็กเกจมาตรฐานพร้อมโฆษณา จะอยู่ที่ระดับ 6.99 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งถูกกว่าราคาต่ำสุดของแพ็กเกจแบบไม่มีโฆษณาอยู่ราว 3 ดอลลาร์ โดยแพ็กเกจใหม่นี้จะเริ่มให้บริการใน 12 ประเทศรวมถึงสหรัฐ, บราซิล, เยอรมนี, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานการเปิดเผยของเน็ตฟลิกซ์ว่า สมาชิกที่สมัครแพ็กเกจดังกล่าวจะเห็นโฆษณาราว 4-5 นาทีต่อชั่วโมง แต่ภาพยนตร์ที่เพิ่งออกฉายใหม่นั้นจะมีการจำกัดโฆษณาเพื่อรักษาอรรถรสในการชมภาพยนตร์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
'สี จิ้นผิง' เตรียมย้ำสร้างความมั่นคงของชาติ มากกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจีน : อินโฟเควสท์ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน อาจตอกย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายประวัติศาสตร์ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยยกระดับสถานะความมั่นคงของชาติ แม้จะสูญเสียการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์ระบุว่า หัวหน้าพรรคทุกคนนับตั้งแต่นายเจียง เจ๋อหมิน อดีตประธานาธิบดีจีนในปี 2545 ได้ใช้การกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสมัชชาใหญ่ซึ่งจัดขึ้นทุก 5 ปีเพื่อยืนยันว่า การพัฒนาเศรษฐกิจเป็น “ความสำคัญสูงสุด” ของพรรค แต่ปธน.สี อาจยกเลิกวลีดังกล่าวเพื่อสนับสนุนสโลแกนที่เรียกร้องให้ “สร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาและความมั่นคง” สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ปธน.สีเริ่มใช้สโลแกนดังกล่าวบ่อยครั้งในช่วงปี 2563 เพื่อเน้นย้ำถึงการรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐ รวมถึงโรคระบาดในอนาคต ขณะที่เขาได้เริ่มเรียกร้องให้ใช้แนวทางแบบบูรณาการด้านความมั่นคงและการพัฒนาตั้งแต่ปี 2557 เขาก็ยังคงกล่าวถึง “การพัฒนาเป็นอันดับแรก” ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกของเขาในการประชุมพรรคเมื่อปี 2560 โฮเวิร์ด หวัง ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายของจีนจากแรนด์ คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่า การยกเลิกสโลแกนเดิมและมุ่งให้ความสำคัญมากขึ้นกับความมั่นคงนั้นแสดงให้เห็นว่า จีนจะมีความอดทนมากขึ้นต่อความเสี่ยงที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะชะลอลง นายหวังระบุเสริมว่า นโยบายล่าสุดของจีน เช่น การเดินหน้าควบคุมบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และนโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero-Covid) สะท้อนถึงความเต็มใจของจีนที่จะเผชิญกับต้นทุนทางเศรษฐกิจเพื่อรับประกันด้านความมั่นคง อย่างน้อยที่สุดก็คือ ความมั่นคงทางการเมืองของผู้นำพรรค วลี “ความสมดุลระหว่างความมั่นคงและการพัฒนา” ถูกระบุไว้ในกฎหมายหลายฉบับนับตั้งแต่ปี 2563 และยังมีการใช้วลีนี้เพิ่มขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นกับสหรัฐในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และในช่วงเดือนท้าย ๆ …
อ่านเพิ่มเติม »
ไทย-สิงคโปร์ เซ็น MOU 5 ฉบับ ขยายโอกาสสินค้า-บริการ พร้อมดึงลงทุนใน EEC : อินโฟเควสท์นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างไทยและสิงคโปร์ (Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship: STEER) ครั้งที่ 6 ร่วมกับ รมว.แรงงาน และรมว.การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในการประชุม STEER ครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมสำคัญ คือ 1. การประชุม STEER ครั้งที่ 6 2. การลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างไทยกับสิงคโปร์ 5 ฉบับ ทั้งระหว่างภาครัฐ-ภาครัฐ และเอกชน-เอกชน และ 3. กิจกรรมจับคู่ธุรกิจออนไลน์ Online Businesses Matching (OBM) ระหว่างผู้ส่งออกไทย 33 บริษัทและผู้นำเข้าจากสิงคโปร์ 11 บริษัท รวมเป็น 44 บริษัท คาดว่าสามารถซื้อขายกันได้ประมาณ 30 …
อ่านเพิ่มเติม »
ส.อ.ท.วาง 4 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเจาะตลาดซาอุฯ ตั้งเป้าปีแรกหมื่นลบ. : อินโฟเควสท์นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการลงทุนแห่งซาอุดีอาระเบีย ได้สัมมนาออนไลน์ (Webinar) ในหัวข้อ “INVESTMENT AND BUSINESS OPPORTUNITIES IN SAUDI ARABIA” เพื่อเปิดโอกาสด้านการค้า-การลงทุนระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย โดยตั้งเป้าไว้ที่ 10,000 ล้านบาทในปีแรก ภายใต้การดำเนินงานของสภาธุรกิจไทย-ซาอุดีอาระเบีย สภาธุรกิจซาอุดีอาระเบีย-ไทย และกระทรวงส่งเสริมการลงทุนแห่งซาอุดีอาระเบีย ตลอดจนจะมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ (Health & Wellness) ด้วย ในส่วนของการลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสภาธุรกิจไทย-ซาอุดีอาระเบีย และสภาธุรกิจซาอุดีอาระเบีย-ไทย จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน และหวังว่าการจัดงานครั้งนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสและความร่วมมือในอนาคตต่อไป นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เข้ามาช่วยผลักดันและส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยให้ผ่านวิกฤตโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันที่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน เช่น ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง และต้นทุนการผลิตที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ ดังนั้นการเจาะตลาดคู่ค้าใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา อเมริกาใต้ จะเป็นโอกาสของไทยในด้านการค้าและการลงทุน โดยตลาดตะวันออกกลางมีมูลค่าการค้ากับไทย 32,101 …
อ่านเพิ่มเติม »
พรรคสร้างอนาคตไทย เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส.พัทลุง ปักธงยึดหัวหาดภาคใต้แทนปชป. : อินโฟเควสท์นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานพรรคสร้างอนาคตไทย พร้อมด้วยแกนนำ อาทิ นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคและประธานภาคใต้ พร้อมคณะผู้บริหาร เปิดเวทีปราศรัย พร้อมเปิดตัว 3 ว่าที่ผู้แสดงเจตจำนงเป็นผู้สมัคร ส.ส. พัทลุง โดยมีประชาชนเข้าร่วมกว่า 1,000 คน นายสนธิรัตน์ กล่าวบนเวทีตอนหนึ่งว่า พรรคสร้างอนาคตไทยสัญญาว่าจะเป็นพรรคการเมืองน้ำดีของประเทศไทย และเป็นทีมเศรษฐกิจที่มีประสบการณ์มากที่สุด เป็นทีมเศรษฐกิจที่คิดแก้ปัญหาปากท้องให้ประชาชน “เราเลือกคนที่จะไปทำงานให้ประชาชน โดยเมื่อมีนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย และประธานภาคใต้มาเป็นแม่ทัพภาคใต้นี่คือหลักประกันให้คนพัทลุงและพี่น้องชาวใต้ว่า เราจะเลือกคนที่ไม่เคยทำร้ายประชาชนภาคใต้มายืนคู่กับประชาชน ถ้าพี่น้องให้ความไว้วางใจพรรคสร้างอนาคตไทยและพรรคสร้างอนาคตไทยได้เข้าไปบริหารประเทศ พรรคนี้จะดูแลประชาชนด้านเศรษฐกิจอย่างสุดความสามารถ” ด้านนายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ตนออกจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มาอยู่พรรคสร้างอนาคตไทย ซึ่งที่นี่ ตนได้ถูกชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ เปลี่ยนเจ้านายใหม่แล้ว ซึ่งพรรคสร้างอนาคตไทยตั้งขึ้นมาภายใต้คำมั่นสัญญา 3 ข้อ คือ 1.ไม่ละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ 2. ไม่สุดขั้วทางการเมือง 3.จะแก้ปัญหาปากท้องให้ประชาชนเป็นหลัก นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า …
อ่านเพิ่มเติม »
'โตโยต้า' เปิดโรงงานแห่งใหม่ในเมียนมา หลังระงับกว่า 19 เดือนจากรัฐประหาร : อินโฟเควสท์บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป เปิดเผยว่า บริษัทได้เริ่มประกอบรถยนต์ที่โรงงานแห่งใหม่ในเมียนมาแล้ว หลังระงับมานานกว่า 19 เดือน เนื่องจากกองทัพเมียนมาทำรัฐประหารและการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โตโยต้าระบุในแถลงการณ์ว่า โรงงานแห่งนี้ได้เริ่มประกอบรถกระบะโตโยต้า ไฮลักซ์ 1-2 คันต่อวัน โดยใช้อะไหล่ที่ส่งไปยังเมียนมาเมื่อเดือนก.ย. ที่ผ่านมา รายงานระบุว่า บริษัทญี่ปุ่นและบริษัทจาประเทศอื่น ๆ ต่างเผชิญแรงกดดันให้ถอนการลงทุนในเมียนมา เนื่องจากถูกมองว่าจะเอื้อประโยชน์แก่กองทัพเมียนมา โตโยต้าระบุว่า “เราเชื่อมั่นว่าสิ่งนี้เป็นไปตามความตั้งใจในทีแรกของเราที่จะมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมในเมียนมา และเพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่พนักงานของเราและครอบครัวของพวกเขา ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ เรากำลังพยายามทุกวิถีทางอย่างต่อเนื่องเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมด” สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แต่เดิมโรงงานมีกำหนดจะเปิดดำเนินการในเดือนก.พ. 2564 ซึ่งเป็นเดือนเดียวกับที่กองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางออง ซาน ซูจี โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (12 ต.ค. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »
กกพ. แจ้งมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ประสบอุทกภัย : อินโฟเควสท์นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กกพ. ได้มีหนังสือแจ้งการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และกิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ (กฟส.) เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 65 เพื่อเน้นย้ำแนวทางการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้า ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม ในช่วงเดือนที่เกิดอุทกภัย ซึ่งเป็นไปตามมติ กกพ. ในปี 54 และ 60 โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย พิจารณาออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวทางการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ตามมติ กกพ. ดังนี้ 1. กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าที่ถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในเดือนที่อาจจะไม่ได้ใช้ไฟฟ้า อันเนื่องมาจากอยู่ในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย และเป็นการเรียกเก็บที่เกิดจากการใช้ค่าเฉลี่ยของการใช้ไฟฟ้าในเดือนที่เกิดอุทกภัยรวมกับเดือนถัดมานั้น ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถแจ้งการไฟฟ้าเพื่อให้พิจารณาตรวจสอบและแยกเรียกเก็บตามจริงได้ ทั้งนี้ หากไม่มีหน่วยการใช้ไฟฟ้าในรอบเดือนที่เกิดอุทกภัย ก็จะได้รับการยกเว้นค่าบริการ 2. กรณีที่มีค่าไฟฟ้าถูกเรียกเก็บสูงกว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริง อันเนื่องมาจากไฟฟ้ารั่ว ผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย สามารถขอให้การไฟฟ้าพิจารณาและตรวจสอบ หากพบว่ามีไฟฟ้ารั่วอันเนื่องจากเหตุอุทกภัย ก็ให้มีการพิจารณาดำเนินการคืนค่าไฟฟ้าส่วนเกินตามความเหมาะสม 3. กรณีที่มีการงดจ่ายไฟฟ้าและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการต่อกลับมิเตอร์ไฟฟ้าที่เกิดจากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ได้รับใบแจ้งหนี้ในช่วงเกิดเหตุอุทกภัย หรือไม่สามารถชำระค่าไฟฟ้าอันเนื่องมาจากเหตุอุทกภัย ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถยื่นคำร้องเพื่อให้การไฟฟ้าตรวจสอบ และคืนเงินค่าธรรมเนียมการต่อกลับมิเตอร์ไฟฟ้าได้ …
อ่านเพิ่มเติม »