ไทย ร่วมเสนอ 3 แนวทาง ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน 'สร้างปัจจุบันให้เข้มแข็ง - ร่วมแรงสู่อนาคต – เคารพวิถีอาเซียน' เพื่อประชาคมที่เข้มแข็งและก้าวหน้ายิ่งขึ้น
11 พ.ย.2565 - เมื่อเวลา 08.00 น. ณ ห้อง Ballroom I และ Ballroom II ชั้น Lobby โรงแรมสกคา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และร่วมพิธีเปิดตัวนิทรรศการภาพถ่ายและหนังสือ Cambodia’s Contribution to ASEAN
นายกรัฐมนตรีขอบคุณ และชื่นชมกัมพูชาที่ได้ทำหน้าที่ประธานอาเซียนอย่างดีเยี่ยม พร้อมยินดีที่ข้อริเริ่มของกัมพูชาประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการสานต่อความพยายามในการรับมือ และฟื้นฟูจากโควิด-19 และการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งและก้าวหน้ายิ่งขึ้น
หนึ่ง สร้างปัจจุบันให้เข้มแข็ง มุ่งดำเนินการตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน โดยเฉพาะการส่งเสริมระบบสาธารณสุขและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีที่การจัดตั้งศูนย์แอคฟีด มีความคืบหน้า และไทยในฐานะที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานด้านการตอบสนองและสำนักเลขาธิการของศูนย์แอคฟีด พร้อมร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับอินโดนีเซียและเวียดนาม เพื่อให้การทำงานของศูนย์ฯ มีบูรณาการและสามารถรับมือกับเหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันควรเร่งส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาค...
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
บันทึกหน้า4ดูเหมือนแทบทุกสัปดาห์จะมี “ตลกคาเฟ่” จากอดีตนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” หรือโทนี่ วู้ดซัมมาออกรายการในเพจเฟซบุ๊ก CARE คิด เคลื่อน ไทย อย่างต่อเนื่อง โดยรอบนี้ก็มาในหัวข้อ 'ทำนโยบายสาธารณะไม่เป็น หรือเห็นแก่เงินของใคร' ก็ไม่แปลกที่จะมามุกเดิมๆ
อ่านเพิ่มเติม »
“พาณิชย์” เดินหน้าลุย FTA -EFTA รอบ 2 ตั้งเป้าสรุปผลเจรจาภายใน 2 ปีพาณิชย์ นำทีมร่วมประชุมเจรจาจัดทำ FTA ไทย – EFTA รอบ 2 ที่นครเจนีวา ตั้งเป้าเจรจาสรุปผลภายใน 2 ปี ด้านไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพการประชุมเจรจารอบ 3 ต้นปีหน้า ฐานเศรษฐกิจ
อ่านเพิ่มเติม »
มรดกกองทัพแห่งชาติอินเดียอิสระ เปิดภารกิจ(ลับ) ‘เนทาจี’ ประวัติศาสตร์ร่วมอินเดีย-ไทย ที่ไม่ถูกเล่ามรดก กองทัพแห่งชาติอินเดียอิสระ เปิดภารกิจ(ลับ) ‘เนทาจี’ ประวัติศาสตร์ร่วม อินเดีย-ไทย ที่ไม่ถูกเล่า ต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย
อ่านเพิ่มเติม »
Power of The Act: 'โครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ' กับเป้าหมายการลดการปล่อย CO2 ไทย : อินโฟเควสท์เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2565 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 51 ว่า กระทรวงพลังงานกำหนดยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน ปี 2559-2563 และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2561-2580 ทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดลงต่ำกว่าร้อยละ 51 เป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 56 วรรคสอง ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง หรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่าการวินิจฉัยคำร้องนี้มีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาถึงนิยามของคำว่า “โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ” บทความนี้จะให้ความหมายของโครงสร้างหรือโครงข่ายในกิจการไฟฟ้าจากมุมมองทางวิชาการโดยมุ่งที่จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง กิจการการผลิตไฟฟ้า และกิจการระบบโครงสร้าง (ซึ่งมีประเด็นย่อยให้พิจารณาถึง “ความเป็นเจ้าของ” และ “สิทธิในการเชื่อมต่อและใช้ระบบโครงข่าย”) และจะวิเคราะห์ให้เห็นว่าการให้ความหมายของโครงสร้างหรือโครงข่ายในกิจการไฟฟ้านั้นอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) อย่างไร “โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ” มาตรา 56 วรรคหนึ่งแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติว่า รัฐต้องจัดหรือดำเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนโครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ วรรคสองของมาตรา 56 ต่อไปบัญญัติว่า “โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ รัฐจะกระทำด้วยประการใดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนหรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดมิได้” คำถามคือ “การผลิตไฟฟ้า” …
อ่านเพิ่มเติม »