'รศ.หริรักษ์' ชี้แบ่งจ่ายเงินเดือนเป็น 2 งวดเป็นมาตรการตื้นเขิน เป็นประโยชน์สำหรับบางคนที่บริหารเงินไม่เป็น เพิ่มภาระกรมบัญชีกลาง 13 ก.ย.2566 รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ระบุว่า มาตรการที่ออกมาจากรัฐบาลหลังการประชุม ครม.ครั้งแรกแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลต้องการให้สาธารณะเห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ตัดสินใจได้อย่างฉับไวและเป็นรูปธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลยังไม่เคยได้ศึกษาและคิดให้ทะลุเบ็ดเสร็จลงไปจนถึงระดับปฏิบัติเลยแม้แต่มาตรการเดียวก่อนการเลือกตั้งและการหาเสียง มาตรการแบ่งจ่ายเงินเดือนเป็น
"รศ.หริรักษ์" ชี้แบ่งจ่ายเงินเดือนเป็น 2 งวดเป็นมาตรการตื้นเขิน เป็นประโยชน์สำหรับบางคนที่บริหารเงินไม่เป็น เพิ่มภาระกรมบัญชีกลาง
มาตรการแบ่งจ่ายเงินเดือนเป็น 2 งวด เป็นมาตรการที่ตื้นเขิน เป็นประโยชน์เพียงสำหรับบางคนที่บริหารเงินไม่เป็นเท่านั้น ฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์แล้วประเมินได้ว่า คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตื่นเต้นกับมาตรการนี้ เพราะหากจ่ายเงินเดือนมาให้ก่อนครึ่งเดือน อีกครึ่งหนึ่งไปจ่ายปลายเดือน ซึ่งอาจไม่มีผลเสียต่อข้าราชการ แต่ก็ไม่ได้เป็นผลดีมากพอที่จะคุ้มกับภาระงานที่จะต้องเพิ่มขึ้นของกรมบัญชีกลาง แม้ท่านอธิบดีกรมบัญชีกลางจะให้ข่าวว่าพร้อม แต่ท่านอธิบดีไม่ได้เป็นคนทำงานระดับปฏิบัติ...
ไม่ต้องพูดถึง digital wallet ที่หาเสียงกันปาวๆ แต่เพียงมีวิธีการคร่าวๆเท่านั้น รายละเอียดต่างๆยังไม่ได้คิดให้เบ็ดเสร็จก่อนหาเสียง ที่สำคัญก็คือ ยังไม่รู้ว่าจะเอาเม็ดเงิน 5.6 แสนล้านมาจากไหน ได้แต่ประกาศว่าจะไม่กู้เงินเพิ่ม แต่ก็ยังไม่ทราบว่าจะเอาเงินมาจากไหน อยากขออ้างคำพูดของคุณแสงชัย สุนทรวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ผู้มากความสามารถ น่าเสียดายที่ท่านจากไปก่อนเวลาอันควร คุณแสงชัยพูดไว้ก่อนจะเกิดคำว่า soft power ถึง 30 ปีว่า
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ยังไม่สาย! 'อดีตรองอธิการบดี มธ.' แนะ 'รัฐบาลเศรษฐา' รีบทำตามนโยบายที่หาเสียงเมื่อวันที่ 12 ก.ย.66 รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Harirak Sutabutr ระบุข้อความว่า ได้ฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภามาหลายรัฐบาล ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลไหนให้ความสำคัญต่อการแถลงนโยบายมากเท่าที่ควรจะให้แม้แต่รัฐบาลเดียว นั่นอาจเป็นเพราะว่าผู้นำรัฐบาลเห็นว่าจะแถลงอย่างไรก็ไม่ทำให้รัฐบาลล้มลงไปได้เหมือนกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน ทุกรัฐบาลจึงแถลงพอเป็นพิธี ขอเพียงไม่น่าเกลียดเกินไปก็พอ การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ความจริงมีความสำคัญมากต่อรัฐบาลแม้จะไม่มีการลงมติว่าจะให้ผ่านหรือไม่ เพราะเป็นการสร้างความประทับใจครั้งแรก (first impression)
อ่านเพิ่มเติม »
'หมอนิธิพัฒน์' ส่ง จม.ถึง 'หมอชลน่าน'ฉบับสอง สะกิดเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรค ไม่ควรนำมาเป็นประชานิยมทางการแพทย์วันที่ 14 ก.ย.66 รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล ระบุว่า...
อ่านเพิ่มเติม »
สกสว. หนุนใช้กองทุนส่งเสริม ววน. พัฒนาเชิงพื้นที่ บนพื้นที่ฐานองค์ความรู้ ขับเคลื่อนประเทศพ้นกับดักรายได้ปานกลางสกสว. ร่วมมือ สภาพัฒน์ฯ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 'การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่และตำบล' เชื่อมโยงทุกมิติรอบด้าน หนุนเสริมเชิงพื้นที่ มุ่งสู่เป้าหมาย 13 หมุดหมาย 7,255 ตำบลต้นแบบ ขยายผลการจัดทำพื้นที่นำร่อง พร้อมสร้างเครือข่ายการพัฒนาอย่างเข้มแข็ง เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 รศ.
อ่านเพิ่มเติม »
'บุษบา จิราธิวัฒน์' ช่วยผู้ป่วยมะเร็งในสตรีหาทุนจัดซื้อเครื่องมือแพทย์บุษบา จิราธิวัฒน์ เปิดโครงการ “Central Group Women Cancer” 2023 เพื่อหาทุนจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ช่วยผู้ป่วยมะเร็งในสตรี โดยมี รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์, กิรัติ์สุดา จิราธิวัฒน์
อ่านเพิ่มเติม »
พื้นที่การเรียนรู้ : (พื้นที่)ที่ไม่ควรมองข้าม”รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คำว่า 'พื้นที่การเรียนรู้' (Learning Space) มีแนวคิดที่เป็นต้นกำเนิดจากศาสตร์ด้านการศึกษาและการสอน ซึ่งหมายถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพหรือเสมือนจริงที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนเกิดขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้มีการพัฒนาไปตามกาลเวลาเพื่อสร้างหรือออกแบบพื้นที่และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้ส่งเสริมแนวทางการศึกษาที่หลากหลายและเป็นพลวัต ต้นกำเนิดของคำว่า “พื้นที่การเรียนรู้” สามารถย้อนกลับไปในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เมื่อนักการศึกษาและนักวิจัยเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางกายภาพในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งก่อนหน้านั้นเมื่อกล
อ่านเพิ่มเติม »
อธิการบดี มก. รับมอบเงิน 2 ล้าน สมทบทุนสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วันที่ 12 ก.ย.66 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับมอบเงินจำนวน 2,000,000 บาท จาก นายเกรียง วงศ์ตั้งใจ และครอบครัว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนคณะแพทยศาสตร์และการสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโอกาสครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.สมหวัง ขันตยานุวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงและโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี ประธานคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และเพื่อการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ผศ.ดร.นุชนาถ มั่งคั่ง รองอธิการบดีฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเป็นสักขีพยาน
อ่านเพิ่มเติม »