ถ้าเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจไทยเหมือนกับรถยนต์ 1 คัน ก็คล้ายกับรถยนต์คันนี้กำลังขาดการซ่อมแซมและไม่ได้รับการดูแล จนรถยนต์ที่เคยทำความเร็วสูง เศรษฐกิจโตได้ปีละ 5-6% ไร้การลงทุนใหม่ ที่เหมือนกับการซ่อมบำรุง ตั้งแต่หลังผ่านวิกฤติ ทำให้เวลานี้การเติบโตที่รวดเร็วนั้น อาจจะเหลือต่ำกว่า 2% ทั้งนี้ KKP Research มองว่า...
ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยที่ฟื้นช้าลงหลังโควิด-19 ไม่ได้เป็นเพียงการโตต่ำกว่าศักยภาพ แต่อาจเป็นเพราะศักยภาพเศรษฐกิจไทยกำลังถดถอยลง ในระยะข้างหน้า ศักยภาพของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะเติบโตได้ต่ำกว่า 2% ด้วย 3 เหตุผลหลัก ได้แก่ ความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง ภายใต้ภาวะการแข่งขันจากต่างประเทศที่เข้มข้นขึ้น กำลังแรงงานที่ทั้งลดลงและแก่ตัวลง ขาดการลงทุนที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพของปัจจัยการผลิต
นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 1997 ที่เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงจากมากกว่า 7% ในช่วงก่อนหน้ามาเหลือเพียง 5% หลังจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2008 เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยลดลงเหลือเพียง 3% และหลังวิกฤติโควิดในปี 2019 เศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ยได้เพียง 2%แล้วอะไรเป็นตัวกำหนดศักยภาพเศรษฐกิจไทย ตามหลักการเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยที่กำหนดว่าเศรษฐกิจของแต่ละประเทศควรจะเติบโตได้เท่าไร แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลักตามปัจจัยการผลิต ได้แก่ 1) จำนวนแรงงาน 2) การสะสมทุน และ 3) เทคโนโลยี...
ประชากรวัยทำงานและวัยเด็กที่ลดลง ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น สร้างความท้าทายกับเศรษฐกิจไทยอย่างน้อยใน 2 ด้านหลัก ประเด็นแรก คือ กำลังซื้อในประเทศจะลดลง และจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อไทยเคลื่อนตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังซื้อสินค้าคงทนอย่างรถยนต์และสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ คาดว่าจะหดตัวลง แต่สินค้าอย่างสินค้าหรือบริการด้านสุขภาพ และสินค้าจำเป็นจะเติบโตมากขึ้น
นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือน และหนี้ภาคเอกชนโดยรวมที่สูงขึ้น คุณภาพของหนี้ที่ลดลง นโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ และการระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในระยะหลัง ทำให้โอกาสที่จะขยายการลงทุนในเศรษฐกิจไทยโดยรวมลดลงไปด้วยนอกจากการสะสมทุนเพื่อการผลิตแล้ว อีกทางหนึ่งที่สามารถชดเชยกำลังแรงงานได้คือการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อทำให้แรงงาน 1 คน หรือทุน 1 หน่วย สามารถผลิตสินค้าและบริการได้มากขึ้น หรือคือมี ‘ผลิตภาพ’ หรือ ‘productivity’...
หากไม่มีการลงทุนที่จะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่สำคัญต่อเศรษฐกิจในอนาคตและทุนมนุษย์ คงเป็นไปได้ยากที่ผลิตภาพจะเพิ่มขึ้นจนสามารถชดเชยจำนวนแรงงานหรือทุนที่ลดลงไป
ประเทศไทย ข่าวล่าสุด, ประเทศไทย หัวข้อข่าว
Similar News:คุณยังสามารถอ่านข่าวที่คล้ายกันนี้ซึ่งเรารวบรวมจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ได้
ถอดแนวคิด 'เศรษฐกิจมหภาค การเงินไทย' กับ 'ศุภวุฒิ สายเชื้อ'หุ้นตก ดอกเบี้ยต่ำขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นอีกหนึ่งคำถามว่า เหตุใด 'เศรษฐกิจไทยโตช้า – โตต่ำ' ส่งผลให้ภาคเอกชน ประชาชน เป็นห่วงว่า สภาพเศรษฐกิจไทย ยังไม่มีการพัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น หากเทียบกับหลายประเทศ ทั้งที่ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งทรัพยากร และมีศักยภาพในการเป็นผู้นำ หรือปรับแก้นโยบายเพื่อตอบสนองภาคธุรกิจ แต่หากมองเหตุผลเชิงลึก...
อ่านเพิ่มเติม »
ตลาดหุ้นสหรัฐผันผวนเล็กน้อย นักลงทุนรอตัวเลขค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลตลาดหุ้นสหรัฐผันผวนเล็กน้อย ดาวโจนส์ปิดบวก ขณะหุ้นเทคโนโลยีที่ลดลง ฉุด SP และ Nasdaq ติดลบนักลงทุนรอตัวเลขค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
อ่านเพิ่มเติม »
ปีนี้เตรียมลุ้น 'ต้มยำกุ้ง - ชุดเคบาย่า' ขึ้นทะเบียนยูเนสโกปีนี้เตรียมลุ้น “ต้มยำกุ้ง - ชุดเคบาย่า”ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของยูเนสโก
อ่านเพิ่มเติม »
ไทย ผลักดันลุ้น 'ต้มยำกุ้ง - ชุดเคบาย่า' ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก“เกณิกา”เผย ข่าวดีคนไทย 'สุดาวรรณ' หนุนสวธ.จัดทำแผน ปีนี้เตรียมลุ้น “ต้มยำกุ้ง - ชุดเคบาย่า”ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของยูเนสโก เดินหน้าผลักดันSoft Power ไทยให้นานาชาติรู้จัก
อ่านเพิ่มเติม »
เตรียมลุ้น!! 'ต้มยำกุ้ง-ชุดเคบาย่า' ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก'เกณิกา' เผยข่าวดีคนไทย 'รมว.สุดาวรรณ' หนุน สวธ.จัดทำแผน ปีนี้เตรียมลุ้น 'ต้มยำกุ้ง-ชุดเคบาย่า' ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของยูเนสโก เดินหน้าผลักดัน Soft Power ไทยให้นานาชาติรู้จัก วันที่ 30 มิ.ย.67 น.ส.
อ่านเพิ่มเติม »
เรื่องเล่าจากคนอสังหาฯ วิกฤติการเงินปี 40 ผลกระทบ “คนรวย” จากบนลง “ล่าง” สู่ วิกฤติกำลังซื้อปี 67อ่านเรื่องเล่าจากคนอสังหาฯ วิกฤติการเงิน-ต้มยำกุ้ง ปี 40 ย้อน ผลกระทบ “คนรวย” จากบน ลง “ล่าง” สู่ วิกฤติกำลังซื้อปี 67 แผ่ซ่านทุกธุรกิจ พ่อค้า-แม่ค้า ขายของได้น้อยลง แบงก์เผชิญภาวะ ลูกหนี้ ผิดนัดชำระค่างวดเพิ่มขึ้น เป็นวิกฤติ จากล่างขึ้นบน อสังหาฯ แข็งแกร่ง แต่กำลังฟุบจาก ยอดซื้อจอง ที่ไม่ไปไหน แบงก์เข้มปล่อยสินเชื่อ...
อ่านเพิ่มเติม »