'หนี้ครัวเรือน'เป็นปัญหาที่สะสมมานาน แม้ระดับหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันจะมีสัดส่วนลดลง เมื่อเทียบกับจีดีพีประเทศ ณ ไตรมาส 3 ปี 2565 ที่ระดับ 86.8% ต่อจีดีพี ซึ่งธน
าคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ มีเป้าหมายที่จะทำให้หนี้ครัวเรือนไทยลดลงเข้าระดับที่เหมาะสม ที่จะไม่สร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจไทยในอนาคต
หนึ่งในเครื่องมือที่สามารถช่วยให้กลุ่มคนที่มีหนี้ NPL ได้ลืมตาอ้าปาก และเคลียร์หนี้ได้หมด คือ โครงการคลินิกแก้หนี้ ซึ่งได้เริ่มต้นมาตั้งแต่กลางปี 2560 จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ จึงปรับเกณฑ์คุณสมบัติให้ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระมากกว่า 120 วันขึ้นไป สามารถเข้าร่วมโครงการได้ จากเดิมที่ต้องมีสถานะเป็นหนี้เสียก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เท่านั้น รวมทั้งให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้รู้จักโครงการและรับทราบสิทธิในการสมัครเข้าร่วม เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ก่อนที่จะถูกขายหนี้หรือถูกบังคับคดี
สำหรับลูกหนี้ที่ยังมีความสามารถชำระได้ ธปท. แนะนำให้ชำระหนี้ต่อไปเพื่อไม่ให้เป็นหนี้เสีย ซึ่งจะกระทบประวัติทางการเงินและความสามารถในการกู้ยืมในอนาคต
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ธปท.ปรับเกณฑ์คลินิกแก้หนี้ใหม่ ใครค้างชำระ120วันยื่นขอเข้าโครงการได้คลินิกแก้หนี้ปรับเกณฑ์ใหม่ ใครค้างชำระหนี้เกิน 120 วัน ยื่นคำขอร่วมโครงการได้ จากเกณฑ์เดิมที่ต้องมีสถานะเป็นหนี้เสียก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เท่านั้น PPTVHD36 ครบทุกข่าวเข้าใจคอกีฬา วิธีแก้หนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
อ่านเพิ่มเติม »
‘แบงก์ชาติ’ ชี้ส่งออกผ่านจุดต่ำสุดแล้ว“แบงก์ชาติ”ชี้ส่งออกผ่านจุดต่ำสุดแล้ว คาดเศรษฐกิจไตรมาส 1/66 ขยายตัวดีกว่าไตรมาสก่อน เผยนักท่องเที่ยวต่างชาติเดือน มี.ค. เข้าไทยแล้ว 2.2 ล้านคน
อ่านเพิ่มเติม »
แบงก์ชาติ คาดเสนอเกณฑ์จัดตั้ง Virtual Bank ให้คลังในก.ค.นี้ : อินโฟเควสท์นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า หลังจากที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดรับฟังความคิดเห็น เรื่อง แนวทางการอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ระหว่างวันที่ 12 ม.ค.-12 ก.พ. 66 นั้น ธปท. ได้รับคำถาม ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และผู้ประกอบธุรกิจทั้งในไทยและในต่างประเทศ โดยมีการสอบถามรายละเอียดของหลักเกณฑ์ในหลายมิติ ซึ่งบางประเด็นมีความสำคัญ และอาจกระทบการตัดสินใจ หรือการออกแบบแผนงานของผู้สมัคร รวมถึงรูปแบบการประกอบธุรกิจของ Virtual Bank ที่จะถูกจัดตั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้ Virtual Bank สามารถนำเสนอบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ให้บริการแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ธปท. จึงเห็นควรดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้ 1. ขยายความในเงื่อนไขของหลักเกณฑ์ รวมทั้งเพิ่มเติมรายละเอียดในคู่มือสำหรับผู้สมัครให้มีความชัดเจน เพื่อให้ผู้สมัครทุกรายได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจอย่างเพียงพอและเท่าเทียม ซึ่งทำให้ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งในส่วนที่มีการเพิ่มรายละเอียดหรือเงื่อนไขอย่างมีนัยสำคัญ 2. ปรับเพิ่มขั้นตอนในกระบวนการรับสมัครและพิจารณาคัดเลือก เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สมัครทุกรายได้รับข้อมูลและโอกาสอย่างเท่าเทียม […]
อ่านเพิ่มเติม »