ปัญหาสุขภาพจิตคนไทย โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เมื่อมีรายงานพบว่า 5-9 ปี 1 ใน 14 คน วัย 10-19 ปี 1 ใน 7 มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ อายุ 13-17 ปี 17.6% มีความคิดฆ่าตัวตาย อ่านต่อ: กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ที่เห็นชัดกว่าคือ พ่อแม่ที่พาเด็กมาก็ซึมเศร้าด้วย และยังมีเคสอีกมากที่ยังไม่ได้เข้าระบบบริการ อย่างคลินิกเรามีคิวขอรับบริการยาวเป็นปี ทำให้มีจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพจิตได้ ยิ่งหลังโควิดเคสเพิ่มขึ้นเยอะมาก สะท้อนว่าคนมีปัญหาสุขภาพจิตเยอะ แต่ระบบบริการก็ยังไม่เพียงพอ" พญ.จิราภรณ์กล่าว
“ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นมีความสำคัญมาก จะพบว่ามีเด็กฆ่าตัวตายเยอะมาก แล้วยังมีที่เด็กเสียชีวิตแต่ไม่เป็นข่าวอีกมาก ส่วนหนึ่งปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น เกิดจากเด็กเติบโตมาในสังคมที่ไม่โอบอุ้มความฝันที่จะได้เป็นตัวของตัวเอง เช่น จะเป็นเพศไหนก็มีอุปสรรค อยากทำอาชีพอะไรก็ไม่สามารถเลือกเองได้ เพราะอยู่ในสังคมที่ถูกกดทับด้วยคำว่าต้องอยู่รอด
และระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งคุณภาพชีวิต คุณภาพการศึกษาไม่รองรับ รวมถึงมีปัญหาเรื่องเศรษฐานะ ทำให้ความฝันของเด็กไม่ถูกตอบรับ อย่างวันนี้ก็พบกรณีของน้องคนหนึ่งอยากจะเป็นครูบนดอย แต่สุดท้ายจากปัญหาโควิดทำให้หลุดจากระบบการศึกษา อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 31 ส.ค.2565 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ประชุมมีการผลักดันให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตระดับจังหวัดครบทั้ง 76 จังหวัด ดำเนินงาน 6 ประเด็น ได้แก่ 1.สร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจ 2.ลดอัตราการฆ่าตัวตาย 3.
ที่ประชุมยังได้พิจารณาเห็นชอบ แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ระยะที่ 2 ที่กำหนดวิสัยทัศน์ว่ามีเป้าหมาย 7 ประเด็น ได้แก่ 1.เด็กมีความฉลาดทางสติปัญญา 2.เด็กมีความฉลาดทางอารมณ์ 3.ครอบครัวมีความเข้มแข็งและอบอุ่น 4.คนไทยมีสุขภาพจิตดี 5.ลดอัตราการฆ่าตัวตาย 6.จังหวัดมีการบูรณาการงานสุขภาพจิตตามมาตรฐาน และ 7.
แนวทางการดูแลความรุนแรงทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อสังคม โดยจัดระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ตั้งแต่การคัดกรองผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง, การส่งต่อผู้ป่วย เพิ่มการเข้าถึงบริการด้วยความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมกับ