เฮ! สหรัฐจัดไทยอยู่ในบัญชี WL เหมือนเดิมชมจัดการปัญหาลิขสิทธิ์ได้ดี กดอ่าน
2 พ.ค. 2565 – นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 เม.ย.
ทั้งนี้ แม้สหรัฐฯ จะคงบัญชี WL แต่ได้ชื่นชมไทยที่พัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาในหลายมิติ ทั้งด้านการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การผลักดันการแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร การแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาครัฐ และการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ ที่ส่งผลให้ไทยพร้อมเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก...
นายวุฒิไกร ที่ผ่านมา กรมฯ ได้ทำงานเชิงรุกเพื่อขับเคลื่อนระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้เข้มแข็ง จนเกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบจดทะเบียนแบบ Fast Track การให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจร การส่งเสริมการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการกวดขันปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกรูปแบบ ซึ่งเห็นได้จากในรายงานตลาดที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลก ประจำปี 2564 ซึ่งสหรัฐฯ ประกาศเมื่อเดือนก.พ.
“กรมฯ ขอขอบคุณหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขัน โดยเชื่อมั่นว่าความร่วมมือนี้จะช่วยผลักดันให้ไทยหลุดจากบัญชี WL ได้สำเร็จ และในส่วนของกรมฯ จะมุ่งมั่นพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเสริมสร้างบรรยากาศทางการค้าและการลงทุนในประเทศ...
สำหรับการประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้ารายสำคัญของสหรัฐฯ ในปีนี้ มี 7 ประเทศถูกจัดอยู่ในบัญชี PWL ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย รัสเซีย อาร์เจนตินา ชิลี และเวเนซุเอลา และมี 20 ประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในบัญชี WL ได้แก่ เวียดนาม ปากีสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน อียิปต์ อัลจีเรีย ตุรกี บาร์เบโดส โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลอมเบีย สาธารณรัฐโดมินิกัน เอกวาดอร์ กัวเตมาลา เม็กซิโก ปารากวัย เปรู ตรินิแดดและโตเบโก...