ไทย-กัมพูชา ร่วมมือระบบธนาคารให้บริการชำระสินค้าด้วยระบบ QRCode ส่งเสริมท่องเที่ยว-การค้า อินโฟเควสท์
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบถึงความร่วมมือระหว่าง ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ธนาคารกลางกัมพูชา ในโครงการบริการชำระสินค้าด้วยระบบคิวอาร์โค้ด โดยสามารถใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการชำระได้ ซึ่งมีจุดประสงค์ในการส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่น ให้สามารถเข้าถึงระบบการบริการทางการเงินที่หลากหลาย กระตุ้นการท่องเที่ยวและการค้าชายแดนของทั้ง 2ประเทศ...
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ธนาคารกลางของทั้ง 2 ประเทศ ได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาระบบการจ่ายเงินด้วยคิวอาร์โค้ดตั้งแต่ปี 2561 เพื่อความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกการค้าพรมแดน รองรับปริมาณการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น โดยโครงการความร่วมมือกันดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการระยะแรก ในปี 2563 ซึ่งในระยะแรกได้อำนวยความสะดวกให้ประชาชนกัมพูชา สามารถใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพื่อซื้อสินค้าและบริการในร้านค้าปลีกของประเทศไทย ด้วยการชำระผ่านคิวอาร์โค้ดของแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือได้ โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนตามจริงของเวลา...
ส่วนการดำเนินโครงการในระยะที่ 2 อำนวยความสะดวกให้ประชาชนไทยที่ซื้อสินค้าในกัมพูชา สามารถชำระค่าสินค้าและบริการ ผ่านคิวอาร์โค้ดบนแอปพลิเคชันธนาคาร โดยใช้สกุลเงินบาทได้ ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เป็นต้นมา ทำให้ประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ สามารถใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันธนาคารทั้งธนาคารของกัมพูชา และ ธนาคารของไทย เพื่อใช้จ่ายระหว่างกันผ่านคิวอาร์โค้ดได้แล้วทุกธนาคาร
“นายกรัฐมนตรี ชื่นชมความร่วมมือของระบบธนาคารระหว่างประเทศของไทย และ กัมพูชา ทำให้การชำระค่าสินค้าและบริการสามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น เชื่อมั่นว่าจะเป็นประโยชน์กับการค้าชายแดน และสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในพื้นที่ โดยที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญ สนับสนุนการพัฒนาระบบการเงินการธนาคาร รวมถึงระบบการจ่ายเงินระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกับการปรับตัวสู่สังคมไร้เงินสด...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
เฮ 2 ประเทศ ‘ไทย-กัมพูชา’ ใช้จ่ายเงินระหว่างกันผ่านระบบคิวอาร์โค้ดนายกฯ ชื่นชมความร่วมมือระบบธนาคาร ไทย-กัมพูชา สามารถชำระค่าสินค้าและบริการระหว่างกันผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (Interoperable QR Code)
อ่านเพิ่มเติม »
พาณิชย์เผยเจรจา FTA ไทย-EFTA คืบตามเป้า คาดสรุปผลกลางปี 67 : อินโฟเควสท์นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตนได้นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA) รอบที่ 5 ระหว่างวันที่ 13-16 มิ.ย.66 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยการประชุมครั้งนี้มีความคืบหน้าเกินครึ่งทางแล้ว สามารถเดินหน้าหาข้อสรุปการเจรจาให้ได้ภายในกลางปี 2567 ตามที่ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าไว้ การประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย การประชุมระดับหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจา และการประชุมกลุ่มย่อย 12 คณะ ได้แก่ (1) การค้าสินค้า (2) กฎว่าด้วยถิ่นกาเนิดสินค้า (3) มาตรการอุปสรรค เทคนิคต่อการค้า (4) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (5) การค้าบริการ (6) การลงทุน (7) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (8) ทรัพย์สินทางปัญญา (9) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (10) การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน (11) […]
อ่านเพิ่มเติม »
ไทย-ชิลีเร่งปรับ FTA อำนวยความสะดวกการค้าเพิ่มภายในปลายปีนี้ : อินโฟเควสท์นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการการค้าเสรีไทย-ชิลี (FTC) ครั้งที่ 4 ภายใต้ FTA ไทย-ชิลี (Thailand-Chile Free Trade Agreement: TCFTA) เพื่อหารือการปรับแก้ไขข้อบทของ FTA ไทย-ชิลี เกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : C/O) โดยไทยและชิลีได้เห็นชอบการยอมรับ C/O ภายใต้ FTA ไทย-ชิลี หรือ Form TC ที่พิมพ์จากไฟล์รูปแบบ PDF เป็นหนังสือรับรองต้นฉบับที่ใช้ทดแทนฉบับจริงในการขอใช้สิทธิฯได้ จากเดิมที่ผู้นำเข้าปลายทางจะต้องใช้ Form TC ฉบับจริงแบบกระดาษจากผู้ส่งออกเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ส่งออกไทยได้รับ Form TC จากกรมการค้าต่างประเทศแล้วไม่จำเป็นต้องส่งฟอร์มกระดาษให้ผู้นำเข้าปลายทางที่ชิลีอีก แต่สามารถสแกนเป็นไฟล์ PDF ส่งไปให้ผู้นำเข้าพิมพ์เอง เพื่อยื่นต่อศุลกากรเพื่อขอใช้สิทธิฯ ได้ นับเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศในการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA ไทย-ชิลีที่เพิ่มเติมจากการใช้ลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature […]
อ่านเพิ่มเติม »
'กมธ.พลังงาน' หนุนถก 'พื้นที่ทับซ้อน' หวัง ไทย-กัมพูชา แบ่งขุมทรัพย์ลงตัว'กมธ.พลังงาน' หนุนรับบาลเจรจา 'พื้นที่ทับซ้อน' หวัง ไทย-กัมพูชา แบ่งขุมทรัพย์ปิโตรเลียมลงตัว เสริมความมั่นคงด้านพลังงานไทย นำประเทศสู่เป้าหมาย Net Zero ปี 2065 กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม »