ไทยไลอ้อนแอร์ คาดปี 66 บินในประเทศครบทุกเส้นทาง 100% เท่ากับก่อนโควิด อินโฟเควสท์
นางนันทพร โกมลสิทธิ์เวช ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ เปิดเผยว่า สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ เตรียมกลับมาบินเส้นทางต่างประเทศมากขึ้นในไตรมาส 4/65 จะทำการบินไปสิงคโปร์, เนปาล และไทเป จากที่เปิดบินไปอินเดีย และอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ เส้นทางกรุงเทพ-สิงคโปร์ ทำการบิน วันละ 1 เที่ยวบิน, เส้นทางกรุงเทพ-กาฐมาณฑุ ทำการบิน 3 เที่ยวบิน/สัปดาห์ และเส้นทางกรุงเทพ-ไทเป ทำการบิน 5 เที่ยวบิน/สัปดาห์ และในต้นปี 66 ก็จะปรับความถี่เป็นเส้นทางกรุงเทพ-สิงคโปร์ ทำการบิน วันละ 2 เที่ยวบิน, เส้นทางกรุงเทพ-กาฐมาณฑุ ทำการบินทุกวันวันละ 1 เที่ยวบิน และเส้นทางกรุงเทพ-ไทเป ทำการบินทุกวันวันละ 1 เที่ยวบิน
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
IVL คาดรง.ผลิตเส้นด้ายไนลอนสำหรับถุงลมนิรภัยในจ.ระยอง เปิดผลิตเชิงพาณิชย์กลางปี 66 : อินโฟเควสท์บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน คาดว่า โรงงานผลิตเส้นด้ายไนลอนคุณภาพสูงสำหรับถุงลมนิรภัยของยานยนต์ ในจังหวัดระยอง ซึ่งดำเนินการสร้างโดย บริษัท โตโยโบ อินโดรามา แอดวานซ์ ไฟเบอร์ส จำกัด (TIAF) ธุรกิจร่วมทุนระหว่างอินโดรามา เวนเจอร์ส และบริษัท โตโยโบ จำกัด ที่จัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 โรงงานแห่งนี้สร้างบนพื้นที่เดียวกันกับ บริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ไอวีแอลในจังหวัดระยอง โดยจะสามารถผลิตเส้นด้ายประสิทธิภาพสูงได้ 11,000 ตันต่อปี เพื่อรองรับความต้องการใช้ถุงลมนิรภัยทั่วโลกที่คาดว่าจะเติบโต 3-4% ต่อปี เนื่องจากผู้ผลิตยานยนต์ติดตั้งถุงลมนิรภัยในยานพาหนะเพิ่มขึ้น ประกอบกับตลาดเกิดใหม่ต่างๆ กำหนดให้รถยนต์ต้องมีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่มากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะเริ่มทดสอบสายการผลิตในเดือนตุลาคม 2565 และตั้งเป้าเดินหน้าสายการผลิตเชิงพาณิชย์ในช่วงกลางปี 2566 นายดีเค อากาวาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IVL กล่าวว่า ความร่วมมือของอินโดรามา เวนเจอร์ส และโตโยโบ สะท้อนความสำเร็จของการผสานความชำนาญเชิงเทคนิคและความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร ระยะเวลาหลายปีของการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด …
อ่านเพิ่มเติม »
คาดปลายปี 'อีเวนต์' ฟื้นแตะ 6,000 ล้าน | เดลินิวส์คาด 'อีเวนต์' ไตรมาส 4 ฟื้นแตะ 6,000 ล้าน จากนั้นโต 100% ในปี 66 ชี้ แรงงานยังขาดแคลนหลังบริษัทปิดตัวไปเยอะ เดลินิวส์
อ่านเพิ่มเติม »
มหาวิทยาลัยจีน 7 แห่งติดโผ 100 อันดับชั้นนำของโลก : อินโฟเควสท์นิตยสารไทมส์ ไฮเออร์ เอดูเคชัน (THE) ของสหราชอาณาจักรเปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2566 (World University Rankings 2023) เมื่อวันพุธ (12 ต.ค.) พบว่า มีมหาวิทยาลัยจากจีนแผ่นดินใหญ่ 7 แห่งติด 100 อันดับแรก ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 6 แห่งเมื่อปีก่อน มหาวิทยาลัยชิงหัว และมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ติดอันดับที่ 16 และ 17 ตามลำดับ ขณะที่มหาวิทยาลัยอีก 5 แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น, มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง, มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง, มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน และมหาวิทยาลัยหนานจิง ฟิล บาตี หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความรู้ของนิตยสารฯ เปิดเผยว่า แม้กลุ่มมหาวิทยาลัยฝั่งตะวันตกจะยังคงครองอันดับต้น ๆ ในการจัดอันดับ ทว่ากลุ่มมหาวิทยาลัยเอเชียตะวันออกและตะวันออกกลางต่างก็กำลังไต่อันดับขึ้นมาเช่นกัน บาตีคิดว่า ความก้าวหน้าดังกล่าวถือเป็นข่าวดีสำหรับทั่วโลก พร้อมเสริมว่า การเข้าถึงการศึกษาคุณภาพสูงกำลังเปิดกว้างทั่วโลก และจะช่วยลดการเกิดภาวะสมองไหล (Brain Drain) หรือการย้ายถิ่นฐานของเหล่าหัวกะทิจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาลงได้ สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกดังกล่าวครอบคลุมมหาวิทยาลัย …
อ่านเพิ่มเติม »
นักวิจัยเผยโควิด 6 สายพันธุ์ย่อยกำลังระบาด พบในไทยแล้ว 3 สาย ห่วงแทนที่ BA.5 : อินโฟเควสท์ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊กระบุว่า นักวิจัยทั่วโลกได้ร่วมกันถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มาตลอด 3 ปี เริ่มตั้งแต่ต้นกำเนิดจาก “ไวรัสอู่ฮั่น” ได้มีการวิวัฒนาการกลายพันธุ์เกิดเป็นทั้งสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อย แตกกิ่งก้านมาทดแทนกันอย่างต่อเนื่อง (phylogenetic tree) จนล่าสุดเกิดเป็นโอไมครอน กลุ่มเพนตากอน อย่างน้อย 6 สายพันธุ์ย่อยฺ BQ.1.1, BF.7, BA.2.3.20, BA.2.75.2, BN.1, และ XBB จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมโควิดโลก “GISAID” ในประเทศไทยพบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย (ณ วันที่ 13/10/2565) BF.7 จำนวน 2 ราย BN.1 จำนวน 3 ราย BA.2.75.2 จำนวน 5 ราย แม้จากข้อมูล GISAID จะพบการระบาดของแต่ละสายพันธุ์อยู่ในราว 200-2,000 ราย แต่มีการเพิ่มจำนวนมากกว่า 105% หรือเท่าตัวในทุกสัปดาห์ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกคาดว่าจะระบาดมาแทนที่ BA.5 …
อ่านเพิ่มเติม »
กม.ห้ามใช้มือถือขณะขับรถบังคับใช้แล้ว ฝ่าฝืนปรับ 400-1,000 บาท : อินโฟเควสท์น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับความปลอดภัยการใช้รถใช้ถนน เพื่อลดการสูญเสียและการบาดเจ็บของประชาชน ซึ่งในปัจจุบันผู้ขับขี่รถมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือขณะขับขี่ โดยเป็นหนึ่งในสาเหตุให้เกิดการเกิดอุบัติเหตุจำนวนมาก ดังนั้นทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ขับขี่ขณะขับรถ พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 43 (9) แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้ผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ 1.ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สาย อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาหรือระบบกระจายเสียง จากเครื่องโทรศัพท์ โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.ใช้อุปกรณ์เสริมพิเศษสำหรับยึดหรือติดโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้กับส่วนหน้าของตัวรถทุกครั้ง ก่อนการขับรถ ทั้งนี้ ต้องไม่บดบังทัศนวิสัยหรือเสียความสามารถในการขับรถ กรณีผู้ขับขี่มีความจำเป็นต้องถือ จับ หรือสัมผัสโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อใช้งานโดยประการใด ๆ ให้ผู้ขับขี่หยุดหรือจอดรถในสถานที่สำหรับจอดรถอย่างปลอดภัย ก่อนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว ทั้งนี้ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(9) ที่กำหนดไว้ชัดเจนว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใดในขณะที่รถเคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น และเพื่อให้กฎหมายมีความทันต่อสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนไปในอนาคตและเพื่อติดตามผลสัมฤทธิ์ของการบังคับใช้กฎหมายเรื่องนี้ จึงได้กำหนดให้หลังจากประกาศฉบับนี้ใช้บังคับแล้วเป็นระยะเวลา 5 …
อ่านเพิ่มเติม »
เขื่อนป่าสักฯ ทยอยปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อน หลังน้ำเหนือลดลง : อินโฟเควสท์กรมชลประทาน เปิดเผยว่า โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน หลังน้ำเหนือในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจะทยอยปรับลดการระบายน้ำแบบขั้นบันได เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านท้ายน้ำ จากเดิมอัตรา 820 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที ลดลงเป็นอัตรา 650 ลบ.ม./วินาที ตามลำดับ ตั้งแต่วันที่ 13 – 15 ตุลาคม 2565 ช่วยลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้าย ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะปรับลดการระบายน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณฝนและปริมาณน้ำที่มาจากพื้นที่ตอนบน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนให้มากสุด จึงขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 ต.ค. 65) FacebookTwitterLine
อ่านเพิ่มเติม »