แบงก์ชาติออสซี่ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ส่งสัญญาณปรับขึ้นอีกเพื่อฉุดเงินเฟ้อสู่เป้าหมาย : อินโฟเควสท์

ประเทศไทย ข่าว ข่าว

แบงก์ชาติออสซี่ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ส่งสัญญาณปรับขึ้นอีกเพื่อฉุดเงินเฟ้อสู่เป้าหมาย : อินโฟเควสท์
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด,ประเทศไทย หัวข้อข่าว
  • 📰 InfoQuestNews
  • ⏱ Reading Time:
  • 42 sec. here
  • 2 min. at publisher
  • 📊 Quality Score:
  • News: 20%
  • Publisher: 68%

แบงก์ชาติออสซี่ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ส่งสัญญาณปรับขึ้นอีกเพื่อฉุดเงินเฟ้อสู่เป้าหมาย ดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารกลางออสเตรเลีย ออสเตรเลีย อัตราดอกเบี้ย แบงก์ชาติออสเตรเลีย อินโฟเควสท์

ธนาคารกลางออสเตรเลีย ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 3.35% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 และถือเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดเป็นประวัติการณ์

คณะกรรมการ RBA ได้ออกแถลงการณ์หลังการประชุมซึ่งระบุว่า คณะกรรมการให้ความสำคัญกับการฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมาย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและสร้างความเสียหายต่อกลไกทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ คณะกรรมการ RBA ตั้งเป้าที่จะฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายที่กรอบ 2-3% ขณะเดียวกันก็จะพยุงเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อไป อย่างไรก็ดี คณะกรรมการมองว่ามีโอกาสน้อยลงที่เศรษฐกิจออสเตรเลียจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือซอฟต์แลนดิ้ง

คณะกรรมการ RBA ส่งสัญญาณว่าจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงสู่เป้าหมายดังกล่าว ส่วนในการประเมินว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเท่าใดนั้น คณะกรรมการจะพิจารณาจากสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก แนวโน้มด้านการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน รวมทั้งแนวโน้มด้านเงินเฟ้อ และตลาดแรงงาน

เราได้สรุปข่าวนี้มาให้อ่านอย่างรวดเร็ว หากสนใจข่าว สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ อ่านเพิ่มเติม:

InfoQuestNews /  🏆 7. in TH

ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว

Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้

แบงก์สุดอั้นแห่ขึ้น'ดอกเบี้ย' ลูกหนี้ก่ายหน้าผากต้นทุนการเงินพุ่งแบงก์สุดอั้นแห่ขึ้น'ดอกเบี้ย' ลูกหนี้ก่ายหน้าผากต้นทุนการเงินพุ่งภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวต่อเนื่อง ภายใต้เงินเฟ้อยังอยู่ในทิศทางที่ประเมินไว้ หนุนให้ กนง.เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่วนธนาคารเฉพาะกิจของรัฐและแบงก์พาณิชย์จะพาเหรดขึ้นดอกเบี้ยกันมากน้อยแค่ไหน ตามไปดูกันเลย
อ่านเพิ่มเติม »

ดาวโจนส์ปิดลบ 34.99 จุด หวั่นเฟดขึ้นดบ.นานกว่าคาด : อินโฟเควสท์ดาวโจนส์ปิดลบ 34.99 จุด หวั่นเฟดขึ้นดบ.นานกว่าคาด : อินโฟเควสท์ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (6 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนานกว่าที่คาดไว้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่ง ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการแสดงความเห็นของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในสัปดาห์นี้ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะที่นักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% อีก 2 ครั้ง ในการประชุมเดือนมี.ค. และเดือนพ.ค. สู่ระดับสูงสุดที่ 5.00-5.25% ก่อนที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าว ก่อนหน้านี้ นักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% อีกเพียง 1 ครั้งในการประชุมเดือนมี.ค. สู่ระดับ 4.75%-5.00% ก่อนที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงสุดดังกล่าว นักลงทุนจับตาการแสดงความเห็นของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดที่มีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ในงานเสวนาซึ่งจัดโดยสมาคมเศรษฐกิจแห่งวอชิงตัน (Economic Club of Washington) ในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ย หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรและดัชนีภาคบริการที่แข็งแกร่งในเดือนม.ค. ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หุ้นเกือบทุกกลุ่มในดัชนี S&P500 ปิดในแดนลบ ยกเว้นหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคและกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค หุ้นไทสัน ฟู้ดส์ ร่วงลง 4.6% หลังบริษัทเปิดเผยกำไรและรายได้ที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หุ้นนิวมอนท์ […]
อ่านเพิ่มเติม »

ทองปิดบวก $2.9 นักลงทุนช้อนซื้อหลังราคาร่วงหนัก : อินโฟเควสท์ทองปิดบวก $2.9 นักลงทุนช้อนซื้อหลังราคาร่วงหนัก : อินโฟเควสท์สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (6 ก.พ.) โดยนักลงทุนช้อนซื้อหลังจากสัญญาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ นักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากสัญญาทองคำร่วงลงรุนแรงถึง 54.2 ดอลลาร์ หรือ 2.81% สู่ระดับ 1,876.6 ดอลลาร์/ออนซ์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ส่วนตลอดสัปดาห์ที่แล้ว สัญญาทองคำร่วงลงทั้งสิ้น 2.7% สำหรับปัจจัยที่ทำให้สัญญาทองคำร่วงลงอย่างหนักในวันศุกร์นั้น มาจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาด ทั้งนี้ ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจะลดความน่าดึงดูดของทอง โดยทำให้สัญญาทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ขณะที่การดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย นักลงทุนจับตาประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ เตรียมแถลงนโยบายประจำปี (State of the Union) ต่อสภาคองเกรสในวันอังคารที่ 7 ก.พ. เวลา 21.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับเช้าวันพุธที่ 8 ก.พ. เวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย ทั้งนี้ คาดว่าปธน.ไบเดนจะแถลงเกี่ยวกับทิศทางนโยบายของสหรัฐ ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและรัสเซียกรณีสงครามยูเครน และการทำสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งความตึงเครียดจากเหตุการณ์ล่าสุดที่สหรัฐยิงบอลลูนสอดแนมของจีน […]
อ่านเพิ่มเติม »

น้ำมัน WTI ปิดบวก 72 เซนต์ รับคาดการณ์ดีมานด์น้ำมันจีนฟื้น : อินโฟเควสท์น้ำมัน WTI ปิดบวก 72 เซนต์ รับคาดการณ์ดีมานด์น้ำมันจีนฟื้น : อินโฟเควสท์สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (6 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ความต้องการใช้น้ำมันในจีนจะฟื้นตัวหลังจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 สัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้น ท่ามกลางความหวังที่ว่าความต้องการใช้น้ำมันในจีนจะฟื้นตัว หลังจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดและเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งขาเข้าและออก สำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่า การขยายตัวของความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะมาจากจีน โดยคาดว่าความต้องการเชื้อเพลิงเครื่องบินจะพุ่งขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังปรับตัวขึ้นจากรายงานที่ว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงในตุรกีและซีเรียเมื่อช่วงเช้าวานนี้ได้ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันที่ท่าเรือซีย์ฮานในตุรกีต้องหยุดชะงักลง อย่างไรก็ดี สัญญาน้ำมันดิบถูกกดดันในระหว่างวัน จากปัจจัยดอลลาร์แข็งค่า และความกังวลที่ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศขนาดใหญ่อาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน โดยการแข็งค่าของดอลลาร์ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งกำหนดราคาเป็นดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ นักลงทุนจับตาผลกระทบจากการที่กลุ่ม G7, สหภาพยุโรป และออสเตรเลียได้กำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย โดยมีผลบังคับใช้ในวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียที่ระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรลสำหรับน้ำมันดีเซลและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีราคาซื้อขายสูงกว่าราคาน้ำมันดิบ และกำหนดเพดานราคาน้ำมันที่ระดับ 45 ดอลลาร์/บาร์เรลสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07 ก.พ. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »

หุ้นไทยแนวโน้มดัชนีเช้าแกว่งไซด์เวย์ในกรอบตามภูมิภาค ไร้ปัจจัยใหม่หนุน : อินโฟเควสท์หุ้นไทยแนวโน้มดัชนีเช้าแกว่งไซด์เวย์ในกรอบตามภูมิภาค ไร้ปัจจัยใหม่หนุน : อินโฟเควสท์นักวิเคราะห์ฯ คาดตลาดหุ้นไทยเช้านี้แกว่งไซด์เวย์ในกรอบตามภูมิภาค จากขาดปัจจัยใหม่หนุน หลังวานนี้ปรับตัวลงรับข่าวคาดการณ์เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งไปพอสมควรแล้ว ให้แนวรับไว้ที่ 1,675 จุด และแนวต้าน 1,690 จุด นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ คาดแกว่งไซด์เวย์ในกรอบ เป็นไปตามตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย หลังเมื่อวานตลาดปรับตัวลงรับข่าวคาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งไปพอสมควรแล้ว และเริ่มเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) ปรับตัวขึ้น ทำให้วันนี้น่าจะย่อตัวลงไม่มาก แต่อัพไซด์ก็ยังจำกัด เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน ให้แนวรับไว้ที่ 1,675 จุด และแนวต้าน 1,690 จุด โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07 ก.พ. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »

การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลงสองเดือนติด เหตุเงินเฟ้อทำคนชะลอใช้จ่าย : อินโฟเควสท์การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลงสองเดือนติด เหตุเงินเฟ้อทำคนชะลอใช้จ่าย : อินโฟเควสท์ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นหดตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา โดยได้แรงกดดันจากเงินเฟ้อ แม้ภาคเอกชนมีการบริโภคแข็งแกร่งเมื่อประเทศเปิดพรมแดนอีกครั้งหลังโควิด-19 ระบาด รายงานระบุว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนปรับตัวลดลง 1.3% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี ลดลงหนักกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลง 0.2% หลังจากที่ลดลง 1.2% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน การใช้จ่ายลดลง 2.1% ในเดือนธ.ค. สวนทางกับนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้น 0.3% ถือเป็นการลดลงที่มากที่สุดเมื่อเทียบรายเดือน นับตั้งแต่ที่ลดลง 2.8% ในเดือนก.พ. 2565 ส่วนการบริโภคภาคเอกชนของญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ได้หนุนเศรษฐกิจตั้งแต่ปีที่แล้วหลังผ่อนคลายข้อจำกัดเพื่อการสกัดกั้นโควิด-19 ค่าจ้างที่แท้จริงปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน เพราะได้โบนัสค่อนข้างมาก ซึ่งเพิ่มแนวโน้มว่าญี่ปุ่นจะสามารถรักษาการเติบโตหลังการแพร่ระบาดของโควิดเอาไว้ได้ และลดระดับการกระตุ้นทางการเงินจำนวนมหาศาล ทั้งนี้ รัฐบาลได้ยกเลิกการคุมเข้มภายในประเทศทั้งหมดในเดือนมี.ค.และผ่อนคลายข้อจำกัดการควบคุมชายแดนในเดือนต.ค. ผลักดันภาคการท่องเที่ยวให้เฟื่องฟูโดยได้รับแรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่า แต่เงินเฟ้อของผู้บริโภคที่เฟ้อหนักทำสถิติสูงสุดในรอบ 41 ปีได้บดบังการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07 ก.พ. 66) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อ่านเพิ่มเติม »



Render Time: 2025-04-02 12:13:19