ไฟป่าที่ลุกลามในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า สามารถควบคุมเพลิงได้ทั้งหมด
วันนี้ (12 มกราคม) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รายงานว่า สถานการณ์ ไฟป่า ที่ลุกลามในพื้นที่ ป่าสงวน แห่งชาติป่าเขาเสียดอ้าว่า เหตุการณ์ ไฟป่า เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2568 บริเวณด้านหลังวัดอุดมสุข หมู่ที่ 7 ตำบลพญาเย็น ซึ่งศูนย์ส่งเสริมการควบคุม ไฟป่า นครราชสีมา สามารถ ควบคุมเพลิง ได้ในคืนเดียวกัน มีพื้นที่เสียหายประมาณ 200 ไร่ แต่ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม ไฟป่า ปะทุขึ้นอีกครั้งที่บริเวณบ้านหัวโกรก ในเขต ป่าสงวน แห่งชาติเดียวกันการ ควบคุมเพลิง เป็นไปด้วยความยากลำบาก
เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง เป็นหน้าผาหินและมีลมแรง ทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว จนถึงวันที่ 10 มกราคม เหตุการณ์ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้มีการจัดตั้งกองอำนวยการร่วมเฉพาะกิจ นำโดยแม่ทัพภาคที่ 2 และรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สนับสนุนเจ้าหน้าที่ชุดเสือไฟจากศูนย์ปฏิบัติการไฟป่านครราชสีมา, ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าขอนแก่น, ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าแพร่ และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในการร่วมปฏิบัติการดับไฟป่ากับกรมป่าไม้, องค์การบริหารส่วนตำบลพญาเย็น, กองทัพบก และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พร้อมด้วยอากาศยาน 4 ลำ จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปภ.จังหวัดนครราชสีมา และกองทัพบก เพื่อโปรยน้ำดับไฟในพื้นที่ที่เข้าถึงยากทำให้วานนี้ (11 มกราคม) เวลา 14.00 น. หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการไฟป่านครราชสีมารายงานว่า สามารถควบคุมเพลิงได้ทั้งหมดแล้ว อยู่ระหว่างการตรวจสอบพื้นที่เพื่อดับไฟให้สนิทในแนวดำทุกจุดทั้งนี้ จากการตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่พบปลอกกระสุนปืนขนาด 0.22 มิลลิเมตร จำนวนหนึ่ง พร้อมกับดักสัตว์ป่า จึงสันนิษฐานว่าสาเหตุของไฟป่าครั้งนี้อาจเกิดจากการเผาป่าเพื่อต้อนสัตว์ป่าสำหรับการลักลอบล่าสัตว์ในพื้นที
ไฟป่า ป่าสงวน นครราชสีมา ควบคุมเพลิง สาเหตุ